ดราม่ากีฬาสี! โรงเรียนจับเด็กแก้ผ้า แข่งใส่เสื้อผ้า ผู้เชี่ยวชาญชี้ เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

งานกีฬาสี ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออก รู้จักความสามัคคี ฝึกการทำงานเป็นทีม และที่สำคัญคือ ได้ผ่อนคลายความเครียดจากการเรียน  แต่กิจกรรมบางอย่างก็ควรคำนึงถึงความเหมาะสม  และความปลอดภัยของเด็กด้วย อย่างกรณีข่าวล่าสุด ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกออนไลน์ เมื่อมีกระแสออกมาว่า โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุรินทร์ ได้จัดงานกีฬาสี ซึ่งหนึ่งในกีฬาที่นำมาจัดในการแข่งขันคือ “แข่งใส่เสื้อผ้า” โดยที่ ทางโรงเรียนจับเด็กในวัย 4-5 ขวบ ขึ้นเวที แข่งใส่เสื้อผ้า โดยให้เด็กชายแก้ผ้าล่อนจ้อน ส่วนเด็กผู้หญิงเหลือแค่กางเกงใน 

คุณพ่อโวยในกลุ่มผู้ปกครอง หลังลูกสาวโดนจับ แข่งใส่เสื้อผ้า แต่คนในกลุ่มกลับเลือก #saveครู แทน !

เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ได้มีคุณพ่อท่านหนึ่งออกมาโพสต์เฟซบุ๊ค ลงในกลุ่ม จิตวิทยาเด็กและครอบครัว ปรึกษาเรื่องเลี้ยงลูก” โดยระบุว่า 

“ขอความคิดเห็นครับ กีฬาสีโรงเรียน มันมีแข่งใส่เสื้อผ้า โดยเอาเด็ก ๆอายุ 4-5 ขวบ ทั้งชายหญิงขึ้นบนเวที แก้ผ้าเด็กชายล่อนจ้อน ผู้หญิงเหลือแต่กางเกงใน ต่อหน้าผู้ปกครองอื่น ๆ นักการฯ และคนอื่น ๆ นับร้อย

ครูจับลูกสาวอายุ 4 ขวบกว่าของผมขึ้นเวทีแทนเด็กอีกคนที่หาไม่เจอ แล้วแก้ผ้าออกเลยเหลือแต่กางเกงใน โดยไม่ได้แจ้งผู้ปกครองถึงกติกาเกมการแข่งขัน ผมจึงไปแสดงความไม่พอใจกับโรงเรียนแต่ไม่ได้หยาบคายนะครับ กลายเป็นว่าผมโดนรุมโดยมีคำว่า *save ครู* เกิดขึ้น ผมงงว่าสรุปผมผิด ที่ปกป้องสิทธิลูกที่เป็นเยาวชนเหรอครับตอนนี้งงมาก”

โดยคุณพ่อได้เผยข้อความในกลุ่มผู้ปกครองให้ดู ดังนี้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แต่ปรากฏว่าหลังคุณพ่อได้ส่งข้อความนี้เข้าไปในกลุ่ม กลับมีข้อความจากผู้ปกครองรายอื่น ว่า

"#Saveคุณครู  สู้ ๆ นะคะคุณครู"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

"เห็นด้วยครับ สู้ ๆ นะครับครู"

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ คุณพ่อยังบอกอีกว่า รู้สึกใจสลายที่สุดเมื่อลูกบอกกับคุณพ่อว่า "หนูไม่ชอบ คนแปลกหน้าเห็นหนูไม่ใส่เสื้อผ้า"

ซึ่งในทางกลับกัน เมื่อโพสต์นี้ได้แพร่กระจายออกไปในโลกโซเชียล ชาวโซเชียลต่างก็เห็นด้วยกับคุณพ่อเจ้าของโพสต์ ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ทางโรงเรียนและตัวคุณครูอย่างหนัก โดยหลายคนตำหนิการกระทำของครูที่สร้างบาดแผลในใจเด็ก และอาจฝังใจไปจนโต หลายคนตั้งคำถามถึงประโยชน์ของกิจกรรมดังกล่าวอีกด้วย

หมอเดว เตือน! เกม แข่งใส่เสื้อผ้า ละเมิดสิทธิเด็ก แฝงอันตราย

เมื่อข่าวนี้ได้เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียล ล่าสุดทาง ผู้เชี่ยวชาญ หลาย ๆ ท่านก็ได้ออกมาชี้แนะถึงเหตุการณ์นี้ รวมไปถึง กุมารแพทย์ ชื่อดังอย่าง หมอเดว อีกด้วย

โดยทาง รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หรือ หมอเดว  ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม และอดีตผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ออกโรงวิจารณ์กรณี เกมที่ให้เด็กแก้ผ้า โดยชี้ว่า เป็นกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และยังได้เสริมอีกว่า เชื่อว่าทางโรงเรียนต้นเหตุ และตัวครูไม่ได้ผ่านกระบวนการฝึก PLC หรือ การระดมสมองประเมินเป็นความเสี่ยง เพื่อทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ มาก่อนอย่างแน่นอน ซึ่งถ้าหากได้ลองศึกษาแนวทางการเรียนการสอนสำหรับเด็กเล็กในหลายประเทศ จะพบว่า นอกจากเน้นความสำคัญไปที่ความเหมาะสมเรื่องกิจกรรมสำหรับเด็กแล้ว เรื่องเครื่องแบบการแต่งกายก็สำคัญ โรงเรียนอนุบาลบางแห่ง ไม่ให้เด็กใส่กระโปรงไปโรงเรียน เพราะอาจมีกิจกรรมที่ไม่สะดวก หรือเสี่ยงอันตรายได้

เพจดัง “เลี้ยงลูกตามใจหมอ” ตอกย้ำ โรงเรียนไม่ต้องคิดกิจกรรมแหวกแนว เด็กก็สนุกได้!

สอดคล้องกับความเห็นของ หมอเดว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก เจ้าของ เพจ "เลี้ยงลูกตามใจหมอ" หรือ หมอวิน ชี้ว่า การจัดกิจกรรมกีฬาสี ควรจะเน้นไปที่ความสนุกสนาน และ ส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างเด็ก ๆ แทนที่จะจัดกิจกรรมที่อาจสร้างความอึดอัดใจโรงเรียนไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมที่แหวกแนวขนาดนี้ก็ได้ โดยระบุว่า

การแข่งขันกีฬาสี … คือหนึ่งในกิจกรรมที่เด็ก ๆ จะได้ออกกำลังกาย ได้เล่นผ่านการทำงานกันเป็นทีม ได้ความสนุกสนาน และได้ทำอย่างอื่นนอกเหนือจากการเรียน สอนให้รู้จักการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย … ในวัยทำงาน ‘สปอร์ตเดย์’ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันในองค์กร ได้รู้จักกัน ได้เม้ามอย กระชับความสัมพันธ์ที่นอกเหนือจากการทำงาน ดูเป็นเรื่องที่ดี

ทีนี้ … ตัดภาพไปที่ รร. แห่งหนึ่ง … จัดงานกีฬาสี โดยแข่งขัน ‘ใส่เสื้อผ้า’ ด้วยผู้เข้าแข่งขันในระดับชั้นอนุบาล ตามข่าวกล่าวว่าเด็กผู้ชายแก้ผ้าล่อนจ้อน และเด็กผู้หญิงเหลือแค่กางเกงใน แล้วแข่งขันกันใส่เสื้อผ้า ต่อหน้าครู นักการ ผู้ปกครอง และผู้ที่มาร่วมในงาน …

ไม่ด๊ายยยย มันไม่ได้นะ มันไม่โอเค มันละเมิดสิทธิเด็ก 

พื้นที่ของร่างกายคือ สิทธิ ขั้นพื้นฐาน เด็กเล็กหลัง 3 ขวบ สร้างตัวตน ควรเรียนและรู้จักปกป้องของสงวนของตนเอง เพราะนี่คือพื้นที่ส่วนบุคคลที่ใครก็ละเมิดไม่ได้ หากจะเปลี่ยนผ้าอ้อม ฉี่ อึ ต้องทำในที่มิดชิดได้แล้ว ... นี่คือวัยที่พ่อแม่ รวมถึงครูต้องสอนเด็กถึง ‘พื้นที่สงวน’ ก้น จิ๋ม จู๋ ที่ไม่ควรเปิดให้คนอื่นเห็น ไม่ให้คนอื่นจับสัมผัส เพราะนี่คือบทเรียนแรกของ ‘เรื่องเพศต้องพูด’ ที่พ่อแม่ครูจะสอนให้เด็กได้ … จากพื้นที่สงวนจะนำไปสู่การสอนให้ปฏิเสธและขอความช่วยเหลือที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ นำไปสู่ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามวัย เพศสัมพันธ์ และการป้องกันการท้องก่อนวัย

แล้วนี่อะไร ให้เด็กถอดเสื้อผ้าบนเวที ในทัศนะของหลายคน อาจบอกว่า ดัดจริต จะอะไรหนักหนา เด็กยังเป็นเด็กอนุบาล เรื่องเยอะ เปราะบางเหลือเกิน สมัยนี้ … ก็คงเป็นทัศนคติที่แต่ละปัจเจกคิดได้ … แต่ในแง่มุมของเด็ก นี่อาจทำให้เด็กหลายคนไม่โอเค เกิดความอับอาย อึดอัดใจ ไม่สบายใจ และอาจส่งผลต่อความมั่นใจในตนเอง การพัฒนาตัวตนของเขาได้ … มันไม่ควรโอเคในทุกกรณี …

สิ่งที่เด็กควรได้รับจากพ่อแม่ ครู โรงเรียน และสังคมก็คือ ความรู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ มิใช่หรือ แล้วการต้องมาแข่งขันแบบนี้ มันสร้างความรู้สึกสนุกสนาน และปลอดภัยให้กับเด็กจริงหรือ … เด็กบางคนอาจยังไม่ได้รู้สึกอะไรนัก เพราะเขายังไม่ได้รู้เรื่องนัก เห็นครูสนุกสนาน เห็นพ่อแม่ปรบมือเชียร์ เออก็สนุกดี แต่ในขณะที่อีกหลายคนอาจจะไม่ใช่ ดังนั้นเมื่อไม่รู้ว่ามันจะส่งผลกระทบกับเด็กคนไหนบ้าง ก็ไม่ควรทำเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แล้วคุณล่ะ คิดว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องขำ ๆ ทำได้ พ่อแม่สมัยนี้แสนเปราะบาง หรือจริงแล้วควรคิดให้เยอะว่านี้

ชักเย่อ วิ่งเปรี้ยว กินวิบาก แฮนด์บอล แชร์บอล ฟุตบอลกันไหมล่ะ ไม่ต้องคิดกิจกรรมให้มันแหวกแนวมากก็ได้"

 

5 ประเภท ของการละเมิดสิทธิเด็ก

จากกรณี ที่โรงเรียนได้จัดกิจกรรมให้เด็กแก้ผ้า แข่งใส่เสื้อผ้า ได้สร้างความตกใจและวิพากษ์วิจารณ์ให้กับสังคมไทย กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่สังคมไทยให้ความสนใจ ประชาชนเริ่มตื่นตัว เรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของเด็กมากขึ้น

การละเมิดสิทธิเด็ก ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เด็กอาจสูญเสียความมั่นใจ รู้สึกอับอาย กลัว และวิตกกังวล

เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมมือกัน เริ่มต้นจากครอบครัวที่ต้องอบรมสั่งสอนให้เด็กตระหนักถึงสิทธิของตนเอง โรงเรียนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและปกป้องสิทธิเด็ก รัฐบาลต้องออกกฎหมายและนโยบายที่คุ้มครองเด็ก และประชาชนต้องร่วมเป็นหูเป็นตา สอดส่องดูแล ป้องกัน และช่วยเหลือเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ แต่ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจ การละเมิดสิทธิเด็ก ของแต่ละประเภท ซึ่งประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : มนุษย์แม่ระวัง ถ่าย โพสต์ แชร์ คลิปและรูปลูก อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิเด็ก

1) การละเมิดทางด้านร่างกาย (Physical Abuse)

การละเมิดทางด้านร่างกาย หมายถึง การทำร้ายร่างกาย การทารุณกรรม เช่น การทุบ การตบ การสาดน้ำร้อนใส่ รวมไปถึงการใช้ไฟลวก

 

2) การละเมิดทางเพศ (Sexual Abuse)

การกระทำที่ไม่เหมาะสมทางเพศกับเด็ก เช่น การสัมผัสอวัยวะต่าง ๆ ใต้ร่มผ้า การบังคับให้เด็กสัมผัสอวัยวะเพศ การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก การบังคับหรือล่อลวงให้เด็กทำกิจกรรมทางเพศด้วยและเผยแพร่สื่ออนาจารให้กับเด็ก

 

3) การละเมิดทางด้านวาจาและอารมณ์ (Verbal and Emotional Abuse)

การใช้ถ้อยคำดูหมิ่น หรือคำพูด ที่มีการเหยียดหยามเด็ก รวมไปถึงการนำข้อมูลที่เป็นความลับของตัวเด็กมาเปิดเผย

 

 

4) การละเมิดปล่อยปละละเลย หรือ เพิกเฉย (Neglect)

หมายถึงการที่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลของเด็ก ไม่ให้ความสนใจหรือไม่ทำหน้าที่ ไม่จัดหาและสนับสนุนสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานให้กับเด็ก ยกตัวอย่าง  เช่น อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่พักที่ปลอดภัย  และการศึกษาที่เหมาะสมต่อพัฒนาการของเด็ก รวมไปถึงการทอดทิ้งเด็กในสภาวะเสี่ยง เช่น ปล่อยให้เด็กป่วยโดยไม่พาไปรับการรักษาใด ๆ ทั้งสิ้น

5) การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Violation of Children's Privacy)

การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง การเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเด็กให้กับสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งประกอบไปด้วยการเผยแพร่ ข้อมูล รูปกาพ คลิปวิดีโอ ของเด็ก ที่เป็นประเด็นอ่อนไหว เช่น ข้อมูลตัวตนของเด็ก หรือ ประวัติการรักษาทางการแพทย์ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นต้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

บทเรียนราคาแพง! หนูเล็ก ก่อนบ่าย แชร์ประสบการณ์ ลูกจมน้ำ

แม่โพสต์เตือน ลูกเป็นหวัดบ่อย ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

อย่าปล่อยให้ลูกของคุณตกเป็นเหยื่อ: แนวทางป้องกันเด็กถูก คุกคามทางเพศ ออนไลน์

ที่มา : Thai PBS, SOS Children's Village Thailand

Facebook : จิตวิทยาเด็กและครอบครัว ปรึกษาเรื่องเลี้ยงลูก,  เลี้ยงลูกตามใจหมอ

บทความโดย

samita