อุทาหรณ์! เด็กม.3 ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง สุดท้ายถูกไฟช็อตเสียชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย หลาย ๆ คนจึงอยากจะลองซ่อมเองที่บ้าน แต่สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญในการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็อาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วโดยไม่ทันรู้ตัวได้ ซึ่งอาจส่งผลร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่นเดียวกับกรณีนี้ เด็กม.3 ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง สุดท้ายถูกไฟช็อตเสียชีวิตในห้องนอน พบมือขวายังกำสายไฟฟ้า ญาติเผยผู้ตายซ่อมสิ่งของแต่ไม่มีอุปกรณ์ช่าง

 

เด็กม.3 ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง สุดท้ายถูกไฟช็อตเสียชีวิต

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ตำรวจ สภ.ทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รับแจ้งมีผู้ถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิต เหตุเกิดที่บ้านหลังหนึ่งในบ้านโคกเคี่ยม ตำบลบางรูป ที่เกิดเหตุเป็นบ้านชั้นเดียว

ภายในห้องนอนพบศพของน้องมอส อายุ 15 ปี นักเรียนชั้นม.3 โรงเรียนวัดประดิษฐาราม นอนเสียชีวิตอยู่ที่พื้น ใส่กางเกงขาสั้นสีเทา ไม่สวมเสื้อ มือขวาถือสายเหล็กลวดสปริงของไดร์เป่าผม กลางอกมีอุปกรณ์ชิ้นส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้า บริเวณอกและลำตัว มีร่องรอยของการถูกไฟช็อตเป็นรอยไหม้ ผิวหนังมีเลือดไหลซึม ส่วนศีรษะเข้าไปอยู่ในถังพลาสติกสีเขียว ข้างลำตัวมีพัดลมตั้งอยู่ 1 ตัว บนที่นอนพบโทรศัพท์ชาร์จไฟอยู่ เจ้าหน้าที่ต้องตัดกระแสไฟในบ้าน เพื่อให้แพทย์ร่วมชันสูตรศพ

 

เมื่อตำรวจสอบสวนจึงพบว่า ก่อนเกิดเหตุตอนห้าทุ่ม ผู้ตายได้พูดคุยกับนางวนิดา ผู้เป็นแม่ที่กำลังจะออกไปกรีดยาง จากนั้นก็ได้เข้าครัวที่อยู่ติดกับห้องนอนทำอาหารกินกลางดึก หลังจากกินเสร็จแล้ว ก็กลับเข้าไปในห้องนอนของตัวเอง ญาติคิดว่าจากนั้นน้องคงนำไดร์เป่าผมมานั่งซ่อมบริเวณพื้นปูน ระหว่างซ่อมมือขวากุมขดลวดเหล็กสปริง ทำให้ไฟฟ้าเกิดไหลรั่วผ่านตัวขดลวด จนน้องถูกไฟช็อตจนหงายหลังล้มตึงนอนพาดบนพื้นปูนเสียชีวิต

 

จนกระทั่งตอนเช้า นางปรานอม ผู้เป็นยายของผู้เสียชีวิต เห็นหลานชายยังไม่ออกมาจากห้องนอน จึงเดินมาที่ห้องเพื่อให้แต่งตัวไปโรงเรียน ยืนเรียกหน้าห้องก็ไม่มีเสียงตอบ เลยผลักประตูที่เปิดแง้มไว้เข้าไปดู พบหลานชายนอนเสียชีวิตอยู่บนพื้นปูนภายในห้อง ขณะที่แม่ของน้องยังกรีดยางอยู่ในสวน เมื่อมาเจอลูกชายเสียชีวิตไปแล้ว ก็ถึงกับทรุดลงไปกับพื้นและร้องไห้ด้วยความเสียใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อย่างไรก็ตาม ทางญาติยังได้ระบุว่า น้องมอสเป็นเด็กดีเรียนเก่ง และสนใจในการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่เสียมาซ่อมด้วยตัวเองเป็นประจำ แต่ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ยังน้อย รวมถึงไม่มีอุปกรณ์ป้องกันทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สร้างความสูญเสียให้แก่ครอบครัว เบื้องต้นสอบถาม ผู้เสียชีวิตเป็นลูกคนโต มีน้องสาววัย 6 ขวบอีก 1 คน ทำให้ครอบครัวเศร้ามาก และจะนำศพมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : โดนไฟดูด โดนไฟช็อต อันตรายใกล้ตัว ที่ควรรู้วิธีป้องกันรับมือ

ที่มา : thairath.co.th, mgronline.com

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ไฟดูด เป็นอย่างไร

ไฟดูด (Electric Shock) เป็นภาวะที่ไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง ไม่สามารถขยับให้หลุดได้ โดยปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ทำให้พิการหรือเสียชีวิต อาจไม่ได้เกิดกับการสัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรง เช่น จับตัวผู้สัมผัสไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใต้แนวไฟฟ้า ส่งผลให้ถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัส 

 

ไฟช็อตเป็นอย่างไร

ไฟช็อต (Short Circuit) หรือไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากการโอนกระแสไฟฟ้าจากเส้นหนึ่งไปยังเส้นอื่น ๆ ไม่ได้ผ่านอุปกรณ์โหลด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจนเกิดความร้อนสูง อาจทำให้เกิดประกายไฟและไฟไหม้ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากฉนวนของสายไฟชำรุด หรือจากการแตกกันโดยบังเอิญ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

 

 

อันตรายจากไฟดูด ไฟช็อต

บ่อยครั้งที่เรามักจะถูกไฟดูด หรือไฟช็อตบ่อย ๆ หากโชคดีก็ไม่เป็นไร แต่หากโชคร้ายก็อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะในร่างกายได้ โดยเฉพาะหัวใจและระบบประสาท ซึ่งอวัยวะที่เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้า ได้แก่ หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ ระบบประสาท และอวัยวะในช่องท้อง เป็นต้น หากลูกถูกไฟช็อตก็อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้น ๆ ถูกทำลาย เช่น

  • หากไฟฟ้าไหลผ่านหัวใจ ทำให้คลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลง หัวใจหยุดเต้น
  • หากไฟฟ้าไหลผ่านกล้ามเนื้อ ทำให้แขนขาบวม เกิดการขาดเลือดรุนแรง จนถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ
  • หากไฟฟ้าไหลผ่านช่องท้อง อาจทำให้อวัยวะช่องท้องบาดเจ็บ

ซึ่งความรุนแรงของการถูกไฟดูด ไฟช็อต จะขึ้นอยู่กับจำนวนโวลต์ และแอมแปร์ของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย ความต้านทานของเนื้อเยื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไป ชนิดกระแสไฟฟ้า และระยะเวลาที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า

 

ลูกถูกไฟดูด ไฟช็อตทำอย่างไร

หากลูกถูกไฟดูด คุณพ่อคุณแม่คงอาจตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ดังนั้นจึงควรตั้งสติก่อนและดูว่าเราจะช่วยลูกได้อย่างไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรวิ่งไปดึงตัวผู้ที่ถูกไฟดูดทันที เพราะจะทำให้ถูกไฟดูดไปด้วย และอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะในร่างกาย ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีการป้องกันหากลูกถูกไฟดูด ไฟช็อต

  • รีบสับคัตเอาต์ เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุด
  • อย่าแตะตัวลูกที่โดนไฟดูดด้วยมือเปล่า และเท้าเปล่า ควรหาผ้ามารองแทน
  • หาผ้าเช็ดตัวหรือผ้าห่มมาคลุมตัวลูกที่ถูกไฟดูด จากนั้นช่วยลูกออกมาจากจุดเกิดเหตุโดยเร็วที่สุด
  • ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยการ CPR ก่อนนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
  • เช็กดูว่าลูกยังหายใจเป็นปกติหรือไม่ หากลูกไม่หายใจหรือหายใจช้า ให้ทำ CPR ทันที หากลูกหายใจปกติ แต่มีแผลไฟไหม้ ให้รีบถอดเสื้อผ้าออก ล้างแผลด้วยน้ำเย็น พันแผลด้วยผ้าสะอาด และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : 8 วิธีป้องกันเด็กถูก ไฟช็อต รับมืออย่างไรหากลูกถูกไฟช็อต

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

  • หมั่นตรวจเช็กอุปกรณ์และสายไฟ ว่ามีส่วนไหนชำรุดหรือไม่
  • ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ
  • ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้
  • ต่อสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อให้ไฟฟ้าลงดิน
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภท ในเต้าเสียบเพียงอันเดียว
  • ติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
  • วางสายไฟให้พ้นทางเดิน ไม่วางสิ่งของหนัก ๆ ทับสายไฟ เพราะอาจทำให้สายไฟขาดและชำรุดได้
  • หากร่างกายเปียก ห้ามแตะอุปกรณ์ไฟฟ้าเด็ดขาด เพราะอาจทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย จนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

 

หากพบว่าลูกถูกไฟดูดหรือไฟช็อต คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติให้ดี และรีบทำการช่วยเหลือลูกอย่างรวดเร็วที่สุด เพราะอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า หากไม่ระมัดระวังให้ดี ก็อาจทำให้คนที่ช่วยเหลือถูกไฟดูดไปด้วย ดังนั้น ต้องหมั่นตรวจเช็กเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และพยายามไม่ให้ลูกเล่นกับข้าวของเหล่านี้ โดยเฉพาะทารกและเด็กเล็ก ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต

ที่มา : bgrimmtrading.com, nakornthon.com, navavej.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 ภัยช่วงปิดเทอม อุบัติเหตุต่าง ๆ ที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง

เคล็ด(ไม่)ลับ! จัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก ป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน

ป้องกันลูกน้อยจากโรงรถ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักรีด ป้องกันอย่างไรจึงปลอดภัย

 

บทความโดย

Sittikorn Klanarong