"สุขภาพจิตเด็ก" เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วงนี้มีข่าวออกมาบ่อย ๆ เรื่องเด็กแกล้งกันในโรงเรียน จนเกิดเหตุการณ์นักเรียนทำร้ายกันเสียชีวิต ซึ่งปัญหาการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งผู้ถูกรังแกและผู้รังแก เด็กที่ถูกรังแกอาจเกิดปัญหา สุขภาพจิต ตามมา เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล กลัวการเข้าสังคม ไปจนถึงคิดฆ่าตัวตาย เด็กที่รังแกผู้อื่นก็อาจมีปัญหาสุขภาพจิตเช่นกัน เช่น ก้าวร้าว ขาดความยั้งคิด ไปจนถึงเป็นโรคทางจิตเวช

โดยสาเหตุหลักของความก้าวร้าวมักเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายใน เช่น ปัญหาการจัดการอารมณ์ ความโกรธ ใจร้อน หรือโรคทางจิตเวช และปัจจัยภายนอก เช่น ครอบครัวที่มีปัญหาความรุนแรง การถูกรังแก การอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ชอบใช้ความรุนแรง การใช้สารเสพติด และสื่อออนไลน์ที่กระตุ้นอารมณ์รุนแรง หากเราได้เข้าใจสาเหตุของความก้าวร้าว ก็สามารถช่วยให้เราป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นพ่อแม่และผู้ปกครองจึงควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยอยู่เสมอ หากพบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาจบ่งบอกถึงสัญญาณอันตรายของปัญหา สุขภาพจิต บางอย่างได้ ซึ่งหากพบสัญญาณเหล่านี้ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพจิตโดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมและป้องกันปัญหาที่อาจตามมาในอนาคต

 

3 สัญญาณปัญหา สุขภาพจิตเด็ก ที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์

1) สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงปัญหาพฤติกรรม

เด็กเริ่มมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เริ่มทำร้ายตนเอง ทำลายข้าวของ ไม่ไปโรงเรียน ใช้สารเสพติด ขโมยของ โกหก แยกตัว ถูกรังแก และมีอาการนอนไม่หลับ

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2) สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงปัญหาด้านอารมณ์

เด็กเริ่มมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย เศร้า กังวล และ กลัว ซึ่งความรู้สึกนี้อาจบ่งบอกถึงปัญหาด้านอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคเครียดหลังกระทบกระเทือนจิตใจ เป็นต้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3) สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงปัญหาด้านความคิด

มีความย้ำคิดย้ำทำ  คิดอยากทำร้ายตนเอง หรือสิ่งรอบตัว รวมไปถึงการคิดอยากทำร้ายผู้อื่น และหยุดความคิดที่กังวลไม่ได้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมปัญหา สุขภาพจิต?

ซึ่งทาง นายแพทย์ พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้เผยว่า สาเหตุของความก้าวร้าว จริง ๆ แล้วไม่ได้เกิดมาจากปัจจัยเดียว แต่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัย จึงควรต้องแก้ทุกปัจจัยไปพร้อม ๆ กัน ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มาดูกัน 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

 

 

1) ปัจจัยส่วนตัว

เกิดจากปัญหาการจัดการอารมณ์ การจัดการความโกรธ ความใจร้อน หรือเป็นโรคที่ยับยั้งชั่งใจคุมตัวเองยาก

 

2) ปัจจัยจากครอบครัว

หากเด็กถูกเลี้ยงมาในครอบครัวที่มีความก้าวร้าวทางร่างกาย วาจา อารมณ์ ก็จะทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวได้

 

3) ปัจจัยทางโรงเรียน 

ปัจจัยนี้ขึ้นอยู่กับสังคมที่อยู่รอบตัวของเด็ก หากมีการกลั่นแกล้งรังแก หรืออยู่ในกลุ่มเพื่อนที่นิยมความรุนแรง หรือมีการใช้สารเสพติด ก็เป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้ใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวันได้

 

4) ปัจจัยด้านสื่อออนไลน์ 

สื่อในยุคปัจจุบันอาจมีการเผยแพร่คอนเทนต์ เนื้อหาที่รุนแรง ซึ่งอาจกระตุ้นอารมณ์รุนแรงในตัวบุคคลได้ หากเด็กใช้เวลากับสื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหารุนแรงเป็นประจำโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ อาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรงได้ อาจทำให้เด็กเรียนรู้ว่าความรุนแรงเป็นวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งและรู้สึกตื่นเต้นและท้าทายที่จะลองใช้ความรุนแรงในชีวิตจริง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการป้องกันปัญหาความรุนแรง และ สอนให้ลูกรู้จักจัดการอารมณ์ของตนเอง

1) คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักควบคุมหยุดความก้าวร้าวด้วยความสงบ เช่น ใช้การกอดหรือการจับมือให้เด็กหยุดการกระทำเหล่านั้น หลังจากที่เด็กอารมณ์สงบแล้ว ควรพูดคุยถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่พอใจถึงแสดงความก้าวร้าวออกมา เพื่อสอนให้ลูกรู้จักระบายออกเป็นคำพูดได้ด้วย

2) ควรเริ่มฝึกฝนลูกน้อยตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองเป็น เช่น ฝึกให้แยกตัวออกมาเมื่อตนเองรู้สึกโกรธ ให้ตนเองสงบสติอารมณ์ลงก่อน

3) ฝึกให้ลูกรู้จักเห็นอกเห็นใจ มีจิตใจโอบอ้อมอารีแก่คน สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

 

 

พ่อแม่: เซฟโซนด่านแรก ป้องภัยลูกจากปัญหา สุขภาพจิตเด็ก

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ปกครองและบุคคลใกล้ชิดยังสามารถช่วยป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กได้ โดย พญ. วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้แนะนำวิธีดูแลสุขภาพจิตลูก ดังนี้

มีเวลาใส่ใจรับฟัง 

เด็ก ต้องการการเอาใจใส่จากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะจากพ่อแม่ ผู้ปกครองจึงควรใช้เวลาพูดคุยกับลูกอย่างจริงใจ ใส่ใจในทุกเรื่องที่เกิดขึ้นกับเด็ก ด้วยการถามคำถามง่าย ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกเล่าเรื่องของตนเอง เช่น "วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง" หรือ "วันนี้ไม่ชอบอะไรที่สุด" วิธีนี้ยังสอนให้ลูกรู้จักกับอารมณ์ของตนเองในแต่ละวันอีกด้วย

 

สร้างบรรยากาศในครอบครัวที่อบอุ่นและปลอดภัย

การสร้างบรรยากาศแบบนี้ จะสอนให้เด็กรู้สึกไว้วางใจที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ โดยไม่กลัวว่าจะถูกบ่นหรือตำหนิ เพียงแค่ผู้ปกครองบอกกับลูกว่า "ถ้ามีใครทำให้ลูกเจ็บหรือเสียใจ บอกพ่อกับแม่ได้นะ" ก็จะสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับลูกและกล้าที่จะเล่าว่าตนเองถูกกระทำความรุนแรงหรือไม่

 

 

ที่มา : Posttoday, Thaipbs.com

โดยสรุปแล้ว สุขภาพจิต ที่ดีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะในเด็ก การเรียนรู้ที่จะรู้จักอารมณ์ของตนเองและจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม จะช่วยให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ ครู และชุมชน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของเด็ก ๆ โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ ปลูกฝังค่านิยมแห่งสันติภาพ และส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ หากเด็ก ๆ มีสุขภาพจิตที่ดี ก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข มีความมั่นใจในตนเอง ปรับตัวได้ดี และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โกรธ จะควบคุมอารมณ์โกรธยังไงดี มีวิธีไหนช่วยได้บ้าง ต้องอ่าน!!

นิทานธรรมะ เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน : ความโกรธ สอนลูกให้ใจเย็น

ลูกโยน-ขว้างสิ่งของ เมื่อความ "โกรธ" ไม่ใช่เรื่องตลก แต่รับมือได้ใน 4 ขั้นตอน

 

บทความโดย

samita