แพทย์เตือน! คนท้องสูดดมฝุ่น PM 2.5 มาก ๆ ระวังทำร้ายลูกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้เปิดเผยว่า PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีค่าเกินมาตรฐาน เป็นมลพิษทางอากาศที่ทำร้ายสุขภาพ เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านการหายใจ หากได้รับอย่างต่อเนื่องหรือได้รับมาก ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะยาวและระยะสั้น โดยเฉพาะ คนท้องสูดดมฝุ่น PM 2.5 มาก ๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้

 

คนท้องสูดดมฝุ่น PM 2.5 มาก ๆ ระวังทำร้ายลูกในครรภ์

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา PM 2.5 ในปัจจุบัน คือ การมีแหล่งสร้างมลพิษทางอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้มีการเกิดฝุ่นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งเครื่องยนต์รถใหม่และรถเก่า การเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่า และการก่อสร้างที่อยู่ในทุกพื้นที่ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนทำให้คุณภาพของอากาศแย่ลง และเพิ่มฝุ่นมลพิษมากขึ้น

 

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีขนาดที่เล็กมาก ฝุ่นสามารถเข้าสู่ร่างกายจากหลอดลมไปยังหลอดเลือด และกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หากได้รับเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดการสะสม ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในกลุ่ม ได้แก่ เด็ก คนท้อง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เป็นต้น

ฝุ่น PM 2.5 สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้หลาย ๆ ส่วน ในส่วนของระบบทางเดินหายใจอาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด อาจทำให้เกิดอาการกำเริบได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหอบหืดในคนปกติและในเด็ก ส่วนในระยะยาวจะทำให้สมรรถภาพของปอดลดลง จนอาจเกิดเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้สำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ยังได้กล่าวเสริมว่า ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด อีกทั้งยังทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดเกิดการอักเสบได้ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มอัตราการเสียชีวิตสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อันเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิต นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดดมฝุ่น PM 2.5 เป็นนาน ๆ จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์อีกด้วย

 

โดยสัญญาณที่บ่งบอกร่างกายกำลังได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 คือ จะมีอาการไอเรื้อรัง คัดจมูก คายเคืองตา แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก และผิวหนังเป็นตุ่มหรือนูนแดง ดังนั้น เราควรป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศ หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติของร่างกายควรรีบไปพบแพทย์ทันที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทำความรู้จักฝุ่น PM 2.5

PM 2.5 คือ ฝุ่นละเอียด (Fine Particulate Matter) มีขนาด 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งตรวจพบปริมาณเกินขีดอันตรายที่องค์การอนามัยโลกกำหนดหลายแห่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ของกทม. ฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากหากเข้าไปในถุงลมปอด ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย และอุดตันตามผนังเลือด ซึ่งหากได้รับสะสมเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจนำมาซึ่งโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผลกระทบต่อแม่ท้องเมื่อสูดดมฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน

  • คลอดก่อนกำหนด
  • ทารกตายเฉียบพลัน
  • ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยลง
  • ทารกมีโอกาสเป็นออทิสติกสูง
  • เพิ่มความเสี่ยงของอาการครรภ์เป็นพิษ
  • อาจเกิดความเสี่ยงของอาการหอบหืดในแม่ท้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า?

 

 

แม่ท้องควรรับมือกับฝุ่นมลพิษอย่างไร

อย่างที่แพทย์กล่าวไปข้างต้นว่าฝุ่น PM 2.5 อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่และพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ คุณแม่จึงควรหาวิธีรับมือเพื่อป้องกันฝุ่นที่อาจทำร้ายสุขภาพครรภ์ เรามาดูกันว่ามีวิธีไหนที่ช่วยให้คุณแม่รับมือกับฝุ่นมลพิษได้บ้าง

  • สวมหน้ากากอนามัย N95 คุณแม่ควรใส่หน้ากาก N95 มากกว่าหน้ากากผ้าธรรมดา เพราะสามารถช่วยป้องกันและกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี
  • งดทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน เช่น ปิ้งย่าง สูบบุหรี่ จุดเตาถ่าน จุดธูปเทียน และเผากระดาษหรือสิ่งของ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน คุณแม่ท้องไม่ควรออกไปข้างนอกเมื่อมีค่า PM 2.5 ที่สูง ควรอยู่บ้านและใช้วิธีลดฝุ่นละอองภายในบ้าน โดยการปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เช็ดถูบริเวณรอบบ้านเพื่อกำจัดสิ่งสกปรก และใช้เครื่องฟอกอากาศช่วย
  • ปลูกต้นไม้รอบ ๆ บ้าน อย่างที่ทราบกันดีว่าต้นไม้จะช่วยกรองอากาศได้ดีในระดับหนึ่ง เพียงปลูกต้นไม้กระถางเล็ก ๆ ตามมุมบ้าน และรดน้ำต้นไม้ทุกวัน ก็จะช่วยลดฝุ่นละอองได้เบื้องต้น
  • ไปพบแพทย์เมื่อรู้สึกไม่สบาย หากคุณแม่รู้สึกหายใจไม่ทั่วท้อง ไอ จาม คัดจมูก แสบคอ และแสบรอบดวงตา ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

 

คุณแม่ท้องควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกเพื่อสัมผัสฝุ่นละอองเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรก เพราะอาจส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ได้ ที่สำคัญควรสวมหน้ากากอนามัย N95 ไว้เสมอหากเจอค่าฝุ่นละอองที่สูง ดังนั้น พยายามหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกจะดีกว่า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง

10 หน้ากากอนามัย N95 ยี่ห้อไหนดี ได้มาตรฐาน ป้องกันละอองฝุ่น PM 2.5

5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5

ที่มา : กรมการแพทย์, matichon.co.th, chulalongkornhospital.go.th, pregskin.com

บทความโดย

Sittikorn Klanarong