อุทาหรณ์ ! เด็ก 4 ขวบ กินยาคลายเครียด หมดแผง ก่อนจะหลับไปไม่ได้สติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เตือนพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกเล็ก ๆ ให้ระมัดระวังเรื่องสิ่งของส่วนตัวให้ดี โดยเฉพาะยารักษาโรค หลังเด็กชายอายุ 4 ขวบ ซนแอบ กินยาคลายเครียด หมดแผง ก่อนจะหลับไปไม่ได้สติ ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยารักษาอาการซึมเศร้าของแม่

 

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีกู้ภัยสยามระยอง ได้รับแจ้งเหตุว่า มีเด็กชายอายุ 4 ขวบ กินยาเกินขนาด แล้วหลับไปไม่ได้สติ ซึ่งที่เกิดเหตุอยู่บริเวณบ้านพักในพื้นที่อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ในขณะมาถึงพบพ่อแม่ของเด็กคนดังกล่าว อยู่ในอาการตื่นตกใจอยู่ริมถนน เจ้าหน้าที่จึงรีบนำตัวเด็กซึ่งอยู่ในอาการไม่ได้สติ ปฐมพยาบาลโดยด่วนจนสามารถเรียกสติของเด็กกลับมาได้ ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล

 

 

จากการสอบถามแม่ของเด็ก อายุ 27 ปี เล่าว่า ขณะที่ตนเองกำลังทำโอทีอยู่ที่ทำงาน จู่ ๆ ก็มีลางสังหรณ์บางอย่างเกิดขึ้น ตนจึงรีบกลับมาบ้าน แล้วพบลูกชายนอนตัวซีด ตาลอย ไม่ได้สติ จึงได้พยายามไปปลุกลูก แต่ปลุกเท่าไหร่ลูกก็ไม่ยอมตื่นสักที ก่อนจะพบว่าลูกชายได้ปีนขึ้นไปบนชั้นวางของ แล้วนำยาคลายเครียดรักษาโรคซึมเศร้าของตนเองมากินไปทั้งแผง ซึ่งขณะนั้นไม่ทราบว่ากินไปนานแค่ไหนก่อนตนจะมาพบลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ซึ่งก่อนเจ้าหน้าที่กู้ภัยจะมาถึง ทางพ่อแม่ของเด็กเอง พร้อมกับลูกชายอีกคน ก็ได้ขี่รถจักรยานยนต์ซ้อน 4 กันมาจากบ้าน เพื่อจะพาเด็กอายุ 4 ปี ที่กินยาเกินขนาดไปโรงพยาบาล แต่เกิดหลงทางจึงได้โทรศัพท์แจ้ง 1669 เข้ามาช่วย โชคดีที่ยังเรียกสติของเด็กกลับมาได้ทัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินยาพาราเซตามอลมากเกินไปมีผลต่อลูกในท้อง

 

กินยาคลายเครียด มีความเสี่ยงไหม ?

ยาคลายเครียดคือยาที่ช่วยบรรเทาความเครียดและความรู้สึกวิตกกังวล โดยเข้าไปยับยั้งสารเคมีและการทำงานบางส่วนของสมองที่ทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกดังกล่าว และนอกจากจะช่วยคลายเครียดแล้ว ยังมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงซึมและนอนหลับได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ทั้งยังมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อนจะกินยาคลายเครียดจึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลบางอย่างก่อนค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยาคลายเครียดแต่ละประเภททำหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?

1. ยาคลายเครียด

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ายานอนหลับเป็นยาคลายเครียด เพราะความเครียดเป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักที่ทำให้นอนหลับยาก เมื่อไปพบแพทย์บางครั้งมักจะได้รับยานอนหลับกลับมาด้วย เนื่องจากมีฤทธิ์ทำให้สมองและร่างกายผ่อนคลาย ลดความเครียด จึงทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ

สำหรับตัวยาคลายเครียดหรือยานอนหลับ ส่วนใหญ่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับจากความเครียด ซึ่งจัดเป็นยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน ถือเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาภาวะวิตกกังวล อาการชัก และโรคนอนไม่หลับให้บรรเทาได้ยิ่งขึ้น

ส่วนผลข้างเคียงของยาประเภทนี้คือ ขี้ลืม สับสน ท้องผูก คลื่นไส้ เวียนหัว รวมไปจนถึงปัญหาการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะไม่ได้รุนแรงอะไรมาก แต่ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อการขับขี่ยานพาหนะ และเมื่อใช้ยาเกินขนาดอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงมากขึ้นค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก

ยาต้านเศร้าที่อยู่ในกลุ่มไตรไซคลิก เป็นยาที่ใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ อย่างโรคซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง และทำให้รู้สึกผ่อนคลายเพิ่มมากขึ้น โดยยาอะมิทริปไทลีน จะเป็นยาในกลุ่มไตรไซคลิกที่แพทย์สั่งจ่ายเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าในระยะแรกเริ่มค่ะ

สำหรับผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ก็คือ ง่วงซึม ตาพร่า ท้องผูก ปากแห้ง ปัสสาวะไม่ออก รวมทั้งยังทำให้ความดันเลือดลดลงฉับพลันขณะลุกยืนอีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะช่วงสัปดาห์แรกของการใช้ยา จึงควรใช้อย่างระมัดระวังตามแพทย์สั่งเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีรักษาโรควิตกกังวล และโรคเครียด ด้วยวิธีทางธรรมชาติทำได้ที่บ้าน

 

3. ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ เป็นยาอะทีโนลอล ยาเมโทโพรลอล และยาไบโซโปรลอล ช่วยรักษาและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ แต่ในบางครั้งแพทย์ก็ใช้ยานี้เพื่อคลายความเครียด เช่น หัวใจเต้นเร็ว เสียงสั่น ตัวสั่น และเหงื่อออก

ส่วนผลข้างเคียงก็คือทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เวียนหัว หน้ามืด และทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวก็ยังถือว่าไม่ได้รุนแรงมากเท่าไร แต่ถ้าใช้งานเกินขนาดก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะหัวใจทำงานน้อยลงมากเกินปกติ หากมีอาการหายใจไม่สะดวก เวียนหัวรุนแรง หรือตัวสั่น ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

 

ความเสี่ยงและวิธีใช้ยาคลายเครียดให้ปลอดภัย

  • การใช้ยาคลายเครียดทุกชนิดควรมาจากแพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อกินด้วยตนเอง
  • โรคเครียดเรื้อรัง ภาวะวิตกกังวล โรคซึมเศร้า จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนเท่านั้น เพื่อให้แพทย์ได้จ่ายยาตามอาการจะได้ช่วยบรรเทาได้ถูกจุดค่ะ และที่สำคัญต้องกินยาตามที่แพทย์ระบุเอาไว้ด้วย
  • ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ ต้องแจ้งอาการที่พบให้ครบ เช่น โรคประจำตัว ยาและอาหารเสริมที่ใช้ หากตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ก็ควรบอกเช่นเดียวกัน
  • พยายามใช้ยาคลายเครียดตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีและมีความปลอดภัยในการใช้
  • สำหรับการกินยาคลายเครียด ต้องห้ามหยุดยาเอง โดยเฉพาะพวกยาต้านความเศร้าและยาเบต้าบล็อกเกอร์ เพราะมันอาจกระตุ้นอาการให้รุนแรงขึ้นไปอีกค่ะ
  • ไม่ควรใช้ยาคลายเครียดมากกว่า 1 ชนิดพร้อมกัน เพราะอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่อันตราย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทาน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาคลายเครียด ร่วมกับเครื่องดื่มคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด เพราะมีผลต่อสมองและระบบประสาท
  • การใช้ยาคลายเครียดทำให้เกิดผลข้างเคียงทั่วไป ซึ่งมักไม่เป็นอันตราย แต่หากรู้สึกว่าได้รับผลข้างเคียง สามารถสอบถามแพทย์ถึงวิธีรับมือและแก้ไขได้ค่ะ เพราะยาบางตัวมันมีฤทธิ์มากค่ะ
  • หากพบอาการข้างเคียงอย่างหายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ไม่มีสติ ควรโทรเรียกรถพยาบาลหรือไปพบแพทย์ทันที อย่าปล่อยให้เรื้อรัง

 

สิ่งที่สำคัญของการเริ่มใช้ยาคลายเครียดให้ได้ประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยที่สุด ควรจะเริ่มจากการไปพบแพทย์เพื่อตรวจถึงสาเหตุอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ร่วมกับการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และถ้าเกิดว่าพบอาการใด ๆ ที่อาจเป็นสัญญาณของผลข้างเคียงรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระวังเสียชีวิต แม้ลูกเป็นไข้หวัดธรรมดา หากซื้อยามากินเอง

ลูกกินยาแล้วอาเจียนควรทำอย่างไร ฟังคำตอบจากคุณหมอ

ระวัง!!! ยาชาและยากล่อมประสาทเกินขนาด ในแม่ท้องกระทบลูกในครรภ์

ที่มา :

news.ch7.com

pobpad.com

บทความโดย

supasini hangnak