เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาทางด้านเพจเฟซบุ๊ก กู้ภัยสว่างโรจนธรรมสถาน สัตหีบ ได้รายงานอุบัติเหตุ ที่บริเวณไร่แอ๊ด ถนน 332 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ได้มีรถเก๋งสีขาว ไถล่ลงข้างทาง เป็นเหตุให้ตัวรถพลิกคว่ำ โดยมีคนอยู่ภายในรถ 3 คน มี 1 คนขับ และ 2 ผู้โดยสาร เคราะห์ดีเด็ก รอดตายเพราะนั่งคาร์ซีท ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ก่อนเจ้าหน้าที่นำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบร่างกายครั้ง
เวลา 14.30 น. ของวันที่ 22 มีนาคม 2566 ศูนย์วิทยุหน่วยกู้ภัยสว่างโรจนธรรมสถาน อ.สัตหีบ ได้รับการแจ้งเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนต้นไม้ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ บริเวณไร่แอ๊ด ถนน 332 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี หลังรับแจ้งกำลังอาสาสมัครกู้ภัยพร้อมเจ้าหน้าที่กู้ชีพ ได้ออกตรวจสอบร่วมกับรถพยาบาลเทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว
ณ ที่เกิดเหตุ ได้พบรถยนต์เก๋งส่วนบุคคลยี่ห้อ โตโยต้า ยาริส สีขาว หมายเลขทะเบียน 4กค 6010 พลิกคว่ำหงายท้องโดยล้อรถชี้ขึ้นฟ้าอยู่บริเวณพงหญ้าใต้ต้นไม้ จากการตรวจสอบภายในรถพบผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 3 ราย เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงเร่งนำตัวออกจากรถยนต์คันดังกล่าว
ที่มารูปภาพ : เฟซบุ๊ก กู้ภัยสว่างโรจนธรรมสถาน สัตหีบ
เบื้องต้นพบเป็นหญิง 1 ราย เด็กอายุ 6 เดือน 1 ราย และเด็กชายอายุ 6 ขวบ 1 ราย โดยทั้งสามคนเป็นแม่ลูกกัน ผู้เป็นแม่ไม่ได้รับบาดเจ็บ และเด็กอายุ 6 เดือน ไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ เนื่องจากนั่งอยู่ในคาร์ซีท ส่วนเด็กชายอายุ 6 ขวบ มีอาการบาดเจ็บบริเวณเข่าข้างซ้าย เจ้าหน้าที่จึงนำทั้ง 3 ราย ส่งไปทำการรักษา ยังห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เพื่อตรวจสอบร่างกายครั้ง
ที่มา : เฟซบุ๊ก กู้ภัยสว่างโรจนธรรมสถาน สัตหีบ
หากย้อนไปเมื่อช่วงกลางปี 2565 ทางด้าน ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2565 ได้บัญญัตินี้ให้บังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อบังคับดังนี้
คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลา หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด
บทความที่เกี่ยวข้อง : รถ Tesla ตกเหว เด็กรอดเพราะคาร์ซีท แต่พ่อถูกจับข้อหาพยายามฆ่า !?
การวางคาร์ซีทในตำแหน่งต่าง ๆ ในรถยนต์
1.ที่นั่งข้างคนขับ
หากให้ลูกนั่งเบาะหลังจะปลอดภัยกว่านั่งเบาะหน้า พ่อแม่อาจชอบที่จะมองลูก หากคุณแม่พยายามขับรถ และดูแลเด็กในเวลาเดียวกัน จะทำให้คุณแม่เสียสมาธิ และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น หากจำเป็นต้องดูแลลูกเพราะลูกป่วยควรขอให้ผู้ใหญ่อีกคนนั่งข้างหลังไปด้วย และห้ามวางคาร์ซีทหันไปทางด้านที่มีถุงลมนิรภัย เพราะหากถุงลมนิรภัยทำงาน จะกระแทกคาร์ซีทลูก หากรถมีเซ็นเซอร์ที่จะปิดถุงลมนิรภัยอัตโนมัติ เมื่อคุณติดตั้งคาร์ซีท คุณแม่ก็สามารถติดตั้งคาร์ซีทแบบหันหน้าไปทางด้านหลัง ควรตรวจสอบว่าลูกรัดเข็มขัดนิรภัยเรียบร้อยและไม่หลวมจนเกินไป
2. เบาะหลังด้านหลังคนขับ
หากเป็นไปได้ ให้ใช้เบาะด้านหลังอีกข้างหนึ่ง หากคุณแม่ใช้เบาะนี้ จะทำให้ลูกต้องขึ้นลงรถจากฝั่งที่อยู่ติดถนนอาจเป็นอันตรายได้ แต่ถ้าปกติคุณแม่จอดรถโดยให้ฝั่งคนขับติดกับฟุตบาท เบาะด้านหลังคนขับก็จะดีกว่า และคุณแม่ต้องเช็กให้แน่ใจว่าติดตั้งคาร์ซีทในตำแหน่งนี้ ได้อย่างถูกต้องด้วยนะคะ
3. เบาะหลังตรงกลาง
หากเบาะนั่งด้านหลังตรงกลาง มีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด (วางบนตักและแนวทแยง) จุดนี้คือจุดที่ปลอดภัยที่สุดในการวางคาร์ซีท (เว้นแต่คำแนะนำของผู้ผลิตระบุว่ามีเบาะนั่งแบบอื่นที่ดีกว่า) เนื่องจากอยู่ห่าง จากด้านข้างของรถมากที่สุด หากเบาะนั่งด้านหลังตรงกลางมีเข็มขัดนิรภัยแบบนั่งตักเท่านั้น ให้ตรวจสอบคำแนะนำเกี่ยวกับคาร์ซีทเพื่อดูว่าสามารถติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบนั่งตักได้อย่างเดียวหรือไม่ คาร์ซีทสำหรับเด็กส่วนใหญ่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยแบบสามจุด หากเป็นกรณีนี้ ให้ติดตั้งคาร์ซีทในด้านที่มีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เบาะรองคาร์ซีท รองรับสรีระได้ดี นุ่มสบาย ไม่ระคายเคืองผิว !
4. เบาะหลังด้านหลัง ผู้โดยสารด้านหน้า
คุณแม่ควรติดตั้งคาร์ซีทที่เบาะนี้ ซึ่งดีกว่าที่นั่งด้านหลังคนขับ เพราะโดยปกติแล้ว คุณแม่จะสามารถพาลูกเข้าและออกจากรถจากฝั่งฟุตบาทได้อย่างสะดวก และอย่าลืมที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าติดตั้งคาร์ซีทในตำแหน่งนี้ได้อย่างถูกต้องและแน่นหนา
พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่แรกเกิด เพราะจะทำให้ลูกนั้นเกิดความคุ้นชิน โดยตำแหน่งที่ควรติดตั้งมากที่สุดจะเป็นตรงกลางที่เบาะหลังที่มีเข็มขัดนิรภัย แต่หากว่าไม่ ควรติดตั้งที่เบาะด้านหลังของผู้โดยสารด้านหน้า และไม่ควรติดตั้งคาร์ซีทให้หันหน้าเข้าถุงลมนิรภัยเพราะจะทำให้เมื่อถุงลมนิรภัยทำงาน จะมากระแทกกับคาร์ซีทเด็กได้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลลูกที่ป่วยไปด้วย อาจจะขอร้องให้ผู้ใหญ่อีกคนนั่งไปบนรถด้วยเพื่อดูแลเด็กค่ะ
การฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีท อาจฝึกด้วยการให้ลองนั่งไปในระยะทางใกล้ ๆ เช่น นั่งออกไปหน้าหมู่บ้าน ออกไปซื้อของที่บริเวณใกล้เคียง จะช่วยให้ลูกเกิดความคุ้นชิน ในเด็กช่วงอายุประมาณ 8 เดือนถึง 1 ขวบ จะเริ่มเรียนรู้และจะมีปฏิกิริยาการตอบสนอง อาจจะมีอาการร้องไห้ คุณแม่ต้องอดทน ในขณะที่ลูกร้องไห้คุณแม่อาจจอดหรือหยุดรถก่อนแล้วพาลูกไปเดินเล่น หรือหาของเล่นไว้ติดรถให้ลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายลงค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อุทาหรณ์! ลูกรอดเพราะคาร์ซีท ประสบการณ์ตรงจากคุณแม่ ลูกไม่เป็นอะไรเพราะนั่งคาร์ซีท
วิธีใส่คาร์ซีทที่ถูกต้อง เช็ควิธีที่คุณใส่ที่นั่งบนรถให้ลูกว่าทำถูกหรือไม่
นั่งคาร์ซีทอย่างไร ให้ปลอดภัย และวิธีรับมือ ลูกงอแงเวลานั่งคาร์ซีท
ที่มา : childcarseats.org.uk