ปวดใจ! สาวซึมเศร้าหลังคลอด ถูกสามีนอกใจเล่นชู้ในบ้าน พีคกว่าคือลูกเป็นคนเล่า!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องอาการหลังคลอด นับเป็นเรื่องที่แม่ท้องหลายคนอาจจะเคยเจอได้ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่แม่บางคนอาจจะเป็นหนัก ถึงขั้นที่ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาให้หายดี แต่ในขณะนั้นหากเจอเรื่องสะเทือนใจ ก็อาจจะทำให้อาการแย่ได้ ดังเช่นเรื่องของสาวรายนี้ที่ได้ออกมาระบายถึงเรื่องที่เจอ เมื่อเธอกลายเป็น สาวซึมเศร้าหลังคลอด ที่ถูกสามีลักลอบเล่นชู้ในบ้าน กับพี่เลี้ยงที่จ้างมา

 

เรื่องนี้ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ appledaily ที่ได้เสนอเรื่องราว ปัญหาครอบครัวที่เกิดจากการจ้างพี่เลี้ยงเด็ก หน้าที่ที่ช่วยแบ่งเบาผู้เป็นแม่ เพื่อไม่ให้ร่างกายหลังคลอดต้องเหนื่อยเกินไป แต่กลับต้องเป็นเรื่องในครอบครัว เนื่องจากภรรยาจับได้ว่า สามีแอบนอกใจมีความสัมพันธ์กับพี่เลี้ยง ในช่วงที่เธอรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

 

ที่มา : sanook.com

 

โดยสาวชาวจีนรายหนึ่ง ได้เล่าประสบการณ์สุดช้ำของเธอ ที่เธอต้องการระบายความเศร้า และร้องทุกข์ถึงเรื่องที่เธอต้องเจอเพียงลำพัง เมื่อเธอตั้งท้องลูกคนที่ 3 สามีของเธอตัดสินใจจ้างพี่เลี้ยงเด็ก เนื่องจากเธอมีอาการซึมเศร้าระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังจากการคลอดลูก ทำให้เธอต้องเข้ารับการรักษาตัวที่ศูนย์ฯ แห่งหนึ่ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เวลาผ่านไปจนวันหนึ่ง ลูกชายคนโตพูดกับเธออย่างไร้เดียงสาว่า “คุณพ่อกอดกับคุณน้า” และตามมาด้วยคำบอกเล่าอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิด ของสามีและพี่เลี้ยงของลูกชาย ซึ่งหลังจากที่รู้เรื่องนี้ ทำให้เธอรู้สึกไม่สบายใจตลอดเวลา เพราะลำพัง สาวซึมเศร้าหลังคลอด ก็ทำให้เธอไม่สบายใจอยู่แล้ว เมื่อมีเรื่องนี้เข้าหู ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจพิสูจน์ความจริง เธอกลับไปที่บ้านและขอร้องให้เพื่อนเธอติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อแอบสอดส่องความเป็นไปภายในบ้านของเธอ และท้ายที่สุดเธอก็ได้รับคำตอบว่า เธอเห็นพวกเขาทั้งสองทำเรื่องสกปรกในครัว แต่หลังจากที่รู้ความจริง เธอยังไม่ได้พูดคุยหรือทะเลาะกับสามี ทำได้เพียงร้องไห้มาหลายวันแล้ว

 

ในโพสต์ดังกล่าว เธอได้ให้เหตุผลที่ยังไม่เปิดใจคุยกับสามีว่า อย่างแรกเพราะเธอเพิ่งคลอดลูกคนที่สาม อีกทั้งลูกชายคนโตและลูกชายกลางยังมีอายุเพียง 5 และ 3 ขวบ ส่วนประการที่สอง เธอลาออกจากงานหลังจากแต่งงาน ตอนนี้อายุ 39 ปีแล้ว ทำให้หางานยาก และถึงแม้จะหางานทำได้ เธอก็ไม่คิดว่าเงินจำนวนนั้นจะมากพอที่สำหรับเลี้ยงลูก ๆ ได้ นอกจากนี้เธอยังเปิดเผยด้วยว่า ครอบครัวของเธอทำธุรกิจฟาร์มประมงกุ้ง ซึ่งเงินทุนล้วนมาจากฝ่ายสามี ทำให้เขาเป็นผู้ชายที่ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวได้แบบ 100 คะแนนเต็ม ในสายตาของครอบครัวเธอ ซึ่งสาวจีนรายนี้ได้ระบุทิ้งท้ายว่า “ฉันไม่อยากพรากจากลูก ๆ และกลัวว่าหลังจากหย่าฉันจะไม่เหลืออะไรเลย ฉันไม่กล้าแม้แต่จะบอกพ่อแม่ และนั่นมันก็ทำให้ฉันรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออกจริง ๆ ”

 

หลังจากที่เรื่องนี้ถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ กลายเป็นประเด็นทันที มีชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นว่า “ที่เศร้าที่สุดคือ ถ้าผู้หญิงไม่มีเงินมากพอ แต่งงานไปก็ยังต้องหวังพึ่งสามีให้เลี้ยงลูก” , “ต้องทิ้งสิ่งที่มีอยู่ แล้วก้าวเดินอย่างมั่นคงเมื่อจำเป็นต้องทำ”, “เข้มแข็ง คุณทำได้” , “นี่คือความเศร้าของผู้หญิง” และความเห็นในเชิงเสนอแนะว่า “คุณควรรวบรวมหลักฐานและฟ้องแค่พี่เลี้ยง เว้นแต่คุณจะมีความสามารถ และมีคอนเน็กชันที่กว้างขวาง มิฉะนั้นอย่าหย่าง่าย ๆ เลย แค่ทำให้สามีโอนเงินและทรัพย์สินทั้งหมดเป็นชื่อของคุณ และใช้สามีของคุณเป็นเครื่องมือทำเงินสิ” , “เอ่อ.. คุณต้องการหย่าไหม คุณต้องการไหม กลั้นหายใจแล้วลองคิดว่าต้องการไหม ต้องการฟ้องหย่าไหม แต่ดูเหมือนว่าคุณไม่มีทางเลือกอื่น”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ซึมเศร้าหลังคลอด เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่หลาย ๆ คนอาจต้องเผชิญ

 

ซึมเศร้าหลังคลอด ปัญหาที่ไม่กล้าขอความช่วยเหลือจากแพทย์

การเป็นแม่คนอาจเป็นเรื่องที่สร้างความสุขให้แก่ลูกผู้หญิง แต่สำหรับแม่มือใหม่หลายคนกลับมีประสบการณ์ในทางตรงกันข้าม และต้องทนทุกข์กับปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) ซึ่งในเรื่องนี้ องค์การอนามัยโลก ระบุว่า 1 ใน 5 ของแม่ลูกอ่อนในประเทศกำลังพัฒนามีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลูก และผู้เชี่ยวชาญระบุว่าตัวเลขจริงอาจสูงกว่านี้ เพราะหลายคนไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์ เนื่องจากตราบาปทางสังคมที่คาดหวังว่า คนเป็นแม่จะต้องอิ่มเอมใจกับการมีลูก ในขณะที่ความเป็นจริงพวกเธอกลับมีความรู้สึกเศร้าใจ หดหู่ และบางคนเกิดความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือแม้แต่ฆ่าลูกน้อยของตัวเอง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึมเศร้าหลังคลอด แบ่งเป็น 3 ระดับ

1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues หรือ baby blues)

เกิดจากการที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ มีความกังวลเรื่องลูก โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

 

2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)

มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวง่าย บางครั้งหงุดหงิด ความผูกพันกับลูกหายไป บางครั้งผุดภาพอยากทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายลูก ระยะอาการนี้มีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่สามารถหายเองได้

 

3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)

มักเกิดในช่วงหลังคลอด 1-4 วัน โดยผู้ป่วยมักมีอาการฉุนเฉียว ร้องไห้ง่าย คึกคัก คล้ายอาการของโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน บางครั้งก็ได้ยินเสียงสั่งให้ฆ่าลูก คนไข้กลุ่มนี้จะมีอาการหวาดกลัวมาก นอนไม่ได้ น้ำหนักลดลงมาก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะไม่สามารถหายเองได้ อีกทั้งยังมีความอันตรายต่อตัวเองและลูก

 

อาการที่ถือเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด

  • ซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ ร้องไห้
  • ความรู้สึกสนุก สนใจทำกิจวัตรประจำวันที่เคยชอบลดลง หรือรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลลูก
  • เบื่ออาหาร หรืออยากกินอาหารตลอดเวลา
  • ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียตลอดเวลา
  • การนอนเปลี่ยนแปลง อาจง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา หรือนอนไม่หลับ
  • รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เป็นแม่ที่ไม่มีความสามารถ
  • ไม่มีสมาธิ ความคิด อ่าน จดจ่อในสิ่งที่ทำลดลง
  • เคลื่อนไหวช้าลง หรืออยู่ไม่สุข
  • มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อแม่เสี่ยงซึมเศร้า ความเครียดจากการเลี้ยงลูก ควรทำอย่างไรดี ?

 

สาเหตุภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพแวดล้อม อารมณ์ หรือพันธุกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากขึ้น หากมีปัจจัยเสี่ยง เช่น

  1. มีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เคยมีภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดมาก่อนหน้านี้
  2. สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
  3. มีปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความเครียดมากในช่วงปีที่ผ่านมา เช่น ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว เป็นต้น
  4. ทารกมีปัญหาสุขภาพที่ต้องมีการดูแล หรือรับการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ
  5. แม่มีปัญหาในการให้นมบุตร
  6. ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน
  7. ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม

 

การรักษาอาการซึมเศร้าแม่ท้อง

1. การทำจิตบำบัด

เป็นการรักษาด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าว ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการรับมือกับปัญหาและให้กำลังใจผู้ป่วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การใช้ยาต้านซึมเศร้า

โดยยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าอาจปนเปื้อนในน้ำนมได้ แต่ก็มียาบางชนิดที่ส่งผลข้างเคียงกับทารกได้น้อย โดยผู้ป่วยและแพทย์จะต้องปรึกษากันถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการรักษาด้วยยาต้านเศร้าแต่ละชนิด

 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ และไม่ใช่ความรู้สึกอ่อนแอเท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้น กับคนใกล้ชิดอย่างตรงไปตรงมา และซื่อตรงกับตัวเอง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม โดยในขณะที่ทำการรักษาผู้ป่วยควรดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย เช่น ออกกำลังกาย หรือเข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษา เป็นต้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากอะไร และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง

ภาวะซึมเศร้าหลังหย่านม ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่ควรเข้าใจ

7 กิจกรรมต้านซึมเศร้า ในเด็ก เติมสุข พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว

ที่มา : sanook.com, medparkhospital.com

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn