วันที่ 14 ธ.ค. เวลา นางสาวนุช ผู้เป็นมารดา เดินทางไปพบ นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาฯ แจ้งว่า ด.ญ.เอ (นามสมมุติ) ลูกสาววัย 6 ขวบ เรียนอยู่ชั้น อนุบาล 3 โรงเรียนในจ.สมุทรปราการ ถูก ด.ช.หนึ่ง (นามสมมุติ) วัย 6 ขวบ ถูกเพื่อนผู้ชายห้องเดียวกัน พาตัวเข้าไปในห้องน้ำของโรงเรียน บังคับให้ถอดเสื้อผ้าออกจนหมดและพยายามจะข่มขืน แต่ทำไม่สำเร็จ ด.ญ.เอ จึงรีบใส่เสื้อผ้าหนีออกมาจากห้องน้ำ ด้วยท่าทีหวาดกลัว ร้องไห้ ระหว่างทางพบเพื่อนพี่สาว จึงรีบไปบอกพี่สาวที่อยู่ชั้นป.6 พอทราบเรื่อง ได้พาน้องไปแจ้งให้ครูประจำชั้นทราบ ก่อนที่พี่สาวจะโทรแจ้งแม่ว่าเกิดเรื่องขึ้นกับน้องขึ้น
ด.ญ.เอ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะเกิดเรื่องขึ้นกับตนเอง ด.ช.หนึ่ง ได้ไปจับหน้าอกของเพื่อนหญิงร่วมห้องมาก่อนด้วย เมื่อแม่ทราบเรื่องจึงรีบเดินทางไปที่โรงเรียน ซึ่งครูพี่เลี้ยงยังไม่มีใครทราบเรื่อง แม่อยู่ในความตกใจคิดไม่ถึงว่าเด็กชายซึ่งมีอายุเพียง 6 ขวบ จะทำเรื่องแบบนี้ได้ ทั้งเรื่องกระทำอนาจาร ใช้ความรุนแรง และแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อยากขอร้องให้มูลนิธิปวีณาฯ ช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลในการปรับพฤติกรรมของด.ช.หนึ่ง และอยากให้ทางโรงเรียนมีมาตรการดูแลเด็ก ป้องกันเหตุไม่คาดคิดด้วย
นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาฯ รับเรื่องและได้ประสาน นางสาวปาณิสรา สลากรธนวัฒน์ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรปราการ ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านด.ช.หนึ่ง โดยด.ช.หนึ่งได้บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า ได้ทำตาม ด.ช.บี (นามสมมุติ) อายุ 13 ปี ที่เป็นหลานของพ่อ อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน ด.ช.บี ได้ทำพฤติกรรมเช่นนี้ ตนเองจึงได้เลียนแบบ
นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กฯ พูดคุยแนะนำพ่อแม่ของ ด.ช.หนึ่ง เรื่องการเลี้ยงลูกให้เหมาะสมและทำบันทึกข้อตกลงกับพนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก พร้อมประสานโรงพยาบาลเพื่อส่งตัว ด.ช.หนึ่งเข้ารับการประเมินสภาพจิตใจ เพื่อปรับพฤติกรรม และประสานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา รับทราบเรื่องที่เกิดขึ้น ทำการส่งนักจิตวิทยาของเขตพื้นที่การศึกษาฯ เข้าไปพูดคุยกับเด็กทั้ง 2 คน และวางแผนให้การช่วยเหลือดูแลสภาพจิตใจ
พร้อมกันนี้ นางปวีณา ได้ประสาน นายธีร์ ภวังคนันท์ รักษาราชการแทนรองเลขาธิการ กพฐ. ส่งนายนิสิต เนินเพิ่มพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. ในวันที่ 14 ธ.ค. ที่มูลนิธิปวีณาฯ จ.ปทุมธานี และร่วมประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องไม่คาดฝันในโรงเรียนขึ้นอีก โดยมูลนิธิปวีณาฯจะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และพม. ติดตามดูแลสภาพจิตใจเด็กอย่างใกล้ชิดต่อไป.
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กหญิง 4 ขวบถูกข่มขืนที่บ้านพักเด็ก ภัยร้ายที่ผู้ปกครองต้องระวัง
ทำให้ลูกเห็น เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะลูกกำลังเลียนแบบเราอยู่
1. คำพูดและท่าทาง
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องตกใจ หากเมื่อจู่ ๆ ลูกวัยอนุบาลเผลอพูดคำหยาบออกมา ไม่ว่าจะรู้ความหมายหรือไม่ก็ตาม รวมถึงการเลียนแบบสำนวนของผู้ใหญ่ และการใช้คำพูดล้อเลียนคนอื่น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ทั้งที่คุณพ่อคุณแม่และคนในบ้านตั้งใจที่จะระมัดระวังคำพูดของตัวเองต่อหน้าลูก แต่บางทีลูกก็ช่างจดจำเกินไป หากคุณพ่อคุณแม่ได้ยินคำหยาบคายจากลูก อย่าดุหรือทำให้ลูกตกใจ ให้พ่อแม่คุยกับลูกว่าทำไมลูกจึงไม่ควรใช้คำพูดนี้ และถ้าเป็นคำที่คิดว่ามาจากตัวคุณพ่อคุณแม่เอง ก็อย่าลืมรับผิด และแก้ไขและปรับปรุงตัวเองด้วย
2. มารยาท
หากต้องการให้ลูกเป็นที่รักของคนทั่วไป ควรกำชับให้ลูกมีมารยาทอยู่เสมอ รวมถึงตัวพ่อแม่เองควรทำให้เป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นด้วย เช่น การกล่าวคำลาและพูดคุยพนักงานที่ให้บริการอย่างสุภาพ พูดขอร้องอย่างสุภาพและกล่าวคำขอบคุณเสมอ อีกทั้งเวลาเจอผู้สูงอายุ อย่าลืมยิ้มแย้มและพูดด้วยถ้อยคำสร้างสรรค์ หากลูก ๆ ทำตามนี้ นั่นก็ถือเป็นชัยชนะของพ่อแม่แล้วล่ะค่ะ
3. การใช้เวลาว่าง
หากคุณพ่อคุณแม่ใช้เวลาว่างทำอะไร ลูก ๆ ย่อมทำสิ่งนั้นด้วย หากคุณพ่อคุณแม่ ใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ ลูก ๆ ก็จะได้ฝึกนิสัยรักการอ่านไปด้วย แต่หากเมื่อใดที่คุณพ่อคุณแม่ ใช้เวลาว่างไปกับการเล่นมือถือและท่องเว็บ แน่นอนว่าเด็ก ๆ ย่อมเหมือนถูกดึงเข้าไปหาโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตด้วย ลูก ๆ จะทำพฤติกรรมตามคนที่พวกเขาอยู่ด้วย โดยจะทำไปแบบไม่ได้ตั้งใจ คุณพ่อคนแม่อย่าลืมสังเกตตัวเอง และใช้เวลาว่างทำในสิ่งที่จะส่งผลดีต่อลูก ๆ ด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนใช้อินเตอร์เน็ต อย่างไรให้ปลอดภัย สอนลูกให้รู้ทันอินเตอร์เน็ต
4. นิสัยการกิน
เรื่องกินที่ถูกต้องของเด็ก ๆ เด็กจะคอยสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่อยู่ตลอด เพราะฉะนั้นทุกคนในครอบครัวควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบ 5 หมู่ ไม่เลือกกินหรือกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียว และกินให้เป็นเวลาตรงตามมื้ออาหาร เพื่อเป็นตัวอย่างพฤติกรรมให้เด็กทำตามโดยไม่ต้องบังคับ และตรวจสอบให้ดีว่าอาหารที่ลูกได้รับนั้นอุดมไปด้วยคุณประโยชน์โดยเน้นกลุ่มผัก ธัญพืช และผลไม้ ในปริมาณที่เหมาะสม
5. พฤติกรรมการใช้เงิน
คุณพ่อคุณแม่ควรต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี ในการใช้เงิน ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พบว่า นิสัยการใช้เงินในเด็กนั้นเกิดขึ้นเมื่ออายุ 7 ขวบ ดวงตาเล็ก ๆ ของเด็กวัยนี้จะเฝ้ามองพฤติกรรมของผู้ใหญ่แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวในทุก ๆ เรื่อง รวมถึงเรื่องเงินด้วย ถ้าคนในครอบครัวถกเถียงหรือทะเลาะกันเรื่องเงินบ่อย ๆ จะมีผลต่อทัศนคติเรื่องเงินของเด็กในระยะยาว แต่หากพบพฤติกรรมการใช้เงินของผู้ปกครองที่มีระบบระเบียบ พวกเขาจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมได้โดยอัตโนมัติ
เด็กที่กำลังเติบโต นั้นก็คือนักเลียนแบบดี ๆ นี้เอง นั่นก็เพราะว่า เด็ก ๆ ให้ความสนอกสนใจกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอยู่เสมอ พวกเด็ก ๆ เรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมด้วยการดูและฟังผู้อื่น สิ่งนี้เรียกว่า “การเรียนรู้โดยการสังเกต” และมันก็อาจจะเป็นได้ทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย ถึงแม้จะเป็นเรื่องดีที่ให้พวกเขาเลียนแบบพฤติกรรมและนิสัยในด้านบวก แต่นั่นก็หมายความว่า เราต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเรื่องการกระทำหรือคำพูดเมื่ออยู่ต่อหน้าลูก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
มวยปล้ำ WWE กับเด็กที่ต้องระวังการลอกเลียนแบบอยู่หน้าทีวี
พฤติกรรมเลียนแบบของลูก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่
5 สิ่งต้องห้ามทำ ระวัง ! ลูกเลียนแบบพฤติกรรมพ่อแม่
ที่มา : banmuang, thethaiger