โรคลมหลับ โรคแปลกที่เด็กเจอ เผลอหลับไม่รู้ตัว แพทย์เตือน! เป็นเรื่องอันตรายมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การป่วยของคนเรา มักเป็นเรื่องที่เกิดได้โดยไม่รู้ตัว หรือในบางคนก็อาจจะเป็นโรคหายาก ได้ด้วยเช่นกัน ดังเช่นเด็กสาวคนนี้ ที่เธอไปหาหมอ เพราะการเฉื่อยชา แถมยังเผลอหลับในห้องเรียนเสมอ ไปหาหมอถึงได้รู้เหตุผล ที่แท้เป็นโรคหายาก ที่เรียกว่า “โรคลมหลับ

 

เรื่องการเรียน มักเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับเด็ก เป็นอย่างมาก เพราะเวลาเป็นสิ่งมีค่าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเด็กนักเรียนชั้นมัธยม อย่างเช่นกับเด็กนักเรียนหญิงคนนี้ ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ในเมืองหวยอัน มณฑลเจียงซู ประเทศจีน มักจะงีบหลับในชั้นเรียนเสมอ ไม่เพียงเท่านั้น ในฐานะนักเรียนศิลปะ แม้แต่ขณะที่ยืนวาดภาพ เธอก็เผลอหลับไปด้วย

 

ตามรายงานพบว่า เด็กหญิงหวัง อายุ 18 ปี ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน จากความเฉื่อยชาของตนเองมานานหลายปี จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ อาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เธอเผลอหลับได้ทุกเมื่อ ทั้งตอนอยู่ในชั้นเรียน ทำการบ้าน นั่งรถ หรือแม้แต่ตอนที่ลุกขึ้นยืน และเมื่อหาหมอก็รู้เหตุผล ที่แท้เป็นโรคประหลาดที่เรียกว่า “โรคลมหลับ”

 

 

เธอเปิดเผยอย่างหมดหนทางว่า “จู่ ๆ ฉันก็เผลอหลับกลางคาบเรียน และจู่ ๆ ก็เผลอหลับระหว่างวาดรูป ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเรียนของเธอ” พ่อแม่พาเธอไปโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษา หลังจากตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีก ในที่สุด เด็กหญิงหวังก็ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคหายากที่เรียกว่า “narcolepsy” คือ มีความผิดปกติของการนอนจากทั่วไป ลักษณะคือการนอนหลับที่ไม่ดี ในระยะยาวช่วงกลางคืน ทำให้เกิดการนอนหลับระยะสั้น หลายครั้งที่ในระหว่างวัน เนื่องจากไม่อาจต้านทานสภาพร่างกายได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แพทย์ที่เข้าร่วมรักษาเปิดเผยว่า “โรคลมหลับ เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยมีอัตราเพียง 0.02% เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี โรคนี้จะส่งผลกระทบร้ายแรง ต่อชีวิตของผู้ป่วย และมีอันตรายมากมาย อาการหลับที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ อาจนำไปสู่อุบัติเหตุหลายอย่าง เช่น อาการขณะขับรถ อาจเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์, อาการวูบขณะทำอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลไหม้ได้”

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังจากชี้แจงสาเหตุ และอาการของโรคแล้ว แพทย์ได้จัดทำแผนการรักษาทันที โดยเน้นการรักษาด้วยยา เสริมด้วยการบำบัดทางกายภาพ และการแพทย์แผนจีน ภายใต้การดูแลอย่างระมัดระวัง ของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ส่งผลให้สภาพการนอนหลับของเธอดีขึ้นทุกวัน สุดท้ายแพทย์ย้ำเตือนว่า โรคลมหลับมักเกิดในเด็ก และวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อผู้ปกครองพบว่า บุตรหลานมีอาการง่วงซึม โดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันและหยุดยั้งอันตรายที่ซ่อนอยู่

บทความที่เกี่ยวข้อง : นิสัย หน้าตา และโรคร้าย จากพ่อแม่สู่ลูก เรื่องพันธุกรรมสำคัญกว่าที่คิด

 

โรคลมหลับ คืออะไร ?

โรคลมหลับ (Narcolepsy) เป็นอีกหนึ่งโรค ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยไม่สามารถฝืนให้ตื่นได้ แม้ว่านอนหลับอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม เป็นโรคที่พบได้น้อย ประมาณร้อยละ 0.05 ของประชากรทั้งหมด พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 10-25 ปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในบางครั้งอาจมีอาการคล้ายหลับ คือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก ขณะที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยมักมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา และไม่ว่าจะนอนเท่าใด ก็ยังรู้สึกง่วง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงอย่างมาก อาจเกิดการหลับในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม และอันตรายได้ เช่น ขับรถ กำลังผ่าตัดผู้ป่วย

 

สาเหตุของโรค

ยังไม่ทราบแน่ชัด โรคนี้มีความผิดปกติที่สมองควบคุมการหลับและตื่น โดยมีการหลับแทรก เข้ามาในขณะที่ยังตื่นอยู่ อาการของโรค เช่น ง่วงนอนตลอดเวลา แขนขาอ่อนแรงขณะจะตื่น ผีอำ เห็นภาพลวงตาช่วงที่จะหลับ

 

โรคนี้ไม่ใช่โรคทางจิตเวช ผู้ป่วยโรคนี้มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยบางรายมีสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า hypocretin ต่ำกว่าปกติ นักวิจัยบางรายได้เสนอ ว่าโรคนี้เกิดจาก ความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยภายนอกบางอย่าง

 

 

อาการของโรคลมหลับ

ผู้ป่วยมักมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ และหลับในตอนกลางวัน โดยไม่สามารถฝืนให้ตื่นได้ หลังหลับจะมีอาการดีขึ้น แต่จะรู้สึกง่วงอีกครั้งในระยะเวลาไม่นาน และสามารถหลับได้อีกหลายครั้งต่อวัน โดยที่ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่น ๆ อีกได้ เช่น

  • เผลอหลับร่วมกับมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก ล้มพับลงกับพื้น (Cataplexy) เกิดในขณะที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง
  • ไม่สามารถขยับร่างกายได้ช่วงใกล้ตื่นนอน หรือที่เรียกว่า ผีอำ (Sleep paralysis)
  • มีภาพหลอนขณะกึ่งหลับกึ่งตื่น (Hypnagogic hallucination)
  • มีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ ซึมเศร้า หลงลืม ขาดสมาธิ อ่อนเพลีย

 

การรักษาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  1. การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อมีสุขภาวะการนอนหลับที่ดี เช่น หลีกเลี่ยงยา สารเคมี สิ่งเสพติด สุรา บุหรี่ งดการขับยานพาหนะ
  2. การรักษาด้วยการปรับความคิด และพฤติกรรมบำบัด กับนักบำบัดชำนาญการเฉพาะทาง
  3. การใช้ยา โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาที่เหมาะสมตามอาการ และติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยให้สามารถมีกิจวัตรประจำวัน ที่เหมาะสมตามต้องการ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคลมหลับนี้ แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่แพทย์ก็สามารถให้การรักษาแก่ผู้ป่วย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเหมือนคนปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ๆ หากเจออาการเหล่านี้ได้เร็ว ก็จะสามารถบรรเทาได้เร็วขึ้นเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้ชีวิตประจำวันถูกรบกวน จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ต้องระวัง! โรคจูบ อาการป่วยที่เกิดได้แม้กับเด็ก แพทย์เตือน! ผู้ปกครองอย่าหาทำ

แม่ขอยืมเครื่องช่วยหายใจ ใช้ยื้อชีวิตลูกสาวป่วยระยะสุดท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคติดต่อ RSV เด็กไทยป่วยเพิ่มขึ้น ป่วยซ้ำเกือบทุกปี ควรป้องกันอย่างไร ?

ที่มา : Sanook, ctwant, bumrungrad

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn