โรงเรียนไม่ใช่เซฟโซน แม่ชาวจีนคุกเข่า ร้องขอความเป็นธรรม วอนเอาผิดเด็กรุมทรมานลูกสาว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความรุนแรงภายในโรงเรียน นับว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าหากเกิดการเพิกเฉยขึ้น อาจจะกลายเป็นว่า โรงเรียนไม่ใช่เซฟโซน ดังเช่นกรณีของครอบครัวเหยื่อชาวจีนรายนี้ก็ได้ค่ะ

 

มีคุณพ่อท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความลงบน Weibo โดยทำการตั้งโพสต์เป็นสาธารณะ เล่าเรื่องราวความทุกข์ใจของครอบครัวไว้ โดยได้อ้างว่า ลูกสาววัย 16 ปี ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ถูกรังแกมาเป็นเวลานาน โดยนักเรียนหญิงรุ่นเดียวกันถึง 3 คน

 

 

คุณพ่อได้ระบุว่าลูกสาวของเขาถูกบังคับให้คุกเข่าตบตัวเอง แก้ผ้า เตะหน้าอก และทำร้ายด้วยวิธีการโหดร้ายอย่าง "เอาตะเกียบแทงอวัยวะเพศ"

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อของเหยื่อเล่าอย่างขมขื่นว่า "ผมไม่รู้ว่าความเกลียดชังมากมายขนาดไหน ที่ทำให้นักเรียนหญิงอายุ 17 ที่เรียนอยู่แค่ ม.ปลายปี 3 คน ทำสิ่งที่โหดร้ายและเลวทรามเช่นนี้กับลูกสาวของผม หรือความล้มเหลวเป็นความล้มเหลวในสถาบันครอบครัวและสถานศึกษา"

 

นอกจากนี้ คุณพ่อยังบอกอีกว่า ลูกสาวถูกคุกคามห้ามไม่ให้บอกครอบครัวและครู หากมีคนรู้เรื่องเพิ่มขึ้นจะถูกทำร้ายกว่าเดิม จนกระทั่งพ่อแม่มาจับได้เอง ทำให้คุณแม่ถึงกับล้มทั้งยืน และเมื่อทราบเรื่องพร้อมแจ้งไปยังครูประจำชั้น กลับไม่มีมาตรการในการลงโทษใด ๆ ทำให้ครอบครัวตัดสินใจแจ้งตำรวจเพื่อเอาผิด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความรุนแรงในครอบครัว เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังจากที่เหตุการณ์ผ่านไป 1 อาทิตย์ โรงเรียนยังคงปัดความรับผิดชอบ และไม่มีการลงโทษคนผิดแต่อย่างใด ผู้กระทำผิดทั้งสามยังสามารถไปเรียนได้ตามปกติ แม้ว่าแม่ของเหยื่อจะคุกเข่าหน้าโรงเรียน ร้องไห้ด้วยความแค้นใจมากเพียงใด โรงเรียนก็ยังเมินเฉยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว คุณพ่อผู้เล่าเรื่องราวจึงหวังว่า กระแสสังคมจะให้ความสนใจในเรื่องนี้มาก ๆ เพื่อให้คนที่ทำผิดได้รับโทษตามสมควร

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทั้งนี้หลังจากที่มีการเผยแพร่โพสต์ดังกล่าว ตำรวจและโรงเรียนได้ทราบถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว กำลังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเจ้าหน้าที่ได้เปิดเผยว่า "เนื่องจากทั้งสองฝ่ายในเหตุการณ์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายละเอียดของเหตุการณ์ดังกล่าวจึงไม่สามารถเปิดเผยได้ เพื่อปกป้องทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”

 

โรงเรียนไม่ใช่เซฟโซน เพราะอะไร ?

นักจิตวิทยาด้านเด็กให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เรื่องของการถูกกลั่นแกล้งภายในโรงเรียน มักมาจากความแตกต่างทางลักษณะภายนอก เช่น สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ เด็กที่มีพัฒนาการช้า เด็กที่ขี้อาย หรือเด็กที่มีความรู้สึกไม่ตรงกับเพศสภาพ และการถูกกลั่นแกล้งหรือบูลลี่นั้น มักจะมาจากเด็กที่มองว่าเรื่องของการใช้ความรุนแรงในทุกด้าน ไม่ใช่เรื่องที่ผิด จึงเกิดเป็นการกลั่นแกล้งให้เห็นตามพื้นที่สื่อ

 

ต้องพึงเข้าใจก่อนว่า พฤติกรรมความรุนแรงของเด็กแต่ละคน อาจได้รับต้นกำเนิดมาจากครอบครัว เพราะได้รับการซึมซับมาตั้งแต่ต้น และยังไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่าเป็นเรื่องสมควรหรือไม่ จึงเกิดเป็นความเชื่อและพฤติกรรมผิด ๆ โดยที่เหยื่อที่ถูกกระทำ ก็ไม่สามารถร้องขอความช่วยเหลือจากใครได้ เนื่องจากการถูกข่มขู่หรือคุกคาม อีกทั้งเมื่อพูดกับอาจารย์หรือขอคำปรึกษา กลับได้การเยียวยาที่มองเห็นเพียงเป็นการเล่นกันในกลุ่มเด็ก

 

 

จึงเกิดเป็นวัฏจักรที่ว่าเข้าใจผิดจนไม่สามารถแยกแยะสิ่งถูกผิดได้ โดยความผิดพลาดของสังคมไทยที่มักให้คำนิยามแก่บุคคลที่มักทำสิ่งไม่ดี แต่เปิดเผยต่อสาธารณชนว่าเป็นเน็ตไอดอล อาจทำให้เด็กที่ยังขาดวุฒิภาวะเข้าใจผิดได้ว่า การกระทำเช่นนี้แม้จะเป็นสิ่งที่ผิดในสายตาผู้ใหญ่ แต่จะได้รับการยกย่องว่าเป็นไอดอล

 

สาเหตุของความรุนแรงในโรงเรียน

1. ความรุนแรงที่เด็กกระทำต่อเด็ก

  • สาเหตุจากครอบครัว

เกิดจากการเลี้ยงดูที่ผิดและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกต้อง เช่น เติบโตในครอบครัวที่มีการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก จนเด็กเกิดการจำและลอกเลียนแบบพฤติกรรม จนนำความรุนแรงมาใช้กับสังคม หรือเด็กที่มาจากครอบครัวที่แตกแยก เด็กถูกทอดทิ้งให้อยู่กับญาติที่ไม่ได้ให้ความรัก และการเอาใจใส่เท่าที่ควร เด็กจะรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย จนเด็กมีความเครียดสะสม กลายเป็นคนก้าวร้าวและใช้ความรุนแรงในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • สาเหตุจากการเสพสื่อ

การเสพสื่อที่มีเนื้อหาใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อออนไลน์ เมื่อเนื้อหาที่รุนแรงถูกถ่ายทอดไปเรื่อย ๆ เด็กเสพสื่อจนเกิดความเคยชิน จนไม่รู้สึกผิดที่จะใช้ความรุนแรง และเกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบในที่สุด

 

 

2. ความรุนแรงที่ครูกระทำต่อเด็ก

  • ครูมีความผิดปกติในด้านจิตใจและอารมณ์

เมื่อเกิดความเครียดก็มาระบายอารมณ์ลงที่เด็ก ด้วยการด่าว่า การตี และการลงโทษด้วยวิธีรุนแรง หรือ การกระทำอื่น ๆ ที่มีพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมที่จะกระทำต่อเด็ก

 

  • ครูขาดทักษะในการจัดการปัญหาเด็ก

โดยส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการลงโทษด้วยการตี เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลในการทำให้เด็กเชื่อฟัง ยิ่งไปกว่านั้นสังคมไทยยังยกย่องเชิดชูครูให้มีฐานะสูงกว่านักเรียน เพราะถือว่าเป็นผู้ให้ความรู้ ผู้ปกครองยังให้สิทธิครูในการช่วยอบรมสั่งสอน ด้วยแนวคิดนี้จึงนำมาซึ่ง อำนาจของครูในการตัดสินลงโทษเด็กได้ตามคตินิยมสมัยก่อนที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูก (ศิษย์) ให้ตี

 

ผลกระทบของความรุนแรงที่มีต่อเด็ก

1. บาดแผลทางอารมณ์

เด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกทอดทิ้ง จะมีความรู้สึกเจ็บปวดอยู่ภายในใจ เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า โทษตัวเองว่าเป็นสาเหตุของความรุนแรง เด็กจะขาดความเชื่อใจคน จะรู้สึกสิ้นหวังและเต็มไปด้วยความเกลียดชัง มีแนวโน้มในการทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายในที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ

 

2. บาดแผลทางร่างกาย

เด็กที่ถูกทำร้ายจะมีบาดแผลและรอยฟกช้ำตามร่างกาย ในบางกรณีอาจมีการแตกหักของกระดูก เช่น แขนหรือขาหัก จนมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังตามมา ในกรณีที่บาดเจ็บสาหัสก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

3. ผลกระทบในระยะยาว

จากการสำรวจพบว่า เด็กที่ถูกทำร้ายไม่ว่าจะทางใด มีแนวโน้มที่มีการศึกษาต่ำ เพราะอาจเลิกเรียนกลางคัน  ในระยะยาวจะมีอาการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า จากการสำรวจยังพบว่า ผู้ที่มีประวัติถูกทำร้ายและใช้ความรุนแรงในวัยเด็ก เมื่อโตขึ้นมีความเป็นไปได้ที่จะก่ออาชญากรรมร้ายแรง

 

4. ผลกระทบต่อครอบครัว

ครอบครัวที่มีสมาชิกตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง จะมีปัญหาในการรับมือกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของเหยื่อ เช่น มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือ พฤติกรรมปิดกั้นตนเองจากสังคม เป็นต้น

 

 

เรื่องของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว เพื่อน โรงเรียน  ไม่ว่าจะจากสถานที่ไหน สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นบาดแผลที่ไม่สามารถลบได้ บางรายอาจจะเป็นฝันร้ายจนถึงขั้นไม่สามารถเข้าสังคมได้ เพื่อความปลอดภัยของลูกหลาน ทุกคนต้องช่วยกันสอดส่องเพิ่มขึ้น หากเกิดความเปลี่ยนแปลงกับลูก ต้องถามและไม่มองข้ามว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย

 

หากครอบครัวเลือกที่จะเพิกเฉยต่อปัญหาที่เด็กเจอ อาจจะต้องพบทางเลือกที่ไม่พึงต้องการได้ ถ้าหากโรงเรียนไม่มีแผนกจิตวิทยาเพื่อบำบัดจิตใจของเด็ก ครอบครัวควรพาลูกไปพบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาจิตใจของเด็กที่ประสบปัญหา เพื่อการช่วยเหลือที่ทันท่วงที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

จิตแพทย์แนะนำ! วิธีป้องกันและช่วยเหลือ เด็กก่อความรุนแรง

ขำไม่ออก! หนุ่มตรวจครรภ์ ขึ้น 2 ขีด ปรึกษาชาวเน็ต เจอคำเตือนระวังมะเร็งอัณฑะ!

เด็ก 1 ขวบ วิ่งร้องไห้ตามหาพ่อข้างถนน พลเมืองดีเตือน อาจไม่โชคดีทุกครั้ง!

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn