อาบน้ำเด็กทารก เทคนิคอาบน้ำเด็กให้สะอาดและปลอดภัย อาบอย่างไรไม่ให้ลูกป่วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาบน้ำเด็กทารก จำเป็นต้องอาบทุกวันไหม ? เป็นหนึ่งในคำถามที่คุณแม่มือใหม่หลายท่านสงสัย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว พยาบาลจะอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดให้เรียบร้อยหลังคลอด แต่หลังจากที่คุณแม่พาลูกน้อยกลับบ้าน สำหรับเด็กในวัยแรกเกิดนั้น การอาบน้ำทารกแรกเกิด 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว เพราะผิวหนังของเด็กแรกเกิดนั้น ยังบอบบางอยู่มาก การอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดบ่อยครั้งเกินไปอาจทำให้ทารกเกิดอาการผิวแห้ง และอาจเกิดการอักเสบได้ ที่สำคัญการอาบน้ำให้เด็กแรกเกิดด้วยตัวคนเดียว หากร่างกายคุณแม่ไม่พร้อมอาจเกิดเรื่องสลดได้เช่นเคสนี้

 

 

เรื่องราวสุดสลดนี้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 65 โดยตำรวจ สภ.เมืองตรัง เข้าตรวจสอบสภาพของทารกอายุเพียง 10 วัน หลังถูกส่งมา รพ.เพื่อช่วยชีวิต เหตุเพราะแม่เป็นลมวูบระหว่างอาบน้ำให้ลูก รู้สึกตัวตื่นขึ้นมา ลูกจมน้ำในกะละมังเสียชีวิต

 

โดยแม่ของทารกวัย 10 วันเล่าว่า ตนมีลูกสาว 2 คน คนโตอายุ 4 ขวบ ส่วนคนเล็กเพิ่งคลอดได้เพียง 10 วัน ตอนเช้าวันเกิดเหตุได้ไปส่งสามีขึ้นรถไปเป็นทหารเกณฑ์ พอตนกลับมาถึงบ้านก็รู้สึกร้อน จึงพาลูกอาบน้ำ โดยขณะนั้นญาติในครอบครัวไม่มีใครอยู่บ้าน ระหว่างนั้นรู้สึกมึนหัวคล้ายจะเป็นลม พอเข้าไปในห้องน้ำ ก็นำน้ำใส่กะละมังโดยระดับน้ำ หากนำเด็ก 10 วันลงไปนั่ง น้ำจะอยู่ระดับเอว จากนั้นก็นั่งยอง ๆ แล้วอาบน้ำให้ลูก ก่อนที่จะวูบและหลับไปไม่รู้สึกตัว และไม่รู้ด้วยว่าหลับไปกี่นาที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จนกระทั่งรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาพบว่าตนเองนอนอยู่ข้างกะละมัง ก็รีบลุกไปดูลูกพบว่านอนแน่นิ่ง จึงรีบยกลูกขึ้นมา และแจ้ง 1669 พร้อมกับโทรบอกญาติ ซึ่งตอนนั้นทีมหน่วยกู้ชีพแนะนำ CPR จนรถโรงพยาบาลมารับ และพยายามช่วยยื้อชีวิตจนถึง รพ. แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตได้

 

แม่ของเด็กเปิดเผยว่า อยากฝากให้เป็นอุทาหรณ์สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งจะคลอดลูก ให้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี ๆ หากมีอาการผิดปกติกับร่างกาย อย่าเก็บอาการ ให้บอกคนใกล้ชิดหรือไปพบแพทย์ เพราะส่วนตัวเพิ่งจะคลอดน้องมาและเกิดอาการเวียนหัว ไม่คิดว่าเหตุการณ์จะเป็นเช่นนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาบน้ำเด็กทารก สำหรับพ่อแม่มือใหม่

การอาบน้ำทารกแรกเกิดเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากเด็กทารกอาจจะดิ้นหรือลื่นหลุดมือได้ ในขณะเดียวกันอาจเกิดอาการป่วยหลังคลอดได้ คุณแม่ที่เพิ่งคลอดใหม่ที่ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเองคนเดียว ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังอีกเท่าตัว ดังนั้นการอาบน้ำให้ลูกน้อยควรมีคุณพ่อหรือใครอยู่ด้วยในช่วงแรก เพื่อเป็นกำลังสำคัญที่สามารถทำแทนได้ ในขณะเดียวกันกับที่คุณแม่ฟื้นฟูสุขภาพตัวเองค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็กอาการไวรัส RSV โรคติดต่อที่ต้องระวังในช่วงปลายฝนต้นหนาว

 

เทคนิคอาบน้ำเด็กทารก ให้สะอาดและปลอดภัย

1. อาบน้ำช่วงไหนของวันก็ได้

การอาบน้ำทารกสามารถเลือกอาบช่วงไหนของวันก็ได้ ส่วนมากมักเลือกอาบก่อนมื้อให้นม หรืออาบก่อนช่วงเวลานอน เนื่องจากหลังอาบน้ำทารกมักรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ทานนมได้ง่ายและหลับได้ยาว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. อาบวันละครั้งกำลังดี

ประเทศไทยที่มีอากาศร้อนชื้น และทารกมักมีเหงื่อง่าย แนะนำให้อาบน้ำวันละครั้ง เพื่อชะล้างกลิ่นอับ คราบเหงื่อ คราบนมของทารก แต่ในต่างประเทศหรือที่ที่มีอากาศหนาว การอาบน้ำทารกอาจทำได้วันเว้นวัน หรือ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะการอาบน้ำที่บ่อยเกินไปทำให้ผิวแห้ง

 

3. อุณหภูมิที่เหมาะสม

อุณหภูมิน้ำอุ่นกำลังดี อยู่ที่ 27-28 องศาเซลเซียส หรือที่อุณหภูมิห้อง ระวังน้ำที่อุ่นเกินไปทำให้ผิวแห้งได้

 

4. อาบไม่ต้องนาน

ระยะเวลาการอาบน้ำทารกไม่ควรอาบนาน ไม่เล่นไม่แช่ในอ่าง รวมระยะเวลาการอาบทั้งหมดไม่เกิน 5 นาที

 

5. สบู่ดีผิวดี

สบู่ที่ดี ควรเป็นสบู่เหลวที่มีความอ่อนโยนกับผิวของทารก การใช้สบู่ก้อนทำให้ผิวแห้ง แนะนำสบู่สูตรอ่อนโยนที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่สระผมและอาบน้ำด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. มือลูบดีที่สุด

ควรใช้ฟองน้ำหรือภาชนะตักน้ำราดขณะอาบน้ำให้เด็ก ไม่ควรนำฟองน้ำหรือผ้ามาถูตัวเด็กแรง ๆ เนื่องจากทำให้ผิวระคายเคือง ควรใช้มือลูบและใช้มือล้างคราบไคลต่าง ๆ จะดีที่สุด และไม่ควรใช้ฝักบัวรดตัวเด็กโดยตรง

บทความที่เกี่ยวข้อง : คุณแม่อารมณ์ดี ลูกในท้องก็แฮปปี้ เพราะอารมณ์มีผลต่อพัฒนาการสมองของลูกในครรภ์

 

7. อุ้มประคองด้วย 2 มือ

หลังจากอาบน้ำและปล่อยให้เขาได้สัมผัสน้ำเพื่อความผ่อนคลายแล้ว ให้ใช้มือทั้งสองข้างโอบใต้รักแรวมถึงหน้าอกลูก พร้อมกับประคองศีรษะ แล้วยกตัวลูกขึ้น จากนั้นรีบห่อตัวลูกด้วยผ้าขนหนูทันที

 

8. ดูแลหลังอาบน้ำ

หลังอาบน้ำให้เช็ดตาด้วยการใช้ไม้พันสำลีเช็ดใบหู และรูหูด้านนอกทั้งสองข้าง ตรวจดูจมูกของลูกน้อย แคะขี้มูก รวมทั้งเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศให้สะอาด

 

9. ทาครีมบำรุงผิวหลังอาบน้ำทุกครั้ง

การใช้ครีมบำรุงผิวจะช่วยให้ผิวของทารกชุ่มชื้น และลดอาการผิวแห้ง ซึ่งเป็นต้นเหตุของผื่น ควรเลือกครีมบำรุงผิวที่เป็นสูตรอ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม และปราศจากสารระคายเคือง ทาได้ทั่วทั้งหน้าและตัว

 

ขั้นตอนการสระผมเด็กแรกเกิด

  • ห่อส่วนลำตัวของลูกไว้ด้วยผ้าอ้อมหรือผ้าขนหนู จากนั้นเตรียมน้ำไว้ที่อ่างอาบน้ำ สำหรับการสระผมเด็กคุณแม่สามารถใช้แชมพูอ่อน ๆ
  • เริ่มต้นการสระผมเด็กด้วยการอุ้มลูกมาหนีบไว้ข้างลำตัวด้านซ้าย หากคุณแม่ถนัดมือซ้ายให้หนีบลูกไว้ข้างลำตัวด้านขวา ใช้มือซ้ายประคองคอของลูก ใช้นิ้วโป้งมือกับนิ้วนางของมือข้างซ้ายกดปิดใบหูป้องกันน้ำเข้าหู
  • จากนั้นใช้ฟองน้ำชุบน้ำบีบใส่ผมลูก แล้วลงแชมพู สามารถใช้ผ้าขนหนูมาถูเบา ๆ ที่ศีรษะให้เกิดฟอง ใช้นิ้วมือข้างขวาคลึงตามหนังศีรษะเบา ๆ ไปด้วยได้
  • ใช้ฟองน้ำชุบน้ำบีบลงศีรษะลูกจนหมดฟอง แล้วเช็ดผมให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันศีรษะลูกชื้นจนเป็นหวัดได้

 

 

ข้อควรระวังในการอาบน้ำให้ทารก

  • อาบน้ำทารกแรกเกิด อย่าปล่อยให้ทารกอยู่เพียงลำพัง แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงชั่วครู่ก็ตาม
  • ตรวจเช็กอุณหภูมิของน้ำก่อนทุกครั้ง ไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป
  • อย่าใช้อ่างอาบน้ำที่ใหญ่เกินไป
  • เลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำ และสระผมเด็กให้เหมาะสมตามวัย
  • ระวังน้ำเข้าหูทารกเวลาอาบน้ำ และระวังสบู่เข้าตา เข้าปาก เวลาสระผมหรืออาบน้ำทารก
  • ในรายที่ผิวหนังแห้งหรือผิวหนังลอกไม่ควรใช้สบู่ฟอก ควรใช้น้ำอุ่นเช็ดหรืออาบ เสร็จแล้วทาผิวหนังด้วยน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์แต่เพียงบาง ๆ ก็พอ เพื่อช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น

 

อาบน้ำเด็ก หรือ การอาบน้ำเด็กทารก คุณอาจจะเลือกอาบน้ำให้ทารกในตอนที่แน่ใจว่าไม่มีใครมาขัดจังหวะ หรือเลือกอาบก่อนให้นมในมื้อสายหรือช่วงเย็นก่อนค่ำก็ได้ ส่วนการอาบน้ำทารกแรกเกิดนั้น ควรใช้น้ำอุ่นอาบน้ำจะดีที่สุด หลังจากอาบน้ำเสร็จก็เอาลูกเข้าเต้าดูดนม ซึ่งการอาบน้ำอุ่น และดูดนมก็จะทำให้ลูกน้อยได้นอนหลับได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ปอดอักเสบในเด็ก อาการป่วยอันตราย สังเกตอย่างไรได้บ้าง ?

เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ผื่นคัน ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่มองข้าม แต่เป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้พัฒนาการลูกสะดุด!

ที่มา : 1, 2, 3

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn