Digital footprint คืออะไร ? ทำไมถึงทำลายอนาคตเด็กโดยไม่รู้ตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม้ว่าการอัปรูปถ่ายของลูกลงบนโซเชียลมีเดีย จะเป็นอีกหนึ่งการแสดงออกทางความรักของพ่อแม่ แต่ในขณะเดียวกันอาจจะเป็นการมองข้ามเรื่องของความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของลูกน้อยภายในเวลาเดียวกัน เพราะการอัปรูปไม่ใช่แค่การอวดให้โลกรู้ ว่าลูกฉันน่ารักแค่ไหน แต่มันอาจจะกลายเป็น Digital Footprint หรือ รอยเท้าดิจิทัล ร่องรอยแห่งความเจ็บปวด จากการขาดความเคารพสิทธิทางร่างกายมนุษย์ที่อาจทำลายอนาคตเด็กโดยไม่รู้ตัว

 

อย่าลืมว่าคุณภาพชีวิตของคนหนึ่งคนนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะการที่โลกสองใบ ระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและโลกออนไลน์ ถูกเชื่อมโยงเข้าหากันจนแทบจะกลืนกันไปหมด ทำให้อิทธิพลของโซเชียลมีเดียกลายเป็นอีกหนึ่งบรรทัดฐานของสังคมไปเสียแล้ว

 

การที่พ่อแม่ถ่ายภาพของเด็ก หรือรูปที่ถ่ายด้วยความบังเอิญ ถูกอัปลงบนโซเชียลมีเดีย กลายเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงมากขึ้น เพราะสิ่งที่เรียกว่ารอยเท้าดิจิทัล อาจกลายเป็นดาบสองคมในอนาคตได้ ส่วนจะเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด วันนี้ theAsianparent จะพาไปทำความเข้าใจ เพื่อรู้เท่าทันให้มากขึ้น!

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Digital Footprint คืออะไร

รอยเท้าดิจิทัล คือ ข้อมูลการใช้งานต่าง ๆ ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ถูกบันทึกไว้ ไม่ว่าจะเข้าเว็บไซต์ใดก็ตาม เช่น Google, Youtube หรือเว็บไซต์ไทยอย่าง Pantip ก็ล้วนแต่มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ จะมากน้อยแล้วแต่เว็บไซต์ การเก็บข้อมูลดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึงแอปพลิเคชัน และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อีกด้วย

 

แต่ที่น่าสนใจไปกว่าร่องรอยการใช้งานก็คือ เพราะเว็บไซต์ไม่ได้เพียงแต่เก็บข้อมูลส่วนตัว หรือข้อความ รูปถ่ายเท่านั้น แต่ยังมีการบันทึกจำนวนการคลิกลิงก์ วิธีการดูเว็บไซต์ หรือวินาทีในการดูโฆษณา หรือแม้กระทั่งการค้นหาคำคีย์เวิร์ดต่าง ๆ ก็ถูกบันทึกไว้เช่นกัน เรียกได้ว่าสามารถตามตัวได้เหมือนอย่างกับรอยเท้า ที่ดูเหมือนว่ารู้จักตัวเราเองดีกว่าที่เรารู้จักด้วยซ้ำ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โพสต์รูปลูกลงเฟซบุ๊กอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายบนโลกโซเชียล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

รูปแบบของร่องรอยดิจิทัล สามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ร่องรอยที่ผู้ใช้เจตนาบันทึก ( Active Digital Footprint )

โดยข้อมูลชนิดนี้ จะเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการบันทึกลงบนอินเทอร์เน็ตตั้งแต่แรก เช่น การโพสต์สิ่งต่าง ๆ ลงบนโซเชียลมีเดีย การลงรูป การส่งอีเมล เป็นต้น เช่นเดียวกับการที่พ่อแม่โพสต์รูปของลูกน้อยตั้งแต่เด็ก แต่ในอนาคตอีก 40 ปี รูปถ่ายนี้อาจจะถูกค้นหาเจออีกครั้งก็เป็นได้

 

2. ร่องรอยที่ที่ผู้ใช้ไม่เจตนาบันทึก ( Passive Digital Footprint )

ข้อมูลที่ไม่เจตนาบันทึกมักอยู่ในการทำงานเบื้องหลังของคอมพิวเตอร์ ที่หลาย ๆ คนไม่รู้สึกถึงการคงอยู่ของมันด้วย เช่น ประวัติการค้นหา บันทึกการเข้าเว็บไซต์ การคลิกลิงก์ภายในเว็บไซต์ ไปจนถึงช่วงเวลาในการใช้งานเว็บและแอปพลิเคชัน

 

ประโยชน์ของรอยเท้าดิจิทัล

1. ตามรอยอาชญากรได้ง่ายขึ้น : อาชญากรรมทางดิจิทัลนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัย และการเก็บบันทึก Digital Footprint จะส่งผลให้ทางหน่วยงานสามารถตามรอยบุคคลต้องสงสัยต่างๆ ได้ง่าย

2. โฆษณาประชาสัมพันธ์สามารถทำได้ง่ายขึ้น : ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีประวัติดิจิทัล ทำให้บริษัทโฆษณาต่าง ๆ สามารถนำเสนอสิ่งที่ผู้คนอยากเห็นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter จนบางคนตั้งข้อสังเกตเลยว่าโฆษณาเหล่านี้ตรงใจเกินไปรึเปล่า

3. ร้านค้าต่างสามารถตอบสนองกับความต้องการลูกค้าได้ดี : ข้อมูลจากร่องรอยดิจิทัล ที่รวมไปถึงการซื้อขาย การจัดสต็อกสินค้า ที่ถูกบันทึกตามโลกออนไลน์ หรือมีการจัดเก็บข้อมูล จะช่วยในเชิงการโปรโมตสินค้าได้ในภายหลัง เพราะช่วยให้ห้างร้านต่าง ๆ มีฐานข้อมูลว่าลูกค้าต้องการอะไร และผู้ค้าต้องทำแบบใด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภัยใกล้ตัว! สอนลูกให้รู้ทันก่อนถูก มิจฉาชีพลักพาตัว

 

ร่องรอยดิจิทัล อันตรายต่อเด็ก?

ถ้าพูดถึงประเด็นอันตรายต่อเด็ก ยกตัวอย่างของเคสต่างประเทศอย่าง นายสเปนเซอร์ เอลเดน (Spencer Elden) ที่ได้ยื่นฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากวงร็อกชื่อดัง เนอร์วาน่า (Nirvana) อดีตเด็กทารกวัย 4 เดือนที่เคยได้เผยเรือนร่างอันเปลือยเปล่าต่อหน้าทุกคน เหตุเพราะเขาคือคนที่อยู่บนภาพปกอัลบั้ม Nevermind นั่นเอง

 

แต่เมื่อเวลาผ่านไป นายสเปนเซอร์ที่เติบโตเป็นหนุ่มอายุ 30 ปี ได้ดำเนินการเรียกค่าเสียหายกว่า 150,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 4.95 ล้านบาท เหตุเพราะภาพดังกล่าวเผยให้เห็นร่างกายส่วนลับ ในเชิงลามกอนาจาร และนายสเปนเซอร์กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเหตุที่ตนบอบช้ำทางใจ ดูแบบนี้แล้วอาจจะดูว่าสเปนเซอร์ต้องการผลประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงแล้วในหลาย ๆ ประเทศมีกฎหมายการล่วงละเมิดสิทธิเด็กทางด้านร่างกายอย่างจริงจังมานาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ดราม่าปิดหน้าลูก เพราะไม่ใช่ดาราฮอลลีวูด

หากถามว่าเรื่องการปกปิดหน้าตาของลูกกลายมาเป็นประเด็นดราม่าได้อย่างไร คงต้องย้อนไปตั้งแต่เมื่อครั้งการคลอดลูกของคู่รัก ปุ้มปุ้ย-กวินท์ ที่ได้ออกมายืนยันจุดยืนของตนเอง ว่าจะยังไม่เปิดเผยหน้าตาของลูกบนโลกออนไลน์ จนกว่าลูกจะตอบโต้หรือตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหนุ่มกวินท์ได้เปิดเผยถึงเรื่องนี้ส่วนหนึ่งในรายการ ซานิ เบาได้เบา สามารถรับชมได้ที่คลิปวิดีโอด้านล่าง

 

 

ในขณะเดียวกันช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ได้มีการถกเถียงถึงประเด็นการปกปิดหน้าลูกอีกครั้ง เมื่ออีกหนึ่งคุณแม่อย่างดาราสาว ดิว อริสรา ได้ตอบคำถามผ่าน Vlog ของตนเอง เกี่ยวกับเรื่องการปกปิดหน้าลูก ว่าจะไม่ปิด จะเปิดเผยบนโลกออนไลน์ โดยบางท่อนได้มีการเปรียบเทียบถึงดาราฮอลลีวูด

 

 

ด้วยความที่เรื่องการปกปิดหน้าตาลูก หรือการเปิดเผยหน้าตาลูก เป็นการพูดถึงโดยคนบันเทิงทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้ชาวเน็ตทั้งหลายจับตามอง และมีการพูดถึงอยู่เป็นระยะ เพียงแต่เรื่องนี้นับเป็นสิทธิส่วนบุคคล เป็นการตัดสินใจของแต่ละครอบครัว เพราะไม่เพียงแต่คู่รัก ปุ้มปุ้ย-กวินท์ ที่ไม่เปิดเผยหน้าตาของสมาชิกครอบครัว แต่หากข้ามฝั่งไปที่ประเทศเกาหลีใต้ มีคนบันเทิงหลายคนที่แต่งงานและมีลูก โดยที่ปัจจุบันแฟนคลับหรือนักข่าวต่างก็ไม่เคยเห็นหน้าลูกของเขา ยกตัวอย่างเช่น เรน (Rain), ชานซอง (สมาชิกวง 2PM), เฉิน (สมาชิกวง EXO) เป็นต้น

 

ความเป็นส่วนตัวกับร่องรอยดิจิทัล Digital footprint

เมื่ออ่านมาจนถึงตอนนี้ หลายคนอาจต้องข้อสงสัยว่าแล้วควรที่จะจัดการกับ Digital Footprint ของตัวเองได้อย่างไรบ้าง ต้องยอมรับก่อนว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะว่าการใช้แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักมีการขอข้อมูลพื้นฐานส่วนหนึ่งไปเก็บไว้อยู่แล้ว แม้แต่ในระดับสากล เรื่องของความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานในเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

 

วิธีควบคุมความเป็นส่วนตัวเบื้องต้นบนโลกออนไลน์

1. ระมัดระวังก่อนโพสต์-แชร์

เนื่องจากการโพสต์หรือแชร์สิ่งต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ จะมีคนเห็นและมีการบันทึกลงในแพลตฟอร์มนั้น ๆ อยู่เสมอ การระวังตั้งแต่ต้นถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

2. ไม่ใส่ข้อมูลส่วนตัวในโซเชียลเยอะเกินความจำเป็น

การใส่ข้อมูลในโซเชียลมีเดียมากจนเกินไป จะทำให้แพลตฟอร์มนั้น “รู้เรื่องของเรา” มากกว่าที่เราต้องการ หากไม่ต้องการทิ้งร่องรอยไว้มาก ควรกรอกข้อมูลแค่ช่องที่จำเป็นเท่านั้น

 

3. ตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวให้เป็น Private

การตั้งข้อมูลทุกอย่างเป็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน จะทำให้ร่องรอยของคุณเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวหรือเฉพาะคนรู้จัก จะช่วยจำกัดเรื่องนี้ได้

 

4. ลองค้นหาตัวเองผ่านทาง Google

หากสงสัยว่าข้อมูลส่วนตัวของคุณเยอะหรือน้อยขนาดไหน เรื่องง่าย ๆ ที่ทำได้ คือ ลองค้นหาตัวเองใน Google ดู ถ้าไม่เจอข้อมูลหรือเจอข้อมูลน้อยมาก ก็แสดงว่าในเบื้องต้นคุณก็ไม่ใช่คนที่มีร่องรอยเยอะนัก

 

5. ระมัดระวังการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนอื่น

การเข้าเว็บไซต์ผิดกฎหมาย การคลิกลิงก์แปลก อาจแฝงไปด้วยระบบที่ติดตามข้อมูล รวมถึงการถูกล้วงข้อมูลที่คุณอาจไม่ต้องการเปิดเผย รวมถึงเก็บข้อมูลโดยที่ไม่ยินยอม ดังนั้นในการท่องโลกอินเทอร์เน็ต ควรใส่ใจเรื่องของความปลอดภัยเป็นสำคัญ

 

 

อย่างที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว การใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างไรก็ต้องมีร่องรอยของการใช้งาน เพียงแต่การเพิ่มความระมัดระวังในตนเอง ในครอบครัว รวมไปถึงในตัวของลูกน้อย ที่ยังไม่สามารถออกเสียงได้อย่างไรก็เป็นผลดี เพราะอย่าลืมว่าการเปิดเผยข้อมูลที่มากเกินไปบนโซเชียลมีเดีย สามารถกลายเป็นผลเสียขึ้นมาได้ เช่น คนร้ายอาจจะมีการส่องโซเชียลมาก่อนการลักพาตัวลูกของเรา ดังนั้นการระวังการใช้โซเชียล อย่างไรก็เป็นผลดีต่อตัวเราแน่นอน รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ไม่ถูกนำไปใช้ในภายหลังอีกด้วยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำความรู้จักกับระบบ AMBER Alerts ให้มากขึ้น ตัวช่วยหลักเพื่อป้องกันปัญหาเด็กหาย

แม่ติดโซเชียลหนักมาก… ระวังโพสต์รูปลูกๆ บ่อยจะเกิดอันตราย

ตามลูกให้ทันในยุค โซเชียลมีเดีย ครองโลก

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn