ไขทารกแรกเกิด ดีหรือไม่? จำเป็นไหมต้องกินอะไรล้างไขลูก?

ไขทารกแรกเกิด ที่คุณแม่มักจะเห็นในทารกแรกคลอด แท้จริงแล้วมีประโยชน์หรือไม่? และจำเป็นไหมที่จะต้องกินอะไรล้างไขลูก เราจะมาหาคำตอบกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาคาใจคุณแม่เกี่ยวกับเรื่องของ “ไขทารกแรกเกิด” ไขขาวๆ ที่คุณแม่มักจะเห็นในทารกแรกคลอด ว่าแท้จริงแล้วมีประโยชน์หรือไม่? และจำเป็นไหมที่จะต้องกินอะไรล้างไขลูก ที่คนโบราณบอกว่า ถ้าดื่มน้ำมะพร้าวมากๆ จะช่วยล้างไขลูกได้หรือเปล่า เราจะมาหาคำตอบกัน

 

ไขทารกแรกเกิด ไขที่ตัวทารก เกิดจากอะไร

เราชวนคุณแม่มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ไขที่ตัวทารก หรือ Vernix caseosa เกิดจากอะไร ไขทารกแรกเกิด เป็นไบโอฟิล์มสีขาวครีมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จะปกคลุมผิวหนังของทารกในครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ 

ไขที่ตัวทารกนี้จะปกคลุมบนผิวหนังของลูกน้อยแรกเกิด เพื่อช่วยปกป้องผิวของทารกแรกเกิด และช่วยให้ผิวหนังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกมดลูกได้ง่ายขึ้นในสัปดาห์แรกหลังคลอดนั่นเอง  

ถ้าคุณแม่ยังนึกไม่ออก ลองนึกถึงการตอบสนองของผิวเราหลังสัมผัสน้ำเป็นเวลานาน เช่น หลังว่ายน้ำหรืออาบน้ำ ผิวหนังและนิ้วมือของเรามักจะเหี่ยวย่น ในน้ำคร่ำในครรภ์มีผลต่อผิวทารกในลักษณะเดียวกัน จึงต้องมีไขตัวทารกที่ห่อหุ้มลูกน้อยอยู่นั่นเอง โดยไขนี้จะถูกสร้างขึ้นในช่วงเดือนที่ 5 ของการตั้งครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไขทารกแรกเกิด ดีหรือไม่ดี

คุณแม่อาจจะมีคำถามนี้อยู่ในใจ แต่เราขอบอกว่าขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมา เรามองว่ามันต้องมีเหตุผล อย่างที่เรารู้กันดีว่าผิวของลูกน้อยแรกคลอดยังละเอียดอ่อนและต้องการการปกป้อง ไขตัวทารกจึงถูกสร้างมาเพื่อเหตุผลนั้น

 

ประโยชน์ของไขที่ตัวทารก

ไขตัวทารกนั้นมีประโยชน์ต่อทารกหลายประการ โดยประโยชน์หลักๆ ได้แก่

  • เป็นตัวหล่อลื่นช่วยให้ทารกคลอดออกมาทางช่องคลอดได้ง่ายขึ้น

เนื่องจากความลื่นของไขตัวทารกจะเป็นสารหล่อเลื่อนจากธรรมชาติชั้นดี และยังช่วยป้องทารกจากแบคทีเรียในช่องคลอดอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปกป้องผิวบอบบางของทารก และการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ทารกแรกเกิดมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรง ทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่าย ไขตัวทารกจะช่วยปกป้องทารกแรกเกิดจากการติดเชื้อหลังคลอด เนื่องจาก ไขเคลือบนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงคุณสมบัติต้านการติดเชื้อและลดการอักเสบอีกด้วย

  • ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายของทารก

ในระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของลูกน้อย เมื่อหลังคลอดลูกน้อยต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะสามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวเองได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ควรห่อทารกด้วยผ้าห่อตัวและรักษาอุณหภูมิห้องให้อบอุ่น การคงไขตัวทารกไว้บนผิวให้นานที่สุด จะเป็นการช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายของทารกให้คงที่ตามธรรมชาติ

  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวลูกน้อย

ไขตัวทารกยังช่วยทำให้ผิวของลูกน้อยนุ่มและเรียบเนียนทั้งในตอนแรกเกิดและหลังคลอด ไขนี้ทำหน้าที่เป็นมอยส์เจอไรเซอร์ตามธรรมชาติ ช่วยปกป้องผิวของทารกจากความแห้งกร้านอีกด้วย

ทารกแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะมีไขทารกผิวหนังมากกว่า เพราะไขทารกนั้นมักจะหลุดลอกในน้ำคร่ำเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด ดังนั้น ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจึงมีไขเหล่านี้จะค่อนข้างมาก 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ความเชื่อเรื่องการล้างไขทารกในอดีต

ในอดีต หลายวัฒนธรรมเชื่อว่าไขทารกเป็นสิ่งสกปรก จึงต้องรีบล้างออกเพื่อให้ทารกสะอาด บางความเชื่อก็เชื่อมโยงการล้างไขทารกเข้ากับโชคลาง เช่น เชื่อว่าการล้างไขจะทำให้เด็กมีผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง หรือมีโชคลาภ นขณะที่บางศาสนามีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการล้างไขทารก เชื่อว่าจะช่วยชำระล้างสิ่งไม่ดีและนำพาความเป็นสิริมงคลมาสู่เด็ก การล้างไขทารกจึงเป็นการปฏิบัติตามประเพณีที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

วิธีการล้างไขทารก

วิธีการล้างไขทารกแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่โดยทั่วไปจะใช้น้ำอุ่นและผ้าสะอาดเช็ดเบาๆ บริเวณที่เปื้อนไข บางครั้งอาจใช้น้ำมันมะกอกหรือผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอ่อนช่วยในการทำความสะอาด

ความเชื่อเรื่องการล้างไขทารกในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าไขทารกมีประโยชน์ต่อผิวหนังของทารก จึงไม่จำเป็นต้องรีบล้างออกทันทีหลังคลอด แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้ปล่อยให้ไขทารกค่อยๆ หลุดออกไปเอง หรืออาจเช็ดเบาๆ ด้วยน้ำอุ่นเมื่อจำเป็น

ข้อดีและข้อเสียของการล้างไขทารก

  • ข้อดี:
    • ทำให้ทารกดูสะอาดและน่ารัก
    • เป็นการปฏิบัติตามประเพณีและวัฒนธรรม
  • ข้อเสีย:
    • อาจทำให้ผิวหนังของทารกแห้งและระคายเคือง
    • ทำให้ไขทารกที่ทำหน้าที่ป้องกันผิวหลุดออกไปเร็วเกินไป
    • อาจทำให้เกิดการติดเชื้อหากใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาด

ความเชื่อเรื่องการล้างไขทารกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสังคมมาช้านาน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนให้ปล่อยให้ไขทารกอยู่ตามธรรมชาติ แต่การตัดสินใจว่าจะล้างไขทารกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคลและคำแนะนำของแพทย์

จำเป็นไหมต้องกินอะไรล้างไขลูก

เป็นความเชื่อผิดๆ อีกความเชื่อหนึ่งที่คุณแม่มักได้ยินกัน โดยเฉพาะช่วงใกล้คลอดว่า “ดื่มน้ำมะพร้าวขณะตั้งครรภ์จะช่วยให้ลูกคลอดออกมาไม่มีไข” แท้จริงแล้วความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการดื่มน้ำมะพร้าวไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร ซึ่งจริงๆแล้วน้ำมะพร้าวมีไขมันทั้งอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว  เมื่อดื่มน้ำมะพร้าวแล้วทำให้ไขสีขาวขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยให้ไขลดน้อยลง

 อีกหนึ่งความเชื่อของน้ำมะพร้าวคือ ความเชื่อว่า “คนท้องดื่มน้ำมะพร้าวจะทำให้แท้งลูก” เพราะในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงมาก ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน ส่งผลให้ผลให้มดลูกบีบตัวและส่งผลให้แท้งได้นั้น เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนจริงแต่ในปริมาณที่น้อยมากๆ เพราะปกติในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนในร่างกายจะสูงมากอยู่แล้ว ส่วนในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ก็จริง แต่มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่มีผลต่อการบีบตัวมดลูกรุนแรงที่ทำให้แท้งบุตรได้

 

อาหารการกินของแม่ท้องกับไขทารก

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องอาหารการกินของแม่ท้องที่มีผลต่อไขทารก ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ โดยมีหลากหลายวัฒนธรรมที่เชื่อว่าอาหารที่แม่ท้องรับประทานจะส่งผลต่อลักษณะของทารก เช่น สีผิว ความขาวเนียนของผิว หรือแม้กระทั่งปริมาณของไขทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กินไข่จะได้ลูกผิวขาว ความเชื่อนี้เชื่อว่าการรับประทานไข่จะทำให้ทารกมีผิวขาวเนียน ซึ่งอาจเป็นเพราะ ไข่มีโปรตีนสูงที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์ผิว
  • กินผักใบเขียวจะได้ลูกผมดกดำ ผักใบเขียวอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม จึงมีความเชื่อว่าการรับประทานผักใบเขียวจะทำให้ทารกมีผมดกดำ
  • กินปลาจะได้ลูกผิวมันวาว ปลาเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ จึงมีความเชื่อว่าการรับประทานปลาจะทำให้ทารกมีผิวพรรณผ่องใส
  • ห้ามกินอาหารรสจัด ความเชื่อนี้เชื่อว่าการรับประทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ด เค็ม จะทำให้ทารกมีผิวแห้ง หรืออาจทำให้เกิดผื่นแพ้ได้
  • ห้ามกินอาหารดิบ อาหารดิบอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของทั้งแม่และลูก จึงมีความเชื่อว่าควรหลีกเลี่ยงอาหารดิบทุกชนิด

ความเชื่อเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากอะไร?

ความเชื่อเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการสังเกตและการถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม อาหารที่แม่ท้องรับประทานมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกอย่างแน่นอน แต่ผลกระทบจะอยู่ในเรื่องของสารอาหารที่ส่งผ่านไปยังทารก เช่น โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ของทารกมากกว่าลักษณะภายนอก

มุมมองทางวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันแพทย์แนะนำให้แม่ท้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทั้งแม่และลูก โดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม และธัญพืช ซึ่งจะช่วยให้ทารกเจริญเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง

วิธีการดูแลไขที่ตัวทารก

คุณแม่ได้เห็นแล้วว่า การที่ลูกมีไขที่ตัวไม่ใช่เรื่องผิดปกติ และไม่จำเป็นต้องล้างไขลูก เพียงแต่ควรดูแลความสะอาด ดังนี้

  1. ทำความสะอาดลูกน้อยตามปกติ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องขัดผิวแรงๆ เพื่อให้ไขที่ตัวลูกหายไป การทำแบบนี้จะเสี่ยงทำให้เกิดรอยถลอกและติดเชื้อที่ผิวหนังได้
  2. ไขตัวทารกเป็นไขมันที่ปกคลุมตามธรรมชาติ ไม่ใช่เกิดจากความสกปรก ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำลูกบ่อยเกินไป
  3. หากมีกลิ่นไม่พึงประสงค์บ้าง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพียงอาบน้ำลูกตามปกติก็จะลดกลิ่นที่เกิดขึ้นได้

คุณแม่คงได้รับคำตอบแล้วว่าไขขาวๆ บนตัวลุกน้อยนั้นไม่ได้อันตรายและไม่ได้สกปรก แต่ยังเป็นตัวช่วยปกป้องลูกน้อยอีกด้วย รวมถึงไม่จำเป็นที่จะต้องล้างไขลูกด้วยวิธีการต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่ดีตามธรรมชาติ รวมถึงความเชื่อเรื่องน้ำมะพร้าวล้างไขลูก นั้นเป็นความเชื่อผิดๆ ที่คุณแม่ควรปรับความเข้าใจใหม่อีกด้วย

 

ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น, NIH , HealthLine , The Bump

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เรื่อง(ไม่)ลับ สิ่งที่แม่ผ่าคลอดอยากบอก กับคนที่ไม่เคยผ่า

ของใช้เตรียมคลอด มีอะไรบ้าง เตรียมของก่อนคลอด จะเป็นลางไม่ดี จริงไหม

คนท้อง ติดเข็มกลัด ทำไม ? เพราะความเชื่อ หรือความจำเป็น !

บทความโดย

daawchonlada