เรื่องผู้หญิง ๆ ช่องคลอดแห้งเป็นอย่างไร ใช้ เจลหล่อลื่นอันตราย หรือไม่

ช่องคลอดเป็นสิ่งที่ผู้หญิงเราควรใส่ใจดูและในเรื่องของความสะอาด เพราะเป็นด่านแรกก่อนเข้าสู่มดลูก สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาเรื่องช่องคลอดแห้ง ในวัยหมดประจำเดือนหรือบางคนยังไม่หมดประจำเดือนแต่พบปัญหาช่องคอลดแห้งแล้ว มาดูกันว่าช่องคลอดแห้งคืออะไร และมีวิธีการรักษาหรือไม่ ติดตามอ่านกันเลยค่ะ

ช่องคลอดแห้ง (Vaginal dryness) ตามปกติบริเวณช่องคลอดจะมีสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นมูกใส ๆ เหนียว ๆ หนืด ๆ โดยเฉพาะในช่วงตกไข่ด้วยแล้ว มูกดังกล่าวนี้จะยิ่งมีความใส และเหนียวหนืดมากยิ่งขึ้น ใช้ เจลหล่อลื่นช่องคลอด เจลหล่อลื่นอันตราย หรือไม่  เพื่อจะเพิ่มความหล่อลื่นให้กับช่องคลอด มูกตามธรรมชาตินั้นจะช่วยให้เชื้ออสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้นและลดการเสียดสีไม่ให้อวัยวะเพศทั้งสองฝ่ายเกิดการถลอกหรือฉีกขาดนั่นเอง

ช่องคลอดแห้ง ทำอย่างไรดี

อาการของช่องคลอดแห้ง

ตามปกติช่องคลอดจะมีสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ  แต่สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาช่องคลอดแห้งเมื่อไม่มีสารหล่อลื่นหรือมูกตามธรรมชาติทำให้ช่องคลอดแห้ง  ทำให้เกิดอาการคัน  แสบ  และระคายเคือง  โดยไม่มีอาการตกขาว  บางคนช่องคลอดแห้งมากจนเลือดออกก็มี  ส่งผลให้ติดเชื้อในช่องคลอดได้ง่าย  เพราะเมื่อเวลามีเพศสัมพันธ์จะไม่มีสารหล่อลื่นไหลออกมา  เมื่อมีการสอดใส่อวัยวะเพศจึงเกิดการเสียดสีทำให้ช่องคอลดถลอกเป็นแผล  ทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย

ช่อง คลอด แห้ง ทำ อย่าง ไร ดี

ใครบ้างมีโอกาสเป็นช่องคลอดแห้ง

ตามปกติปัญหาช่องคลอดแห้งมักจะเกิดในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยใกล้หมดประจำเดือน  วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง  เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่เป็นฮอร์โมนสำคัญของเพศหญิงลดลง  ทำให้ประจำเดือนขาดหายไป และส่งผลกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของร่างกาย  เช่น  อาการร้อนวูบวาบ (Hot flashed) เหงื่อออกตอนกลางคืน  ใจสั่น  หงุดหงิด ความต้องการทางเพศลดลง  รวมถึงปัญหาช่องคลอดแห้ง  สำหับสาว ๆ ที่ยังมีประจำเดือนมาตามปกติ  แต่ประสบปัญหาภาวะช่องคลอดแห้ง  ต้องปรึกษาแพทย์เพราะเกิดความปิดปกติขึ้นในช่องคลอดอย่างแน่นอน  ซึ่งแพทย์ต้องทำการวินิจฉัยต่อไป

เรื่องผู้หญิง ๆ ช่องคลอดแห้งเป็นอย่างไร

ประจำเดือนหมดช้าหรือเร็วอย่างไหนปลอดภัยกว่ากัน

สำหรับผู้หญิงที่หมดประจำเดือน  หรือเริ่มขาดฮอร์โมนเพศหญิง ก่อนอายุ 40 ปี ถือว่าผิดปกติ ควรหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร  เพราะหมายถึงคุณอาจมีโรคแฝงอยู่ก็  เช่น  โรค SLE หรือโรคภูมิแพ้ตัวเองซึ่งจะต้องมีการรักษาเฉพาะโรค เป็นต้น ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนซึ่งหากคุณไม่อยู่ในข่ายวัยหมดประจำเดือนควรปรึกษาสูติ-นรีแพทย์โดยด่วนเพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป

ทำอย่างไรดีเมื่อช่องคลอดแห้ง

ช่องคลอดแห้งสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

ผู้หญิงในวัยใกล้หมดประจำเดือนหรือวัยหมดประจำเดือน  ความต้องการทางเพศจะลดลงตามธรรมชาติ  เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงลดลง ยิ่งมีปัญหาเรื่องช่องคลอดแห้งจะยิ่งทำให้เกิดอาการแสบร้อนเวลามีเพศสัมพันธ์  จึงทำให้หญิงในวัยนี้ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์ หรือพยายามหลีกเลี่ยง  แต่เพศชายความต้องการทางเพศอยู่เสมอ  อาจทำเกิดปัญหาชีวิตคู่ได้  วิธีการช่วยลดอาการเจ็บแสบเนื่องจากช่องคลอดแห้งเวลามีเพศสัมพันธ์  ทำได้ดังนี้

อยากมีเพศสัมพันธ์ แต่ช่องคลอดแห้ง ทำอย่างไรดี

1.ใช้สารหล่อลื่น เช่น  ยาหล่อลื่น K-Y Gel ทาที่ปากช่องคลอดก่อนมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ช่องคลอดลื่น  ไม่แสบ  ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกเพราะไม่ค่อยมีผลข้างเคียงจากยา  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย

 

2.ครีมที่เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน  หากใช้เจลหล่อลื่น K-Y Gel แล้ว  แต่ยังมีอากรแสบช่องคลอดอยู่ ควรปรึกษาสูติ-นรีแพทย์  ซึ่งแพทย์มักจะสั่งครีมที่เป็นฮอร์โมนมาทาในช่องคลอด  ครีมจะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ในช่องคอลดให้หนาขึ้น  มีความยืดหยุ่นมากขึ้น   มีมูกมาหล่อลื่นมากขึ้น ทำให้ไม่เกิดอาการแสบขณะมีเพศสัมพันธ์  แต่การใช้ยาชนิดนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

 

3.สิ่งสำคัญที่สุด คือ  การดูแลทางด้านจิตใจ  ควรมีการพูดคุยกันตรง ๆ กับสามีเพื่อทำความเข้าใจระหว่างกัน  ฝ่ายชายควรแสดงความรัก  และเข้าใจภรรยาทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความสุขเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ จะทำให้ไม่เกิดปัญหาชีวิตคู่ตามมา

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดช่องคลอดแห้ง

1.ติดเชื้อในช่องคลอด อาจจะเป็นเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียก็ได้ แม้จะมีตกขาวออกมาแต่เยื่อบุช่องคลอดมักจะแห้งและมีอาการแสบ คัน และอักเสบตามมา

 

2.ยาบางประเภท เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคภูมิแพ้ และยารักษาโรคมะเร็ง

 

3.โรค Sjogren’s syndrome โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อต้านตัวเอง ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการตาแห้ง ปากแห้ง และช่องคลอดแห้ง

 

4.การสวนล้างช่องคลอด การทำเช่นนี้ส่งผลให้ช่องคลอดแห้งและเสียความเป็นกรดตามธรรมชาติไป

 

5.ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เซลล์ผนังช่องคลอดบางลง ขาดการยืดหยุ่น และเปราะบาง ซึ่งระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือได้รับเคมีบำบัด หรือฉายรังสีบริเวณเชิงกรานทำให้รังไข่ทำงานลดลง รวมถึงภาวะหลังคลอดและการให้นมลูกที่ทำให้ร่างกายไม่ตกไข่ตามธรรมชาติ

 

ทำอย่างไรเมื่อช่องคลอดแห้ง 

1.ใช้สารหล่อลื่น เจลหล่อลื่นช่องคลอด ที่มีน้ำเป็นตัวละลายพื้นฐาน (water – base lubricants) เช่น K-Y Gel ใส่ในช่องคลอดสามารถยู่ได้นานหลายชั่วโมงดังนั้นก่อนการมีเพศสัมพันธ์ควรใช้สารหล่อลื่นทาที่ปากช่องคลอดหรืออวัยวะเพศชาย จะช่วยลดการเสียดสีที่อาจจะทำให้เจ็บได้ และสารหล่อลื่นชนิดนี้ไม่ทำลายประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย

 

2.สารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer : polycarbophil – base varginal moisturizer) เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้นสำหรับช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้นได้นานมากกว่า 1 วัน ต่อการใช้เพียงครั้งเดียว

 

3.หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด ไม่ว่าจะสบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำส้ม vinegar โยเกิร์ต หรือสาร Feminine Hygiene ใด ๆ เพราะช่องคลอดจะมีการดูแลทำความสะอาดตัวมันเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังนั้นการทำความสะอาดแต่ภายนอกก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องสวนล้าง เพราะจะทำให้สูญเสียความเป็นกรดตามธรรมชาติ ส่งผลให้ช่องคลอดแห้งและระคายเคือง อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ตายไปเป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราได้

 

4.เพิ่มสารอาหารจากธรรมชาติ ได้แก่สาร Isoflavones ซึ่งเป็นสารเอสโตรเจนจากพืชที่สามารถพบได้ในถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ที่นิยมรับประทานกันมากที่สุด คือ น้ำเต้าหู้ แต่อย่างไรก็ตามเอสโตรเจนจากพืชย่อมมีความเข้มข้นน้อยกว่าเอสโตรเจนในร่างกาย

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฮอร์โมนทดแทน

ฮอร์โมนทดแทน คือ การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Bio-identical Hormone) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนในร่างกายเพศหญิง การรับประทานฮอร์โมนนั้นต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์เป็นราย ๆ ไป การใช้ฮอร์โมนทดแทนนั้น เมื่อตรวจพบว่า ขาดฮอร์โมนชนิดนี้ขาดในระดับกลางหรือมาก ถ้ามีระดับเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจจะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทดแทน ฮอร์โมนทดแทนจะพบได้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น แบบเจลครีมทาผิวหนัง ครีมทาช่องคลอด หรือแบบแผ่นแปะ เป็นต้น ดังนั้น ไม่ควรซื้อฮอร์โมนมารับประทานเองเพราะอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://health.kapook.com

https://haamor.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สวนล้างช่องคลอด : อนามัยหรืออันตราย

ข้อห้าม 7 อย่างที่คุณไม่ควรทำกับช่องคลอด