ลมพิษในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร ? เด็กเล็กเป็นลมพิษเกิดได้จาก 6 สาเหตุนี้

อาการแพ้ที่เกิดกับผิวหนังอย่างเฉียบพลันอย่าง "ลมพิษ" สร้างความรำคาญให้คนที่เป็นไม่น้อย บางคนเกิดผื่นลมพิษขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงพยายามหาทางป้องกัน แต่ก่อนจะป้องกันได้ ก็คงต้องรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษเสียก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดโรคลมพิษ ติดตามอ่าน

โรค ลมพิษในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ โรคลมพิษของลูก หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกที่ผิวหนังแพ้ง่าย  ลมพิษ ใน เด็ก อาจทำให้เกิดลมพิษแบบเฉียบพลัน  สิ่งสำคัญควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดลมพิษ  มาดู 6 สาเหตุหลักกระตุ้นให้เกิดโรคลมพิษ ลมพิษในเด็ก ว่ามีอะไรบ้าง

 

โรคลมพิษ ลมพิษ ในเด็ก เป็นลมพิษตอนกลางคืน คืออะไร

รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์  คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี  ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคลมพิษ สรุปได้ดังนี้

1. ลมพิษ (urticaria) เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยร้อยละ 10 – 15 ของประชากร จะเคยเป็นผื่นลมพิษอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต

2. ผื่นลมพิษเกิดจากปฏิกิริยาที่สารฮีสตามีน ออกมามีฤทธิ์ต่อผิวหนังทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และมีของเหลวรั่วซึมออกมานอกหลอดเลือด ทำให้เกิดการบวมน้ำของชั้นผิวหนังและใต้ผิวหนัง มองเห็นเป็นลักษณะผื่น เป็นวง ๆ ขอบกลมบ้างหยักบ้าง ใหญ่บ้างเล็กบ้าง เป็นปื้นนูนแดง และมีอาการคันมาก

3. อาการลมพิษมักเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว และมีอาการบวมของหนังตา ปาก แก้ม ใบหู หนังศีรษะ หรือผิวหนังบวมเป็นตุ่มนูนๆ ร่วมด้วย

4. ผื่นลมพิษแต่ละจุดมักหายได้เองภายใน 2–3 ชั่วโมง หรือมักอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แล้วย้ายที่เกิดผื่นใหม่

 

ลมพิษ ใน เด็ก

โรคลมพิษของลูก ลมพิษในเด็ก สาเหตุของโรคลมพิษที่ควรระวัง 

1. ลมพิษในเด็ก ลมพิษจากแสงแดด

เวลาที่เจ้าหนูออกไวิ่งเล่นท่ามกลางแสงแดด   หากลูกของคุณแพ้แสงแดด สามารถเกิดอาการลมพิษได้ทันที  โดยมีผื่นลมพิษขึ้นนอกร่มผ้า แค่โดนแสงแดดเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดลมพิษได้   ความเข้มข้นของแสงก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะยิ่งโดนแดดแรงลมพิษก็จะยิ่งขึ้นตามไปด้วย

 

2. ลมพิษจากอาหาร   

พบมากในเด็กเล็ก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกของคุณพ่อคุณแม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หวัดภูมิแพ้ หืด ลมพิษ ผื่นคัน  หรือตัวคุณพ่อคุณแม่เอง  เป็นโรคแพ้อาหาร ซึ่งโรคแพ้อาหารมักเกิดจากการแพ้สารโปรตีนในอาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ นมวัว ไข่ ปลา กุ้ง หอย ปู ข้าวสาลี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอลด์  อาการลมพิษผื่นคันจะลดลงเมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ และมักจะหายดีเมื่ออายุประมาณ 10 ขวบ

ลมพิษ ใน เด็ก

3. ลมพิษจากยา 

ความจริงแล้วยาทุกชนิดมีโอกาสที่จะทำให้เกิดโรคลมพิษได้ทั้งนั้น ดังนั้น การให้เด็กทานยา ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง   ยาที่อาจก่อให้เกิดโรคลมพิษ ได้แก่   ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดไข้ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมียาบางชนิดที่อาจจะนึกไม่ถึงว่าเป็นสาเหตุของลมพิษได้   คือ   ยาวิตามิน ยาถ่าย ยาระบาย ยาหยอดหู ยาหยอดตา  เป็นต้น  สิ่งสำคัญไม่ควรซื้อยามามารับประทานเอง ควรพาลูกไปพบคุณหมอจะดีที่สุด 

 

4. ลมพิษจากการแพ้เหงื่อ

สำหรับเด็ก ๆ อาจจะไปวิ่งเล่นซุกซน   เมื่อเหงื่อออกจึงเกิดลมพิษขึ้นมาเฉียบพลัน  ลมพิษชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น  และมีเหงื่อออก มักพบหลังจากการออกกำลังกายหรือแม้แต่การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นก็สามารถเป็นได้เช่นกัน

 

5. ลมพิษจากอากาศ

  • ลมพิษจากการแพ้อากาศเย็น  โรคลมพิษชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังสัมผัสกับน้ำแข็งหรืออากาศที่หนาวเย็น  ขณะอาบน้ำหรือว่ายน้ำในน้ำเย็น   ผิวหนังจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพราะอาจส่งผลให้ผิวหนังไร้ความรู้สึกได้
  • ลมพิษจากการแพ้แดด ลมพิษชนิดนี้เกิดในบริเวณที่ได้รับแสงแดดโดยตรง

 

6. ลมพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย 

สาเหตุของลมพิษชนิดนี้มักจะพบในเด็ก ๆ ได้บ่อย เพราะบางทีไปวิ่งเล่นตามพุ่มไม้ หรือสถานที่มีมดแมลงต่าง ๆ  เมื่อแมลงกัดมันจะปล่อยสารพิษเข้าผิวหนังเด็กบางคนจะมีอาการแพ้ตั้งแต่แพ้อย่างอ่อน  คือ  มีอาการคัน บวมและแดง เด็กบางคนอาจจะเกิดภูมิแพ้หลังจากถูกกัดหลายวัน   มีอาการปวดข้อ คัน สำหรับบางคนมีอาการรุนแรงอาจจะมีอาการบวมของทั้งแขนหรือขา อาการบวมเป็นมากหลังถูกกัดไปแล้ว 48 ชม. และผื่นอาจจะอยู่ได้ 7-10 วัน

ลมพิษ ใน เด็ก

 

สาเหตุโรคลมพิษ

โรคลมพิษขอ งลูกเกิดได้จาก ลมพิษ ใน เด็ก

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ลมพิษชนิดฉับพลัน  คือ โรคลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางคนอาจมีอาการรุนแรง  ลมพิษชนิดนี้หายไปภายใน 6 สัปดาห์

2. ลมพิษชนิดเรื้อรัง  คือ โรคลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่รุนแรง ผื่นจะขึ้นๆ ยุบๆ เป็นอยู่นานเกิน 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ได้จึงมีอาการผื่นลมพิษเป็น ๆ หาย ๆ นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

 

รักษาลมพิษในเด็กได้อย่างไร

1. ลมพิษเกิดจากหลายสาเหตุ จึงมีความจำเป็นต้องหาสาเหตุด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ถ้าแพ้อาหาร ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ ถ้าเป็นจากโรคร้ายต่าง ๆ ก็ต้องทำการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุด้วย

2. การรักษาลมพิษ แนะนำให้ใช้ยาต้านฮีสตามีน ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม และเหมาะกับลมพิษเฉียบพลัน

3. ในกรณีลมพิษเรื้อรัง ต้องใช้ยาต้านฮีสตามีนเป็นระยะเวลานาน และควรเลือกใช้ยาที่ไม่ง่วง สำหรับยา สเตียรอยด์และยากดภูมิคุ้มกัน เป็นยาที่มีผลข้างเคียงมาก ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในทุกราย และมักใช้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยาต่างๆ

4. สำหรับกรณีที่มีอาการรุนแรง ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม ทั้งขนาดและระยะเวลาในการใช้ยา

 

วิธีป้องกันโรคลมพิษ ลมพิษในเด็ก ทำอย่างไร? 

โรคลมพิษไม่มีวิธีการป้องกัน  แต่สิ่งที่ดีที่สุด คือ  ปฏิบัติตนในการหลีกเลี่ยงลมพิษโดยตรง  โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่เกิดลมพิษได้ง่าย ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจกระตุ้นอาการคัน  หากเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ควรจดจำชื่อของยาและบันทึกรายการอาหารที่ลูกรับประทานแล้วเกิดอาการแพ้ไว้ในกรณีฉุกเฉิน

 

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับลมพิษ ลมพิษ ในเด็ก

  • ลมพิษในเด็ก 

ลมพิษในเด็ก มีอาการเช่นเดียวกับลมพิษที่เกิดในผู้ใหญ่ เพียงแต่การเกิดลมพิษในเด็กนั้น อาการคันอาจจะทำให้เด็กทนไม่ได้ และทำให้เด็กร้องไห้งอแง ซึ่งวิธีการรักษาและบรรเทาอาการนั้นก็ใช้วิธีเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ควรใช้อยู่ในดุลยพินิจของคุณหมอจะดีกว่าค่ะ

  • ลมพิษในคนท้อง

สำหรับว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น เวลาที่เกิดลมพิษก็อาจจะกังวลว่าอาการลมพิษอาจจะส่งผลต่อเด็กในท้องได้ ซึ่งนายแพทย์ธีระศักดิ์ ธำรงธีระกุล แพทย์ประจำศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช โรงพยาบาลวิภาวดี ได้ให้คำตอบเรื่องนี้ไว้ว่าลมพิษนั้นเป็นเพียงแค่อาการแพ้ธรรมดาซึ่งจะไม่มีอันตรายต่อเด็กแต่อย่างใดค่ะ

ข้อควรระวัง  :  หากโรคลมพิษที่เกิดขึ้นนั้นมีอาการเริ่มรุนแรงขึ้น  ปวด บวม  บริเวณอวัยวะต่าง ๆ ต้องรีบรึกษาคุณหมอโดยด่วน      มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายได้

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลูกเป็นผื่นลมพิษบ่อยควรทำอย่างไร? โดยผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก สาเหตุการเกิดโรคผิวหนัง อย่ารอจนเรื้อรัง

10 อันดับ ยาทาแก้คัน ยาทาแก้ผื่นคัน แบรนด์ไหนดีกับผิวเด็กทารก

ที่มา : 1, 2, 3