งานวิจัยเผย ฝาแฝดเสี่ยงเป็นมะเร็งด้วยกันทั้งคู่
วารสารแพทยสมาคมอเมริกา (JAMA) ฉบับวันที่ 5 มกราคม 2559 ตีพิมพ์งานวิจัยชิ้นใหม่เรื่อง พันธุกรรมมะเร็งและความเสี่ยงร่วมของคู่แฝดแถบสแกดิเนเวีย เพื่อศึกษาว่าเมื่อแฝดคนหนึ่งเป็นโรคมะเร็ง แฝดอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งตามไปด้วยหรือไม่ ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยเผย ความเสี่ยง ฝาแฝดเสี่ยงเป็นมะเร็งด้วยกันทั้งคู่ ทั้งมะเร็งทั่วไป และมะเร็งบางชนิดโดยเฉพาะ ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนัง
งานวิจัยชิ้นนี้น่าสนใจและมีความสำคัญมาก เพราะเป็นงานวิจัยระดับประชากรและติดตามผลระยะยาว โดยศึกษาประชากรฝาแฝดที่ลงทะเบียนในประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน จำนวน 203,691 คน และติดตามผลเมื่ออายุเฉลี่ย 32 ปีผ่านทะเบียนผู้ป่วยโรคมะเร็งระหว่างปี 1943 ถึง 2010 งานวิจัยเผย ความเสี่ยง ฝาแฝดเสี่ยงเป็นมะเร็งด้วยกันทั้งคู่
มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ผ่านทางระบบเลือด หรือระบบทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดของโรค และชนิดของเซลล์มะเร็ง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง
1. ปัจจัยภายนอก เช่น การติดเชื้อบางชนิด
-
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับมากขึ้น
- การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ในกรณีที่ชอบรับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี
- การติดเชื้อ HPV มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูกและมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น
- ผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับมากขึ้น
- ผู้ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้น
- ผู้ที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งช่องปาก มะเร็งปอดมากขึ้น
- สารอะฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะในถั่ว เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
- สารก่อมะเร็งในอาหารจำพวกปิ้ง ย่าง ทอด โดยเฉพาะเนื้อที่ย่างหรือปิ้งจนไหม้เกรียม เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิด
- สารไฮโดรคาร์บอน เป็นสารเคมีที่ใช้ในการถนอมอาหารอย่างไนโตรซามิน ซึ่งเป็นสีย้อมผ้าที่นำมาใช้เป็นสีผสมอาหาร มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิด
2. ปัจจัยภายใน
-
- เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกายจากสารพันธุกรรม เช่น มะเร็งอัณฑะ กลุ่มโรคมะเร็งเต้านม รังไข่
นักวิทยาศาสตร์พบว่าพี่น้องฝาแฝดที่คนใดคนหนึ่งเกิดเป็นมะเร็ง จะทำให้คู่ฝาแฝดอีกคนหนึ่งมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งแบบใดแบบหนึ่งอย่างมาก ในการศึกษาโรคมะเร็งทั้ง 23 ชนิด ได้พบว่าพี่น้องคู่ฝาแฝดคนใดคนหนึ่งป่วยเป็นมะเร็งได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่เต้านมและต่อมลูกหมาก รวมทั้งมะเร็งที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกัน เช่น มะเร็งของอัณฑะ ศีรษะ คอ รังไข่ และกระเพาะอาหารด้วย
การศึกษายังพบว่าสำหรับคู่ฝาแฝดที่เคราะห์ร้าย ป่วยเป็นมะเร็งด้วยกันทั้งคู่ อาจจะเป็นคนละชนิดกันก็เป็นได้ ทั้งนี้ได้จากการศึกษาคู่แฝดในเดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ไม่ต่ำกว่า 2 แสนคู่
ผลการวิจัยที่สำคัญ ได้แก่
- ฝาแฝดมีโอกาสเป็นมะเร็ง 32%
- ถ้าแฝดคนหนึ่งเป็นมะเร็ง แฝดอีกคนจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงขึ้น โดยแฝดแท้ (ไข่ใบเดียวกัน) เสี่ยงสูงถึง 46% ในขณะที่แฝดไม่แท้ (ไข่คนละใบ) เสี่ยง 37% ซึ่งมากกว่าค่าความเสี่ยงปกติเล็กน้อย
- มีฝาแฝดที่เป็นมะเร็งทั้งคู่ 3,316 คู่ ในจำนวนนี้พบว่าแฝดแท้ 38% และแฝดไม่แท้ 26% เป็นมะเร็งชนิดเดียวกันทั้งคู่
- มะเร็งอัณฑะเป็นมะเร็งชนิดที่ฝาแฝดมีโอกาสเป็นเหมือนกันมากที่สุด ซึ่งทั้งแฝดแท้และแฝดไม่แท้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาก (เพิ่มขึ้น 28% และ 12% ตามลำดับ)
- ฝาแฝดมีพันธุกรรมมะเร็งทั่วไป 33% มะเร็งที่มีโอกาสถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูง ได้แก่ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งรังไข่ มะเร็งไต มะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูก ตามลำดับ
ข้อมูลนี้จะช่วยให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญเข้าใจเรื่องความเสี่ยงทางพันธุกรรมต่อโรคมะเร็งมากขึ้น สามารถให้ความรู้และคำปรึกษาเรื่องโรคมะเร็งแก่คนไข้ ครอบครัวคนไข้ และประชาชนทั่วไปได้ดีขึ้น
แต่อย่าลืมนะคะว่า นอกจากกรรมพันธุ์แล้ว พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตก็มีผลอย่างมากต่อสุขภาพของเรา ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็ง ควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของทอด และเนื้อสัตว์แปรรูป หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ วิธีง่าย ๆ อย่างนี้ก็ช่วยป้องกันมะเร็งได้เช่นกันค่ะ
The Asianparent Thailand
เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : theindusparent.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
มาตุนอาหารต้านมะเร็งสำหรับเด็ก 15 ชนิดนี้กันเถอะ
อาหารเสี่ยงมะเร็ง 10 อย่างที่เราคาดไม่ถึง
10 อาหารที่ไม่ควรอุ่นในไมโครเวฟ อุ่นแล้วกลายเป็นสารก่อมะเร็ง