X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สมองเสื่อมจากการเสพติดจอ

บทความ 3 นาที
สมองเสื่อมจากการเสพติดจอสมองเสื่อมจากการเสพติดจอ

หลายครั้งพ่อแม่ใช้หน้าจอเครื่องมือสื่อสารเป็นตัวหยุดความไม่อยู่นิ่งของเด็ก แต่การปล่อยให้เด็กซึมซับสื่อจากโทรทัศน์ แทบเล็ต มือถือมาก ๆ ก็เป็นการส่งเสริม “ภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอ” หรือโรคที่ภาษาแพทย์เรียกว่า ดิจิตอล ดีเมนเทีย (Digital Dementia)

สมองเสื่อมจากการเสพติดจอ

สมองเสื่อมจากการเสพติดจอ

บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด โดยผลิตภัณฑ์บรีส เจ้าของแนวคิด “กล้าเลอะ ยิ่งเยอะประสบการณ์” ผลักดันโครงการต่างๆ ตามแนวคิดนี้มาตลอด 13 ปี เพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นและลงมือทำเพื่อสร้างประสบการณ์ชีวิตโดยตรง  ทั้งนี้ บรีสได้รวบรวมข้อมูลวิชาการสำคัญจากการสัมภาษณ์แพทย์ด้านพัฒนาการเด็กและนักวิชาการด้านการศึกษาเด็กปฐมวัย  และพบข้อมูลน่าสนใจที่ตรงกันจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสองสาขาว่า อาการเสพติดจอของเด็ก (สมาร์ทโฟน  แท็ปเล็ต  คอมพิวเตอร์  โทรทัศน์) มีผลต่อพัฒนาการตามวัยของพวกเขาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ  อารมณ์ สังคมและสติปัญญา  และการเล่นกลางแจ้งหรือทำกิจกรรมนอกบ้านบ่อย ๆ จะเป็นการฝึกเด็กให้มีทักษะทางสังคมที่ดี และช่วยให้เด็กห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอได้  

นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล กล่าวว่า มีงานวิจัยจากเยอรมนีและเกาหลีที่ให้ข้อมูลตรงกันว่าปัจจุบันเด็กทั่วโลกกำลังประสบภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอ ผลคือสมองซีกขวาซึ่งทำงานเกี่ยวกับความจำ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสังคมทำงานน้อยลงเมื่อเด็กๆ หมกมุ่นและใช้เวลาอยู่กับหน้าจอของบรรดาเครื่องมือสื่อสารมากเกินไปในแต่ละวัน  ประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาต่างๆ ของเด็กก็ลดลงตามไปด้วย

เด็กควรได้เล่นกลางแจ้งบ่อย ๆ

เด็กควรได้เล่นกลางแจ้งบ่อย ๆ

พูดง่าย ๆ คือเด็กจะมีอีคิวต่ำลง ไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์เพื่อเรียนรู้ความรู้สึกความเข้าใจในตัวเองและผู้อื่น มีผลต่อการเรียนและการทำงานเป็นทีมเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น และผลกระทบรุนแรงที่สุดคือ การใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่มากขึ้น ไม่มีอุดมการณ์หรือแนวความคิดร่วมทางสังคม

สำหรับประเทศไทยแม้ยังไม่มีงานวิจัยเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับอาการดิจิตอล ดีเมนเทียในเด็ก แต่คุณหมอพบว่าปัจจุบันพ่อแม่จำนวนมากกำลังประสบปัญหาดังกล่าวจากพัฒนาการของลูกที่ไม่เป็นไปตามวัย และหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวก็คือการใช้เครื่องมือสื่อสารเป็นพี่เลี้ยงลูก

วิธีป้องกันและแก้ไข คือ ปล่อยให้เด็ก ๆ วิ่งเล่นซุกซนตามประสา หรือสนับสนุนให้พวกเขาไปทำกิจกรรมนอกบ้านหลังเลิกเรียน หรือให้เล่นกีฬากลางแจ้งที่ชอบ เพราะโดยธรรมชาติแล้วฮอร์โมนเอนโดฟินหรือสารสร้างความสุขในร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อมีการออกกำลังกายต่อเนื่องนาน 20-30 นาที   เด็ก ๆ ที่ออกกำลังด้วยการวิ่งเล่นไล่จับ ขุดดินเล่นเลอะโคลน คลุกฝุ่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน  จะมีสีหน้าท่าทางเปี่ยมสุขจากความสนุกที่ได้รับ แบ่งเวลาทำเช่นนี้กับลูกทุกวันถือเป็นวิธีการง่ายที่สุด และควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อทำให้เด็ก ๆ ติดสุขจากการออกกำลังกายแทนการติดหนึบอยู่หน้าจอ  ฉะนั้น แรงผลักดันสำคัญจึงต้องมาจากพ่อแม่ เพราะต้องไม่ลืมว่าการเสพติดจอของเด็กก็เกิดมาจากพฤติกรรมของพ่อแม่นั่นเอง

อย่าให้ลูกติดทีวี มือถือ แทบเล็ต

สมรรถนะ 7 ด้านของเด็กไทยต่ำกว่ามาตรฐาน

ดร.วรนาท  รักสกุลไทย  หนึ่งในนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเด็กปฐมวัยและเป็นผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กมาอย่างยาวนาน ได้ให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้ใหญ่หลายคนรวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองถึงกับอึ้งไปตามๆ กัน เมื่อมีรายงานวิจัยระบุว่าสมรรถนะของเด็กไทย 7 ด้านต่ำกว่ามาตรฐานไม่ว่าจะเป็นทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะด้านสังคม  ทักษะด้านอารมณ์   ทักษะด้านการคิดและสติปัญญา ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร  ทักษะด้านจริยธรม และทักษะด้านการสร้างสรรค์

จากผลวิจัยนี้ได้ตอกย้ำชัดเจนว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รูปแบบการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ยุคใหม่ได้ใช้อุปกรณ์สื่อสารหลากหลายชนิดเข้ามามีส่วนให้เด็กได้แตะต้องสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่พ่อแม่แม้จะมีความตระหนักแต่อาจไม่ระมัดระวัง

“โดยทั่วไปอัตราเด็กอนุบาลที่มีอาการสมาธิสั้นในแต่ละห้องเรียนจะมีอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 5 แต่ตอนนี้อัตรามันเพิ่มเป็นร้อยละ 10-15 มากขึ้นจนน่าเป็นห่วง อาการสมาธิสั้นของเด็กมีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งเร้ารอบตัวเขาที่กระทบประสาทสัมผัสทางตาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็นจอประเภทไหน ล้วนไม่ได้ส่งเสริมการเติบโตที่สมบูรณ์ของเด็กๆ” ดร.วรนาท กล่าว และระบุว่าพ่อแม่ควรส่งเสริมสมรรถนะรอบด้านและพัฒนาการตามวัยของเด็กด้วยการสนับสนุนให้เด็ก ๆ ออกไปวิ่งเล่นกลางแจ้ง ได้ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมนอกบ้านให้มากขึ้น

ส่งเสริมให้ลูกติดสุขกับการเล่น การออกกำลังกาย ดีกว่าให้พวกเขาติดหนึบอยู่หน้าจอ

พ่อแม่อย่า ‘กลัวเลอะ’ แต่มาชวนลูกๆ ให้ ‘กล้าเลอะ’ กันดีกว่า

ที่มา: https://www.dirtisgoodclub.com/

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • สมองเสื่อมจากการเสพติดจอ
แชร์ :
  • 5 วิธีแก้ปัญหา ลูกติดโทรทัศน์

    5 วิธีแก้ปัญหา ลูกติดโทรทัศน์

  • 6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

    6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

app info
get app banner
  • 5 วิธีแก้ปัญหา ลูกติดโทรทัศน์

    5 วิธีแก้ปัญหา ลูกติดโทรทัศน์

  • 6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

    6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

    แพทย์เตือน! เลี้ยงลูกด้วยนมข้นหวานอันตรายถึงชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ