พัฒนาการทารก 1 เดือน เสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน
พัฒนาการทารก 1 เดือน แม่ๆ รู้ไหมว่าลูกน้อยในวัยนี้จะมีพัฒนาการอะไรบ้าง สำหรับแม่ๆ มือใหม่กว่าจะปรับตัวให้เข้ากับลูกได้เผลอแป็ปเดียวก็ผ่านไปเป็นอาทิตย์ บางคนก็ใช้เวลาเกือบเดือน ระหว่างที่คุณแม่มีการปรับจูนให้เข้ากับลูกนี้ รู้ไหมว่าทารกแรกเกิดมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าลูกเรามีพัฒนาการแบบไหนและปกติไหม มาดูเช็คกันเลยค่ะ
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารก 1 เดือน
ทารก1เดือน ในช่วงต้นของชีวิต นอกจากร่างกายที่ต้องมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลาก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก การสัมผัส และปฏิกิริยาตอบสนอง มาดูกันสิว่าลูกน้อยต้องมีพัฒนาการอย่างไร เราจะเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน ได้อย่างไร ให้ครบครัน เรามีวิธีการมาบอก
1. สายตา
หลังจากที่หนูน้อยคลอดออกมาจากท้องแม่ ลูกน้อยแทบจะสามารถลืมตาได้ทันที เพียงแต่ว่าดวงตาของทารกจะยังไม่สามารถโฟกัสสิ่งต่างๆ ในระยะมากกว่าหนึ่งเมตรเท่าไหร่นัก แต่ลูกน้อยจะสามารถมองเห็นใบหน้าของคนเป็นพ่อเป็นแม่ได้ ในระยะจากหน้าอกของคนที่อุ้ม ดังนั้น ไม่แปลกใจเลยที่ทารกน้อยจะชอบจ้องมองหน้าในระยะนี้
2. การได้ยิน
รู้ไหมว่าทารกสามารถได้ยินเสียงต่างๆ รอบตัวตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ขณะที่แม่มีอายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ แต่จะมีการตอบสนองต่อเสียงของผู้หญิงมากกว่าเสียงของผู้ชาย เนื่องจากบ่อยครั้งที่ทารกในครรภ์จะได้ยินเสียงการพูดคุย ปลอบโยน หรือแม้แต่ร้องเพลงจากคุณแม่นั่นเอง นอกจากนี้ ยังทำให้ลูกน้อยรับลูกความรู้สึกของแม่จากน้ำเสียงนั่นได้อีกด้วย
3. กลิ่น
ไม่น่าเชื่อว่าทารกแรกเกิดจะมีจมูกที่ไวต่อกลิ่นมาก ทำให้เขาสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างของแม่และคนอื่นๆ ได้ด้วยกลิ่นของร่างกายที่แตกต่างกัน
4. สัมผัส
การสัมผัสเป็นอีกวิธีหนึ่งที่คนเราใช้ในการบ่งบอกความรู้สึก สำหรับเด็กทารกเล็กๆ แล้ว การสัมผัสด้วยการนวดเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของทารก แถมยังเป็นการช่วยความสัมพันธ์ระหว่างพ่อหรือแม่กับลูกด้วยนะคะ
5. ปฏิกิริยาตอบสนอง
ทารกมักเกิดมาคู่กับการตอบสนองที่เป็นส่วนสำคัญให้ชีวิตตัวเองอยู่รอด เด็กไม่รู้หรอกว่าต้องกินนมจากเต้ายังไง แต่เด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนองบางอย่าง เพียงแค่ลองวางลูกไว้บนตัวใกล้ ๆ กับหน้าอกสิ ลูกน้อยจะคืบคลานไปหาเต้านมด้วยตัวเขาเอง
ทักษะที่ลูกควรทำได้ : เมื่อนอนควํ่า ลูกน้อยสามารถยกศีรษะ และหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่งได้
อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ : กรุ๋งกริ๋ง
วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย วิธี เสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน :
- จัดให้ลูกน้อยอยู่ในท่านอนควํ่า คุณแม่เขย่าของเล่นที่มีเสียงตรงหน้าเด็ก ระยะห่างประมาณ 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด) เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วค่อยๆ เคลื่อนของเล่นมาทางด้านซ้าย เพื่อให้ลูกหันศีรษะมองตาม
- ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นกลับมาอยู่ที่เดิม
- ทําซํ้าอีกครั้งโดยเปลี่ยนให้เคลื่อนของเล่นมาทางด้านขวา
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : พัฒนาการสื่อสารเด็กทารก สังเกตสัญญาณต่าง ๆ ของลูกน้อย พัฒนาการสมวัย
พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษาของทารก 1 เดือน
คำว่าเด็กคือผ้าขาว คงใช้ได้กับเด็กทารกแรกเกิดจริง ๆ เพราะว่าความรู้ ข้อมูลต่าง ๆ บนโลก การจดจำ การแก้ไขปัญหา และกระบวนการตัดสินใจ ทั้งหมดนี้ลูกน้อยจะได้รับมาจากคนที่ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เรียกได้ว่า แทบจะถอดแบบกันมาเลยทีเดียว เพราะว่าลูกน้อยจะเฝ้ามองคุณอยู่ตลอดเวลา
ทักษะที่ลูกควรทำได้ : ลูกน้อยมีการสะดุ้งหรือเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อได้ยินเสียงพูดในระดับปกติ
วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย :
- จัดให้ลูกน้อยอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่เรียกชื่อหรือพูดคุยกับลูกน้อยจากด้านข้าง ทั้งข้างซ้ายและขวา โดยพูดเสียงดังปกติ
- หากลูกน้อยสะดุ้งหรือขยับตัวเมื่อได้ยินเสียงพูดคุยเสียง ให้คุณแม่ยิ้มและสัมผัสตัวลูก
- ถ้าลูกไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ให้พูดเสียงดังขึ้น โดยจัดท่าลูกเช่นเดียวกับข้อ 1 หากลูกสะดุ้ง หรือขยับตัวให้ลดเสียงลงอยู่ในระดับดังปกติ พร้อมกับสัมผัสตัวลูก
พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคมของทารก 1 เดือน
ทารกแรกเกิดมักจะชอบร้องไห้ ที่เด็กร้องไห้ไม่ใช่เพราะเบื่อ แต่ต้องการได้รับการเติมเต็มอะไรบางอย่าง เช่น หิว ร้อน ไม่สบาย เปียกแฉะ เป็นต้น ซึ่งการร้องไห้นี่เองเป็นวิธีที่ลูกน้อยใช้สื่อสารกับคุณและเป็นการขอความช่วยเหลือ เด็กวัยนี้จะสนุกสนานกับการมองใบหน้าของคนที่เลี้ยงดู และจะคอยฟังคุณพูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนและนุ่มนวล
ในด้านของพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ลูกน้อยจะเริ่มเรียนรู้ จดจำ ท่าทางและอารมณ์ที่แสดงออกมาจากคนที่เลี้ยงดูเขา หากพ่อแม่อยากให้ลูกเป็นเด็กแบบไหน ก็ต้องพยายามควบคุมตัวเองให้ดี ไม่ควรทะเลาะกันต่อหน้าเด็ก หรือพูดถ้อยคำที่ไม่สุภาพนะคะ
ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกน้อยสามารถมองจ้องหน้า ได้นาน 1-2 วินาที
วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย:
- จัดให้ลูกน้อยอยู่ในท่านอนหงาย หรืออุ้มให้หน้าคุณแม่อยู่ห่างจากลูกประมาณ 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด)
- สบตาและทําตาลักษณะต่าง ๆ เช่น ตาโต กะพริบตา เพื่อให้ลูกสนใจ
- พูดคุย ยิ้มเพื่อให้ลูกมองที่ปากแทนสลับกันไป
หมายเหตุ อาจทำขณะอาบนํ้าหรือแต่งตัวลูก หรืออุ้มให้ลูกหันหน้ามาทางคุณแม่ แล้วทำหน้าตา หรือส่งเสียงให้ลูกสนใจ เมื่อลูกมองตาให้ พูดคุยและยิ้มด้วย
สุดท้ายนี้อยากจะฝากคุณพ่อคุณแม่ว่า เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน บางคนเรียนรู้เร็ว บางคนเรียนรู้ได้ช้า หากคุณแม่ลองทดสอบดูแล้วว่าลูกเรายังไม่มีพัฒนาการตามนี้ อันดับแรกลองกระตุ้นลูกตามวิธีที่แนะนำก่อน หากลองกระตุ้นลูกแล้วไม่ได้ผล แนะนำให้ลองพาลูกน้อยไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาแนวทางพัฒนาทักษะของลูกให้เหมาะสมตามวัยนะคะ
ติดตามพัฒนาการทารกขวบปีแรก
- พัฒนาการทารก 1 – 12 เดือน พัฒนาการที่สำคัญของลูกน้อยแต่ละเดือน มีอะไรบ้าง?
- พัฒนาการทารก 1 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
- พัฒนาการทารก 2 เดือน เทคนิคสื่อสารกับลูก และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
- พัฒนาการทารก 3 เดือน สิ่งที่ต้องระวัง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
- พัฒนาการทารก 4 เดือน วิธีฝึกลูกพูด และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
- พัฒนาการทารก 5 เดือน ลูกเติบโตอย่างไรบ้าง วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย
- เจาะลึก! พัฒนาการทารก 6 เดือน ทักษะที่ลูกควรทำได้ และเทคนิคเสริมพัฒนาการ
- พัฒนาการทารก 7 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
- พัฒนาการเด็ก 8 เดือน เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 8 เดือน
- พัฒนาการเด็ก 9 เดือน เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 9 เดือน
- พัฒนาการทารก 10 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
- พัฒนาการทารก 11 เดือน ลูกเรียนรู้อะไร และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
- พัฒนาการทารก 12 เดือน ลูกเรียนรู้อะไรบ้าง และวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยตามวัย
*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว
The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชันรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชันที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 1 เดือน
เด็กแรกเกิด ก็เป็นงี้แหละ 20 อาการปกติของทารกแรกเกิดที่ไม่น่ากังวล
ทารกแรกเกิดนอนกี่ชั่วโมง ทารกต้องนอนมากแค่ไหน นอนกี่ชั่วโมง?
ที่มา: sg.theasianparent, คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี