วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่
คุณจะซาบซึ้งกับทุกอย่างในห้องคลอดยิ่งขึ้น ถ้าได้รับรู้เรื่องราวความมหัศจรรย์ของ วินาทีมหัศจรรย์ : ในวันที่แรก ที่ลูกผละจากมดลูกสู่อ้อมอกแม่
คุณรู้หรือไม่ ชั่วโมงแรกในชีวิตลูกน้อยสำคัญมากขนาดไหน
หากลองพิจารณาดี ๆ ชั่วโมงแรกเป็นครั้งแรกของหลายสิ่งหลายอย่างเลยทีเดียว
…เป็นครั้งแรกที่พ่อแม่ได้ชื่นชมและโอบกอดลูกน้อย
…เป็นครั้งแรกของลูกเช่นกันที่ได้รับรู้และได้รับสัมผัสจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด
ณ วินาทีนั้นเอง สายใยแห่งรักระหว่างพ่อแม่ลูกจะเริ่มก่อตัวขึ้นช้า ๆ และความผูกพันจะยิ่งแน่นแฟ้นมากขึ้นเมื่อลูกน้อยได้ลองลิ้มรสน้ำนมจากอกของแม่เป็นครั้งแรก
ใช่แล้วค่ะ มันเป็นชั่วโมงแรกแสนพิเศษที่ควรใส่ใจดูแลทุกนาทีให้คุ้มค่ามากที่สุด
พฤติกรรมตามสัญชาตญาณธรรมชาติ 1 ชั่วโมงกับอีก 10 นาทีแรกในชีวิตทารกนี้ได้รับการจดบันทึกอย่างละเอียดโดยทีมนักวิจัยจากสวีเดน ตีพิมพ์ในวารสาร Acta Paediatrica และเผยแพร่ผ่านเว็บ Science New
และนี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั่วโมงมหัศจรรย์นี้ค่ะ…
0 นาทีหลังคลอด : ทารกตัวจิ๋วแต่ตะโกนร้องเสียงดังคล้ายอยากประกาศก้องให้โลกรู้ว่าเขาคลอดออกมาแล้ว (การร้องไห้เป็นการระบายน้ำคร่ำออกจากปอด)
2 นาทีหลังคลอด : หลังร้องไห้แล้ว เจ้าตัวเล็กจะนอนนิ่งเงียบ ๆ บนอกหรือท้องแม่สักแป๊บนึง (แป๊บเดียวจริง ๆ ไม่เกิน 1 นาที) นักวิจัยลงความเห็นว่า ช่วงอึดใจความเงียบสงบนี้อาจเกิดจากสัญชาตญาณหลบซ่อนตัวจากผู้ล่า
2 นาทีครึ่งหลังคลอด : หนูน้อยเริ่มลืมตาขึ้นเป็นครั้งแรก อาจเริ่มขยับหัวหรือทำปากขมุบขมิบด้วย
8 นาทีหลังคลอด : น้องเริ่มกลอกตา ขยับแขนขามากขึ้น และเริ่มนึกอยากหม่ำอาหารมื้อแรกแล้วสิ สังเกตดูจากที่น้องมองหน้าแม่และมองต่ำลงมาที่หน้าอก พร้อมส่งร้องหงิง ๆ และขยับมือเข้าใกล้ริมฝีปาก
18 นาทีหลังคลอด : ครอกฟี้.. สงสัยเมื่อกี้ออกลีลามากไปหน่อย เจ้าตัวเล็กจึงขอพักเหนื่อยอีกแป๊บ
36 นาทีหลังคลอด : พอได้งีบก็มีแรงมากขึ้น แต่กองทัพยังต้องเดินด้วยท้อง เด็กน้อยจึงอาศัยประสาทรับรู้กลิ่นนำทางไปสู่อ้อมอกของแม่ เพื่อลิ้มอาหารแสนอร่อยมื้อแรกของหนู
62 นาทีหลังคลอด : หืม.. นี่อะไร อร่อยจัง ในที่สุดหนูน้อยก็ได้ปักหลักบนอกแม่และได้ดื่มน้ำนมเหลืองที่อุดมไปด้วยสารอาหารเข้มข้นรวมทั้งสารภูมิต้านทาน การดูดของลูกยังช่วยกระตุ้นให้มดลูกของแม่หดตัวกระชับเข้าที่เหมือนตอนก่อนท้องอีกด้วย
70 นาทีหลังคลอด : เมื่อกินอิ่มแปล้แล้ว ทารกน้อยก็ผล็อยหลับต่อ
ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยเจ้าของผลงานออกตัวว่า “เลขนาทีที่เขียนนี้เป็นค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากเด็กแรกเกิดจำนวนไม่มาก แน่นอนว่าระยะเวลาของเด็กแต่ละคนย่อมแตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย”
1000 วันแรกของชีวิตเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของเด็กทุกคน เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างแท้จริง โครงสร้างร่างกายทั้งส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว น้ำหนักตัวมีอัตราการเพิ่มสูงสุดถึง 22 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 1.6 เท่าของช่วงวัยรุ่น และที่สำคัญมากคือ เป็นช่วงเวลาที่สมองของทารกพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุด
โดยเริ่มตั้งแต่ 18 วันหลังจากการปฏิสนธิ ทารกในครรภ์จะเริ่มสร้างเซลล์สมอง มีการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาท และสารสื่อประสาทอย่างรวดเร็ว เมื่อมีอายุครบ 2 ปี สมองจะมีขนาดประมาณร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่ จ านวนเซลล์สมองมีมากถึงแสนล้านเซลล์ เส้นใยประสาทมีหน้าที่ช่วยในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง สารสื่อประสาทเป็นสารเคมี ที่ทำหน้าที่ส่งต่อข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้เกิดการทำงานของสมอง สร้างความทรงจำและการเรียนรู้ ส่งผลต่อความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ต่อไปในอนาคต
สิ่งที่ทีมนักวิจัยต้องการนำเสนอ คือ ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้เข้าใจว่าโดยธรรมชาติแล้วทารกต้องการอะไร และพ่อแม่ควรนำพาทารกน้อยแสนรักให้รู้จักกับโลกใบนี้อย่างไร
บันทึกนี้เป็นหลักฐานสนับสนุนให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการสัมผัสแนบชิด และช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกได้ดื่มนมจากอกแม่ตั้งแต่คลอดได้ไม่นาน
มีผลวิจัยยืนยันว่า ถ้าทารกได้เอาคางแนบใต้อกแม่หลังคลอดภายใน 1 ชั่วโมง จะมีแนวโน้มกินนมแม่ได้สำเร็จมากกว่าทารกที่ไม่ได้สัมผัสเช่นนั้น
อ่านเพิ่มเติม : ทำไมเด็กแรกเกิดต้องการนมแม่เร็วที่สุด?
รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ ๆ อย่าลืมเก็บแรงไว้ชื่นชมช่วงเวลาที่น่าประทับใจด้วยนะคะ แล้วความทรงจำครั้งแรกเหล่านี้จะตราตรึงอยู่ในใจคุณตลอดไปค่ะ
เเล้วทารกที่คลอดก่อนก่อนกำหนดละ
- อันดับแรก คือ “เรื่องการหายใจ” เพราะปอดถือเป็นอวัยวะสำคัญมาก เนื่องจากปอดของทารกเกิดก่อนกำหนด ขาดสารลดแรงตึงผิว ส่งผลให้ปอดขยายตัวไม่ดี ดังนั้น ทารกเกิดก่อนกำหนด จึงมีอาการหายใจลำบากหรือหายใจผิดปกติได้ ซึ่งการหายใจนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการมีชีวิตก็ว่าได้
- นอกจากนั้น คือ “สมอง” ของทารกเกิดก่อนกำหนดค่อนข้างเปราะบาง เส้นเลือดในสมองเปราะบาง โดยเฉพาะทารกที่น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม การดูแลทารกเหล่านี้จะต้องดูแลด้วยความนุ่มนวลรบกวนทารกให้น้อยที่สุด ติดตามดูสัญญาณชีพและออกซิเจนโดยใช้เครื่องมอนิเตอร์ติดตามตลอดเวลา พยายามรักษาระดับให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ คือ ดูแลทารกให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตของทารก โดยการให้นมทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ต้องให้ด้วยความระมัดระวัง ให้ทีละน้อยๆ จากนั้นค่อยๆเพิ่มในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากอวัยวะภายใน โดยเฉพาะลำไส้ยังไม่สมบูรณ์ การให้นมปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลกับลำไส้ได้ ทารกจึงต้องได้รับสารอาหารทางเส้นเลือดที่เหมาะสมร่วมด้วย
หวังว่าบทความนี้จะน่าสนใจสำหรับว่าที่คุณแม่ทุกคนนะคะ ใครคิดเห็นอย่างไร เชิญมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้เลยค่ะ
ที่มา : sg.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
เทรนด์ใหม่! ไม่อาบน้ำให้ทารกแรกคลอด
https://www.bangpakokhospital.com