ลูกซน ลูกดื้อ ลูกอยู่ไม่นิ่ง เดี๋ยวปีนโต๊ะ ปีนเก้าอี้ ปีนโซฟา เผลอนิดเดียวก็ไปปีนตู้อีกแล้ว อาการ ลูกซน แบบนี้ถือว่าเป็นปกติของเด็กหรือไม่ พฤติกรรมที่เด็กซุกซนชอบปีนป่ายมักจะเกิดขึ้นในเด็กวัยหัดเดิน เพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กนั้นกำลังมีความอยากรู้อยากเห็น ตื่นตาตื่นใจ และเป็นพัฒนาการของเด็กช่วงต้น ๆ ของการหัดเดินหรืออยู่ในช่วงวัยที่กำลังจะใกล้เดินได้แล้ว วันนี้เราจะพาทุกคนมาไขคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่าอาการ ลูกซน และชอบปีนป่ายนั้นผิดปกติหรือไม่ และควรมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง
ลูกซน เพราะเหตุใดลูกวัยหัดเดินถึงชอบการปีนป่าย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกชอบปีนป่าย ไต่ “บันไดบ้าน” คือสนามฝึกแรกของชีวิต
วิดีโอจาก : ก้านใบ กิจกรรมบำบัด
เมื่อลูกปีนป่าย ผู้ปกครองควรห้ามลูกหรือไม่ ?
ถึง คุณพ่อ คุณแม่ จะห้ามไม่ให้ลูกน้อยปีนป่ายมากเท่าไหร่ มันก็เหมือนเป็นการยั่วยุว่าเอาเลยเพราะดูเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับพวกเขา เพราะเด็กในวัยนี้เต็มไปด้วยความซุกซน แถมเด็กในวัยนี้จำเป็นต้องผ่านช่วงเวลาปีนป่ายไปเสียก่อน เพื่อการเติบโตไปอีกขั้นของพัฒนาการทางด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของความแข็งแรงของร่างกาย ความยืดหยุ่นของร่างกาย และความสมดุลที่เด็กควรจะเรียนรู้ แต่ คุณพ่อ คุณแม่ อาจต้องคอยสอดส่องดูแลอย่าให้ลูกคลาดสายตาได้แม้แต่เพียงนิด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับลูกของเราได้ตลอดเวลา
โดยสิ่งของบางชนิดถ้า คุณพ่อ คุณแม่ เห็นว่าลูกปีนป่ายแล้วเกิดอันตรายต่อลูกก็ควรที่จะเปลี่ยนออกไป อย่างเช่น ตู้ลิ้นชัก เพราะเคยมีกรณีที่เด็กเปิดลิ้นชักแล้วตู้ลิ้นชักล้มทับเด็กนั่นเอง ซึ่งเป็นอันตรายที่ส่งผลต่อชีวิตของลูก และร่างกายของเด็กเป็นอย่างมาก
วิธีทำให้ลูกสงบ ไม่ซน ไม่ดื้อ ลูกซน ต้องทำอย่างไร ?
อันดับแรก คุณพ่อ คุณแม่ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเด็กวัยนี้มักจะมีความซุกซนเป็นปกติของเขาอยู่แล้ว จะไม่ยอมหยุดนิ่งสักเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะการที่ได้ปีนป่ายขึ้นไปอยู่บนที่สูง ๆ เป็นสิ่งที่เขาชอบและเกิดความท้าทายสำหรับตัวเขา นั้นก็เป็นหนึ่งในความปรารถนาของเด็กวัยนี้ได้เหมือนกัน ดังนั้น วิธีที่จะทำให้ ลูกซน ลูกดื้อ น้อยลงเวลาอยู่ที่บ้าน คือ การให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่นั่นเอง อาจจะเป็นสนามเด็กเล่นบริเวณบ้าน หรือโซนเครื่องเล่นตามห้างสรรพสินค้า หรือที่ต่าง ๆ คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะให้ลูกเล่นประมาณ 1-2 ชั่วโมงก็ได้ ให้ลูกได้เล่นจนเพลีย รู้สึกเหนื่อย รู้สึกไม่อยากที่จะเล่นต่อ หรือรู้สึกง่วงนอน แต่ก็อาจจะช่วยได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น เพราะหากลูกน้อยได้พักงีบพลังก็จะกลับมาอีกครั้งเป็นปกติ หรือผู้ปกครองสามารถทำตามขั้นตอนด้วยวิธี ดังนี้
- หาเก้าอี้หรือบันไดสำหรับเด็ก มาให้ลูกน้อยได้ลองปีนป่ายเล่นเพื่อหยิบหนังสือหรือของเล่นบนชั้นเอง โดยที่ชั้นวางของเล่นหรือหนังสือต้องมีความแข็งแรง
- ทำคอกหรือหาเครื่องเล่นสำหรับเด็กให้ลูกได้ปีนป่ายภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย และเกิดความสะดวก
- ห้ามนำเก้าอี้ไว้ใกล้กับหน้าต่างโดยเด็ดขาด เพราะลูกน้อยอาจจะปีนขึ้นไปและเกิดการพลาดตกหน้าต่างลงไปได้ และอันตรายมากหากหน้าต่างอยู่ในที่สูง
- หาของเล่นแถบแม่เหล็กที่สามารถติดกับเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้ ให้ลูกน้อยได้ลองติด และสำรวจดู
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทริค เอาตัวรอด จากเหตุการณ์อันตราย สอนให้ลูกรักปลอดภัยจากเหตุการณ์ร้าย
การปีนป่ายอย่างปลอดภัย ควรทำอย่างไร?
การดูแลเรื่องความปลอดภัยของลูก แต่ต้องไม่ให้กระทบโอกาสของเด็กที่ชอบปีนป่าย เช่น ไปยืนใกล้ ๆ แต่ไม่ต้องกำกับเขา เช่น จับดี ๆ นะ ระวังตกนะ เอามือนั้นจับตรงนี้ เอาขาไว้แบบนี้สิลูก เพราะเมื่อเราเป็นคนกำกับตรงนี้เท่ากับเราเป็นคนสั่งการของเอง ก็จะไปปิดโอกาสสมองของเด็กที่จะได้คิดว่าต้องทำอย่างไร ทักษะสมองก็จะไม่เกิด และ คุณพ่อ คุณแม่ สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ลูกกำลังจะทำนั้นน่ากลัวมากแค่ไหน
การที่ผู้ปกครองลองปล่อยให้ลูกได้ลองได้ตัดสินใจเอง โดยยืนอยู่ใกล้ ๆ ด้วยสีหน้าที่สบายใจ รู้สึกผ่อนคลาย คุณพ่อ คุณแม่ จะได้เห็นว่าบางทีเด็กกำลังจะก้าวไปแล้วแต่ก็ถอยกลับมาด้วยตัวเอง นั่นคือเด็กประเมินตัวเองแล้วว่ายังไม่เอาดีกว่าเดี๋ยวค่อยลองใหม่อีกที แต่ก็ไม่มีเด็กคนไหนที่ล้มเลิกความคิดลงไป เนื่องจากเด็กยังมีความมุ่งมั่นที่จะเผชิญต่อสิ่งใหม่ ๆ ที่ต้องการจะพิชิตมันให้สำเร็จ ทักษะเหล่านี้จึงมีความหมายมากตอนโตเวลาที่เด็กต้องเจอกับเรื่องที่ยาก หรืออุปสรรค ถ้าเราเลี้ยงลูกให้ขี้กลัว พอเจออุปสรรคเด็กจะถอยหนีหมด ไม่สู้ หนีปัญหา ไม่เอา กลัวไปเสียหมด
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกอยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่ายทำอย่างไรดี วิธีทำให้ลูกสงบนิ่ง ไม่ดื้อไม่ซนต้องทำยังไง
ไม่ใช่แค่เรื่องของการปีนป่ายและความดื้อเพียงเท่านั้น จริง ๆ แล้วการฝึกให้ลูกได้คิด และแก้ปัญหาเบื้องต้น สามารถเริ่มได้ตั้งแต่การที่ลูกยังเป็นทารก เช่น เวลาที่เด็กอยากได้ลูกบอล หรืออยากได้ขวดนม เด็กจะเกิดความมุ่งมั่นที่จะคว้ามันมาให้ได้ และจะค้นหาว่าตัวเองจะไปแบบไหนเพื่อจะไปหาเป้าหมายที่เขาต้องการ ซึ่งถ้าตั้งแต่เล็ก ๆ คุณพ่อ คุณแม่ ทำให้เขาหมดทุกอย่าง เด็กจะไม่เรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง และโตมาอาจจะทำอะไรด้วยตัวเองไม่ค่อยได้ ความปลอดภัยของเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และพัฒนาการของเด็กก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่ อาจจะไม่สามารถห้ามลูกน้อยที่จะเล่น หรือปีนป่ายสิ่งใดได้ แต่คุณพ่อ คุณแม่ ก็สามารถที่จะดูแลความปลอดภัยให้กับลูก เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับลูกของเราได้เช่นกัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูก ๆ กลัวความสูง จะดูแลลูกยังไงดี โรคความกลัวนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเด็กหรือไม่
5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร ?
บทสวดแก้ลูกดื้อ ลูกซน ลูกไม่ยอมฟัง พ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร ลองใช้วิธีนี้!
ที่มาข้อมูล : phyathai bumrungrad passeducation