ยุติการตั้งครรภ์ หรือ การทำแท้งลูกอย่างถูกกฎหมาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยุติการตั้งครรภ์ หรือ การทำแท้ง เป็นกระบวนการสำหรับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งเราพบว่า สถิติการทำแท้งในประเทศไทย มีการทำแท้งประมาณปีละ 300,000 คน และมีถึง 300 คน จาก 100,000 คน ที่ได้รับอันตรายจากการทำแท้ง ซึ่งนับว่าเป็นความเสี่ยงที่ต้องให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ณ ปัจจุบันการทำแท้งนั้น สามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากมีการแก้ไข พ.ร.บ. เพิ่มเติม ซึ่งจำเป็นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกกำหนดเอาไว้

 

 

ยุติการตั้งครรภ์ อย่างถูกกฎหมาย ทำได้อย่างไร ?

ณ ปัจจุบันการยุติการตั้งครรภ์ สามารถทำได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งจำเป็นจะต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ และมีเงื่อนไขที่เข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • จะต้องมีอายุครรภ์ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ไม่เกิน
  • หากมีอายุครรภ์ที่มากกว่า 12 สัปดาห์ ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จะต้องผ่านเกณฑ์การปรึกษาทางเลือก
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงทางสุขภาพกาย หรือสุขภาพจิต
  • ตัวอ่อนในครรภ์มีความเสี่ยงว่าจะพิการ หรือทุพพลภาพ
  • ตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน ล่อลวง อนาจาร
  • ผู้ตั้งครรภ์มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ณ วันที่มีเพศสัมพันธ์ที่ทำให้ท้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : คุณแม่ท้องโปรดทราบ ! การดื่มกาแฟวันละแก้วอาจทำให้ แท้งลูกง่ายขึ้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การยุติการตั้งครรภ์มีวิธีไหนบ้าง

การยุติการตั้งครรภ์สามารถทำได้ด้วย 2 วิธี หลัก ๆ ด้วยกัน

  • การใช้ยา (Medical Abortion)

การใช้ยาในการยุติการตั้งครรภ์สามารถใช้ได้กับทุกอายุครรภ์ แต่มีขนาดยา และวิธีการใช้ที่แตกต่างกันทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ หากใช้ในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ถูกวิธี อาจทำให้การยุติการตั้งครรภ์ไม่เป็นผล รวมถึง มีความเสี่ยงต่อการตกเลือด

  • การใช้กระบอกดูดสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration)

วิธีนี้จะใช้ได้ถึงอายุครรภ์ 15 - 16 สัปดาห์ หรือประมาณ 4 เดือน จำเป็นจะต้องดำเนินการโดยแพทย์ที่มีความชำนาญเท่านั้น

ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกยอมรับว่า มีความปลอดภัยสูง และทำแท้งได้สำเร็จ โดยการใช้เครื่องมือ สามารถใช้ได้ในอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ส่วนการใช้ยา สามารถใช้ได้จนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ แต่อายุครรภ์น้อยกว่า 9 สัปดาห์จะมีความปลอดภัยมากกว่า นอกจากนี้ หากมีอายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ขึ้นไป ก็สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ ทางการแพทย์เรียกว่า เร่งคลอด
ในเกณฑ์ของ 1663 การใช้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ อยู่ในราคาเฉลี่ย 3,900-5,000 บาท โดยผู้ที่มีความประสงค์จะต้องไปยังสถานที่ยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ตามที่ 1663 ได้จัดเตรียมไว้ สำหรับผู้ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรไปที่สายด่วนได้ โดยการสนทนาจะถูกเก็บเป็นความลับและไม่มีการเปิดเผยตัวตน
"การตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เป็นสิทธิของเค้า เพราะครรภ์ที่เค้าต้องอุ้ม 9 เดือน เป็นของเค้าเอง สำหรับ 1663 ทางการแพทย์ ชีวิตของหญิง คือ ความปลอดภัย " 

ทางออกของสังคม เมื่อต้องการยุติการตั้งครรภ์

สสส. ร่วมกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกผู้หญิงท้องไม่พร้อม (Referral system for Safe Abortion : RSA) และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ได้พัฒนาระบบบริการเพื่อให้คำปรึกษา โดยจะมีให้บริการด้วยกัน 2 ช่องทาง คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

  • เบอร์โทรสายด่วน 1663 เป็นสายด่วนปรึกษาปัญหาเอดส์ และท้องไม่พร้อม ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือกในการคุมกำเนิด รวมถึงทางเลือกในกรณีที่ท้องไม่พร้อม
  • ทางออนไลน์ www.rsathai.org เว็บไซต์อาร์เอสเอไทย ได้ให้คำปรึกษาการคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร และทางเลือกในการตั้งครรภ์ ทั้งตั้งครรภ์ต่อ หรือยุติการตั้งครรภ์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบปัญหาทางด้านต่าง
“สายด่วน 1663 ไม่สนับสนุนการทำแท้งด้วยตัวเอง เพราะหลายคนซื้อยามาทำเองแล้วทำไม่ถูกวิธี ใช้ยามาก หรือน้อยไปไม่เหมาะสมกับอายุครรภ์ เกิดผลกระทบตามมามากมาย ดังนั้น 1663 สนับสนุนให้คนที่มีปัญหาท้องไม่พร้อมโทรมาปรึกษา และหากต้องการยุติการตั้งครรภ์ 1663 พร้อมส่งต่อไปยังเครือข่ายแพทย์ซึ่งเรารับรองความปลอดภัย” 

การยุติการตั้งครรภ์ กับกฎหมายไทยในปัจจุบัน

ในอดีตการยุติการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อบังคับมากมาย ทำให้เกิดการทำแท้งเถื่อนจนเกิดอาการแทรกซ้อน จนถึงการเสียชีวิต จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายไทยเพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการยุติการตั้งครรภ์ ให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่เอื้อประโยชน์ให้กับหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ รวมถึงภาวะเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • บทบัญญัติ มาตรา ๓๐๑ : หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ขณะที่อายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • บทบัญญัติ มาตรา ๓๐๕ : ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๐๑ หรือมาตรา ๓๐๒ เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด

(๑) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย ต่อสุขภาพทางกาย หรือจิตใจของหญิงนั้น
(๒) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมาก หรือมีเหตุผลทางการแพทย์ อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
(๓) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ
(๔) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์
(๕) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจ และรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

 

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2565

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการตรวจ และรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 ประกาศฉบับนี้กำหนดให้ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา

หญิงนั้นต้องได้รับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ เพื่อให้หญิงนั้นได้รับข้อมูลที่รอบด้านก่อนการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์โดยหญิงซึ่งมีอายุครรภ์ตามกำหนด สามารถแจ้งความประสงค์ต่อหน่วยบริการปรึกษาทางเลือก เพื่อเข้ารับคำปรึกษา โดยจะแจ้งผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งก็ได้ ทั้งแจ้งด้วยตนเอง เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ความเห็นจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง กับการ แก้ไขกฎหมายทำแท้ง ในรอบ 60 ปี

ติดกรรมแท้งลูก ลูกหลุดขณะท้อง หรือทำแท้ง แก้กรรมแท้งลูกได้อย่างไร

ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อ การแท้งลูก แม่ท้องต้องรู้ก่อนสายเกินไป !

ที่มา : rsathai, ilaw

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Arunsri Karnmana