การกินยาคุมฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนนำมาใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และยังมีอีกหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกินยาคุมฉุกเฉิน ซึ่งในปัจจุบันมีการคุมกำเนิดในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การทำหมัน การใส่ห่วงคุมกำเนิด แต่วิธีเหล่านี้อาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและอาจส่งผลต่อการมีลูกได้ยากกว่าปกติ หลายคนจึงเลือกใช้การกินยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์มากกว่า แล้วการ กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยเกินไป จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายจริงหรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันกับบทความนี้
ทำความรู้จัก ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraception Pill) ควรใช้ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้มีการคุมกำเนิดใดๆ เช่น ถุงยางรั่ว แตก หรือฉีกขาดขณะมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ยินยอมโดยไม่สวมถุงยาง รวมทั้งความผิดพลาดจากการคุมกำเนิด เช่น การนับระยะปลอดภัยผิด ลืมกินยาคุมกำเนิดมากกว่า 3 วัน เป็นต้น
ทั้งนี้ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ไม่สามารถป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ เช่น เอดส์ และยังส่งผลกระทบต่อมดลูกและรังไข่ รวมถึงยังเป็นส่วนช่วยกระตุ้นเซลล์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งยาคุมกำเนิดฉุกเฉินควรที่จะใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินเท่านั้น เพราะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 80-95% ที่ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ได้ 100%
บทความที่น่าสนใจ : 7 วิธี การคุมกําเนิด แบบชั่วคราว แบบถาวร แบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด
กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยเกินไป ยิ่งเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ !
หลายคนตั้งคำถามว่าการกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินบ่อยๆ และติดต่อกันเป็นเวลานานจะอันตรายหรือไม่ ถึงตรงนี้ก็คงต้องบอกว่ามีอันตรายอย่างแน่นอนและมีผลข้างเคียงจากยาที่มากขึ้น เนื่องจากยาคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการคุมกำเนิดในระยะยาว หากกินบ่อยและกินติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินลดลง และผลลัพธ์ที่ได้คือทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้นอีกด้วย รวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจตามมากอีกมากมายและเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลในการเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเกิน 2 กล่อง ต่อเดือน ควรใช้ในยามที่จำเป็นและฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้น
ยาคุมฉุกเฉิน มีกี่ประเภท
ปัจจุบัน ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ประเภท มีทั้งแบบที่ใช้ฮอร์โมนในการคุมกำเนิดและแบบใช้ตัวยาเพื่อยับยั้งการตกไข่และฮอร์โมนของร่างกาย แต่ทั้งหมดนี้ให้ผลวัตถุประสงค์เดียวกันคือการป้องกันตั้งครรภ์ โดยยาคุมกำเนิดจะเป็นการรับประทานฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูง เราว่ามาดูกันว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
บทความที่น่าสนใจ : ราคายาคุมฉุกเฉิน แต่ละยี่ห้อเท่าไหร่บ้าง เทียบราคาอย่างละเอียด
1. ประเภทฮอร์โมนเดียวโพรเจสติน (Progestin Only)
เป็นยาคุมฉุกเฉินที่ใช้การทำงานของฮอร์โมนตัวเดียวคือ โพรเจสติน ตัวยาที่นิยมใช้ในยาคุมฉุกเฉินคือ Levonorgestrel เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ในกลุ่มของโพรเจสตินที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการตกไข่ สามารถรับประทาน 1 โดส โดสละ 1.5 มก. หรือทานแบ่งเป็น 2 โดส โดสละ 0.75 มก. ห่างกัน 12 ชั่วโมง และทานโดสแรกภายใน 72 ชั่วโมง จะให้ประสิทธิภาพภาพในการคุมกำเนิดได้ดี ไม่มีผลกระทบอันตรายถึงชีวิต มีเพียงอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่มาจากผลข้างเคียงของยา
2. ประเภทฮอร์โมนรวม (Combined Estrogen-Progestin)
ยาคุมฉุกเฉินประเภทฮอร์โมนรวม เป็นยาที่ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1974 โดยใช้กลไกในการเพิ่มระดับฮอร์โมนภายในร่างกายให้สูงขึ้น ประกอบไปด้วยฮอร์โมนหลัก 2 ชนิด คือ Progesterrone และ Estrogen ที่ช่วยยับยั้งและเลื่อนเวลาของการตกไข่ในเยื่อบุโพรงมดลูกให้ไม่เหมาะสมกับการฝังตัวที่ส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ สามารถรับประทานยาที่มีส่วนประกอบของ Ethinyl Estradiol 100 มคก. และ Levonogrestrel 1 มก. หลังจากมีเพศสัมพันธ์ทันที หรือภายใน 72 ชั่วโมง และทานซ้ำอีกครั้ง 2 เม็ด 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง
3. ประเภท Selective Progesterone Modulator
โดยยาคุมฉุกเฉินประเภทนี้ใช้สารต้าน Progesterone เพื่อแย่งจับกับตัวรับปฏิกิริยา ทำให้ Progesterone ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ ส่งผลให้มดลูกไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะฝังตัวอ่อนได้ การใช้ยา Ulipristal รับประทานครั้งเดียว 30 มก. ภายใน 120 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และยา Mifepristone ทานครั้งเดียว 600 มก. ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกัน โดยยากลุ่มนี้จะให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าสองชนิดแรกที่ได้กล่าวไว้
กินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อร่างกาย
เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หากว่าเรารับประทานอย่างถูกต้องตามหลักของกรมอนามัยแล้วก็จะทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น โดยการกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอย่างถูกต้อง ควรกินเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมง หลังจากกินยาเม็ดแรก และที่สำคัญควรกินเฉพาะในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น
กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย จึงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยว่าจะเป็นอันตรายจริงหรือไม่ แล้วจะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ก็ต้องบอกเลยว่าการกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยและติดต่อกันเป็นเวลานานที่นอกจากจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายและเกิดผลเสียต่อรังไข่ในระยะยาวแล้ว ยังทำให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลงและเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ดังนั้นควรรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในยามที่ฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถูกวิธี
บทความที่น่าสนใจ :
10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม
ยาคุมฉุกเฉิน ใช้อย่างไร วิธีกินที่ถูกต้อง ยาคุมฉุกเฉินป้องกันการท้องได้จริงหรือ?
ทำไมกินยาคุมฉุกเฉินแล้วยังท้อง ไขข้อสงสัยยาคุมฉุกเฉินที่คนมักเข้าใจผิด
ยาคุมกำเนิด กินยังไง ลืมกินยาคุม 2 วัน ทำไงดี คุมกำเนิดแบบไหนดีที่สุด
ที่มา : doctoranywhere.co.th , paolohospital.com , samitivejhospitals.com