โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคพุ่มพวงที่ผู้หญิงไม่อยากเป็น

โรคแพ้ภูมิตัวเองอาการเป็นอย่างไร อันตรายมากขนาดไหน รักษาได้หรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคsleคือ หรือที่เรารู้จักในชื่อของ “โรคพุ่มพวง” โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคที่ราชชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว ทำให้โรคแพ้ภูมิตัวเองเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทั้งที่โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่และเป็นโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยและต่างประเทศด้วย  แม้แต่นักร้องนักแสดงสาว “เซเลน่า โกเมซ” ศิลปินขวัญใจวัยรุ่นชาวอเมริกันเธอก็ป่วยโรคนี้จนต้องพักรักษาตัวระยะหนึ่ง ด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเองนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แม้แต่วัยเด็กเล็ก แล้วเราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเสี่ยงกับโรคนี้อยู่ บางรายคิดว่ามีเพียงอาการขึ้นมันเล็กน้อยจนทำให้เราไม่วิตกกังวล แต่จริงๆ แล้วสัญญาณเล็กน้อยเหล่านี้ คือการนำไปสู่โรคที่อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่รีบเข้ารับการรักษา

 

โรคแพ้ภูมิตัวเองเซเรน่า โกเมซ ป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองด้วยเช่นกัน (Credit: everydayhealth)

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือโรคพุ่มพวงนั้นเป็นอย่างไร

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง (SLE ชื่อเต็มคือ Systemic lupus erythematosus) หรือโรคลูปัส (Lupus)  โรคsleคือ  เป็นโรคที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มกันหรืออิมมูน (Immune) ต้านทานผิดปกติ โดยเข้าไปต่อต้านเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในบริเวณนั้น โดยต่อต้านเนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆ ได้กับทุกเนื้อเยื่อ เป็นผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและชนิดไม่ติดเชื้อ ซึ่งที่ก่อให้เกิดอาการได้บ่อย คือ การอักเสบเรื้อรังของ ผิวหนังข้อ กล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ ไต ระบบเลือดและไขกระดูก และระบบประสาททั้งนี้ โรคลูปัส หรือโรคเอสแอลอี จัดเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่รักษาไม่หาย ซึ่งมีผู้ที่เสี่ยงกับโรคแพ้ภูมิตัวเองดังนี้

1. โรคแพ้ภูมิตัวเองสามารถพบได้ทั่วโลก

สามารถผู้คนที่ป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองได้ทั่วไป ทั้งนี้สถิติเกิดแตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติและแต่ละประเทศ ทั่วไปทั่วโลกพบประมาณ 20-70 รายต่อประชากร 100,000 คน โดยพบทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ

2. โรคแพ้ภูมิตัวเองสามารถพบได้ในเด็ก

โรคเอสแอลอีสามารถพบได้ในเด็ก แต่พบน้อยในเด็กโดยเฉพาะเมื่ออายุต่ำกว่า 8 ปี (พบในเด็กประมาณ 10%-20%) เป็นโรคพบทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศหญิงสูงกว่าในเพศชายประมาณ 10-15 เท่า โดยพบสูงในช่วงอายุ 15-45 ปี พบในผู้หญิงเชื้อชาติผิวดำบ่อยที่สุด รองลงไปตามลำดับ คือ ผู้หญิงเอเชีย และผู้หญิงผิวขาว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. โรคแพ้ภูมิตัวเองพบได้ในผู้มีปัจจัยเสี่ยง

แม้ว่าโรคแพ้ภูมิตัวองพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็พบได้เรื่อยๆ พบได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ แม้ว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติอยู่หลายประการ

  • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • ความผิดปกติจากพันธุกรรม (ชนิดที่ถ่ายทอดได้)
  • ติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือไวรัสบางชนิด
  • มีอาการแพ้กับสิ่งต่างๆ
  • มักพบผู้ที่ชอบสูบบุหรี่
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาป้องกันการชัก ยาคุมกำเนิด ยาลดน้ำหนักบางชนิด
  • เครียด ทำงานหนักออกกำลังกายมากเกินไป

 

อาการของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง โรคภูมิแพ้ตัวเอง อาการ เป็นอย่างไร 

เคยสงสัยไหมว่า เราออกกำลังกายอย่างหนัก รักษาสุขภาพดี แต่ทำไมยังสามารถเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองได้ ทั้งนี้มีสัญญาณอันตรายที่เป็นอาการเริ่มต้นของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง มีหลากหลายอาการขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดความผิดปกติจนมีอาการอักเสบในระยะแรก ไปจนถึงระยะเรื้อรังที่อาจเริ่มเกี่ยวพันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ

1. โรคภูมิแพ้ตัวเอง อาการผิดปกติทั่วไป

อาการนี้เป็นอาการของโรคแพ้ภูมิตัวเองที่ยังหาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผอมลง ทั้งที่เราใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ แต่ทำไมกินแล้วผอม บางคนอาจดีใจ แต่มันคือสัญญาณของโรคเอสแอลอีก็เป็นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. อาการทางผิวหนัง

โรคแพ้ภูมิตัวเองมักจะแสดงอาการทางผิวหนัง โดยเฉพาะผู้หญิงที่เริ่มมีผื่นแดงขึ้นบริเวณใบหน้า อาจคิดว่าแพ้น้ำ แพ้เครื่องสำอาง หรือช่วงตรงกลางใบหน้าและโหนกแก้มทั้งสองข้าง รูปร่างคล้ายผีเสื้อ และอาจมีอาการผมร่วงด้วย

3. อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ

ยิ่งเป็นคนออกกำลังกายมักจะเดาอาการได้ยากมาก เพราะการออกกำลังกายมักจะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่สำหรับอาการปวดข้อต้องรับสังเกตไว้หรือไปพบแพทย์หากมีอาการรวมๆ กัน ทั้งนี้อาจไม่มีอาการบวมแดง แต่ปวดได้ทุกส่วนที่มีข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว

4.อาการทางปอด

หากมีอาการเจ็บหน้าอก ไอโดยไม่รู้สาเหตุ หรือตรวจแล้วพบว่ามีอาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มีน้ำในปอด เหนื่อยง่าย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ไปจนถึงหัวใจเต้นผิดปกติ

5. อาการทางระบบทางเดินอาหาร

ผู้หญิงบางคนอาจเข้าใจว่าตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากอาการเหนื่อยง่าย คลื่นไส้ อาเจียน แต่ทั้งนี้โรคแพ้ภูมิตัวเองมักมีอาการปวดท้อง เบื่ออาหารร่วมด้วย ลองสังเกตว่าน้ำหนักเราลดลงผดปกติดวยหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. อาการทางไต มีอาการบวมน้ำ

โรคแพ้ภูมิตัวเองคือโรคที่ผิดปกติทางเนื้อเยื่อ ภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง มักจะมีความดันสูงผิดปกติ มีอาการผิดปกติทางไตทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นอกจากความดันโลหิตสูง แล้วยังทำให้ขาบวม จากการบวมน้ำ

7. อาการทางระบบโลหิต

โรคแพ้ภูมิตัวเองเกี่ยวข้องกับระบบเลือด จึงเกิดจากภาวะโลหิตจาง ภาวะซีด ความดันโลหิตต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ หลอดเลือดอักเสบ อาจจะพบเป็นจุดแดงๆ เล็กๆ ทั่วตัวคล้ายไข้เลือดออก

8. อาการทางระบบประสาท

โรคแพ้ภูมิตัวเองมักจะมีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ เครียด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาในการจำ สับสน เห็นภาพหลอน โดยอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีกทีได้ ซึ่งอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง มีอาการแสดงได้หลากหลายรูปแบบเป็นได้ทั้งความผิดปกติที่มีอาการแสดงของ

  • การทำงานของระบบประสาทบกพร่อง เช่น ไขสันหลังอักเสบ มีปัญหาด้านความจำ เป็นต้น
  • อาการของความผิดปกติทางจิต เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ อาการเห็นภาพหลอน มีความผิดปกติอาจเกิดขึ้นได้ทั้งที่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น อาการสับสนเฉียบพลัน
  • โรคแพ้ภูมิตัวเองทำให้เกิดความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนปลาย เช่น เส้นประสาทอักเสบ
  • นอกจากนี้ความผิดปกติทางระบบประสาทแล้วโรคนี้ ยังสามารถเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉพาะบางตำแหน่ง เช่น สมองขาดเลือด หรือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นแบบทั่วไป เช่น อาการทางจิต

 

โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE

การรักษาโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง หรือ SLE

แพทย์จะพยายามควบคุมโรคให้สงบด้วยการให้รับประทานยา ทำการรักษาตามอาการที่พบ และติดตามอาการไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการจะสงบ หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่อาการเพิ่มเริ่มต้น จะยิ่งทำให้แพทย์ทำการรักษา และควบคุมอาการได้ดีขึ้น จนไม่มีอะไรต้องน่ากลัว หรือถึงขั้นเสี่ยงเสียชีวิต

อาการผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคแพ้ภูมิตัวเองนั้นมีความหลากหลาย อาการไม่เฉพาะเจาะจง เป็นความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทส่วนกลางก็ได้ มีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยเช่น ปวดศีรษะเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงอาการไม่รู้สึกตัว ความผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นสามารถเกิดได้จากหลากหลายกลไก เช่น

  1. อาจเกิดจากภาวะภูมิต้านทานกระตุ้นเซลล์ประสาท ซึ่งอาจทำให้เซลล์ประสาทตื่นตัวผิดปกติ ได้รับบาดเจ็บ หรือตาย ซึ่งความผิดปกติกลุ่มนี้ต้องการการรักษาด้วยยากดภูมิต้านทาน
  2. ในขณะที่กลุ่มอาการขาดเลือด หรือการไหลเวียนโลหิตผิดปกติจากหลอดเลือดที่ผิดปกติ มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดมักจะสัมพันธ์กับกลุ่มอาการ Antiphospholipid กลุ่มนี้ต้องการการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดผู้ป่วยที่มีผิดปกติทางระบบประสาทนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการวินิจฉัย
  3. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาททั่วไป ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติ เช่น ยา การติดเชื้อ ความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมก่อนวินิจฉัยอาการผิดปกติทางระบบประสาทนั้นๆ เกิดจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง
    การรักษาอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคนี้หากผู้ป่วยมีอาการของนอกระบบประสาทที่กำเริบร่วมด้วย ให้การรักษาตามความรุนแรงโดยรวมของโรค

 

โรคแพ้ภูมิตัวเองที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท สามารถพิจารณาการรักษาตามความรุนแรงของอาการได้ดังนี้

  • อาการผิดปกติทางระบบประสาทที่ไม่รุนแรง

อาการที่แสดงคือปวดศีรษะ ลมชัก ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า โรคกังวล การสูญเสียความสามารถของสมองเล็กน้อย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความจำ อาจให้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ยากันชัก การให้หารยาต้านซึมเศร้า ปรึกษาจิตแพทย์ให้ยาทางจิตเวช

  • อาการผิดปกติทางระบบประสาทที่มีความรุนแรง

อาการรุนแรงอันเนื่องมาจากกลไกการอักเสบ เช่น ภาวะสับสนเฉียบพลัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ ไขสันหลังอักเสบ เส้นประสาทตาอักเสบ อาการชักที่ควบคุมไม่ได้ ปลายประสาทอักเสบ หรืออาการทางจิตที่รุนแรง ผู้ป่วยควรได้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ร่วมกับยากดภูมิต้านทาน เช่น Azathioprine หรือ Cyclophosphamide

  • อาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง

โรคแพ้ภูมิตัวเองที่ลามไปถึงประสาทส่วนกลางนั้นพบว่าการรักษาด้วย Cyclophosphamide ให้ผลดีจากการรายงานกลุ่มผู้ป่วย และหนึ่งการศึกษาวิจัยทางคลินิกเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม หากอาการไม่ตอบสนองต่อการรักษาอาจพิจารณาการรักษาทางเลือก เช่น การฟอกเลือดการให้อิมมูโนโกบูลิน ทางหลอดเลือดดำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การใช้การรักษาชีวะบำบัดรักษาอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่มีความรุนแรง

ทั้งนี้การใช้ชีวะบำบัดโรคแพ้ภูมิตัวเองมีรายงานการใช้ Rituximab ในผู้ป่วย 10 รายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาซึ่งผู้ป่วยมีอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ภาวะสับสนเฉียบพลัน อาการชัก อาการทางจิต และสมองเสื่อม ซึ่งพบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหลังได้รับ Rituximab ทั้งนี้ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมสำหรับอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง สำหรับการรักษาชีวะบำบัดรักษา

บทความที่เกี่ยวข้อง: ป้องกันภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก แม่ต้องรู้เท่าทัน! จะได้ไม่เสียใจทีหลัง

 

โรคแพ้ภูมิตัวเองโรคพุ่มพวงที่ผู้หญิงไม่อยากเป็น

ผลของโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรค SLE ต่อการตั้งครรภ์และต่อทารกในครรภ์

โรคแพ้ภูมิตัวเองมีผลต่อการตั้งครรภ์ โดยเพิ่มโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และเลือดออกมากจากการคลอดจนอาจเกิดอันตรายต่อมารดาภายหลังการคลอดได้ ส่วนผลกระทบต่อทารกในครรภ์นั้น ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ และเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นเด็กกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะอวัยวะต่างๆ ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และมีโอกาสที่จะติดเชื้อต่างๆ ได้สูงกว่าทารกปกติ แต่ยังไม่มีรายงานว่าโรคแพ้ภูมิตัวเองของคุณแม่นั้นจะส่งผลต่อสติปัญญาของเด็กแต่อย่างใด

 

วิธีป้องกันโรคแพ้ตัวเอง

โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเองไม่มีวิธีป้องกันได้ 100% แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ด้วยการดูแลรักษาร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาด ลดโอกาสในการติดเชื้อ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยาอะไรเป็นประจำ

 

บทความที่น่าสนใจ

อย่าชะล่าใจ โรคจิตหลังคลอด ภาวะหนักกว่าโรคซึมเศร้าที่แม่ลูกอ่อนต้องระวัง!!

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะเป็นภูมิแพ้ด้วยหรือไม่?

โรคเหงือกคืออะไร โรคเหงือกมีอาการอย่างไร มีวิธีรักษาโรคเหงือกหรือไม่

 

ที่มา : siamhealth , Sanook , haamor

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan