การห้ามเลือด หากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร

การห้ามเลือด ที่ถูกต้องเป็นแบบไหน แต่ละแบบมีวิธีธีการห้ามเลือดอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การห้ามเลือด จากบาดแผล เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดบาดแผลจากการบาดเจ็บควรทำอย่างไร วันนี้ theAsianparent นำวิธีการห้ามเลือดและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝากจะมีวิธีการห้ามเลือดแบบไหนบ้าง ไปดูกันเลย

 

การห้ามเลือด คืออะไร

การห้ามเลือด

การห้ามเลือด (Control hemorrhage) หมายถึง การทำให้เลือดหยุดไหลทันที การห้ามเลือดส่วนใหญ่จะทำได้เมื่อมีการตกเลือดภายนอกเป็นส่วนใหญ่ และสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและการตกเลือดว่ามากหรือน้อยแค่ไหน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลือดกําเดาไหล ทําไงให้หาย วิธีปฐมพยาบาลเลือดกําเดาไหล หยุดเลือดกำเดาไหล ให้เลือดหยุดไหลได้เร็ว

 

การห้ามเลือดมีกี่วิธี อะไรบ้าง ?

การห้ามเลือดจะแบ่งเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ การบาดเจ็บภายนอก และการบาดเจ็บภายใน

  • การบาดเจ็บภายนอก : จะเห็นเลยว่าบริเวณบาดแผลนั้นมีเลือดไหลออกมา ความรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ
  • การบาดเจ็บภายใน : เป็นความรุนแรงของการเสียเลือดที่อยู่ภายในร่างกาย ไม่สามารถมองเห็นได้ อาจทำให้เกิดอาการช็อก และเสียชีวิตได้ โดยวิธีสังเกตง่าย ๆ คือ มีอาการเจ็บปวดภายในร่างกายอย่างมาก มีอาการบวม และผิดรูป เลือดออกปาก ทวารหนัก ช่องคลอด อาเจียนเป็นเลือด กดแล้วเจ็บ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการห้ามเลือดจากแผลหกล้ม

  • หากมีเศษวัสดุเล็ก ๆ ในบาดแผล ให้ใช้คีมหรือแหนบดึงเศษดังกล่าวออกก่อน
  • ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำเกลืออย่างระมัดระวัง และทำการห้ามเลือดโดยการใช้ผ้าก๊อซปิดบริเวณแผลให้แน่น น้ำหนักที่กดของผ้าก๊อซจะช่วยให้เลือดหยุดไหลได้เองตามธรรมชาติ
  • หากเลือดยังไม่หยุดไหลให้ใช้ผ้ายืด Elastic Bandage พับทับอีกชั้นเพื่อเพิ่มแรงกดทับ

 

วิธีห้ามเลือดหากมีวัตถุปักที่ร่างกาย

  • ไม่ควรดึงวัตถุออก ต้องใช้ความระมัดระวังในการปิดแผล ในการห้ามเลือดให้ใช้ผ้าปิดแผลพันรอบ ๆ ให้หนา เพื่อพยุงวัตถุไม่ให้เคลื่อนไปมากกว่าเดิม รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

 

วิธีห้ามเลือดหากอวัยวะผิดรูป หรือกระดูกหักออกมาทางผิวหนัง

การห้ามเลือด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากจำเป็นต้องทำความสะอาดแผล ควรทำความสะอาดด้วยความระมัดระวัง และห้ามเลือดโดยการใช้ผ้าปิดแผลรอบ ๆ ปิดแผลและดาม ยึดอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนขยับ
  • ยกอวัยวะส่วนนั้นสูงกว่าระดับของหัวใจ งดน้ำและอาหารทุกชนิด และนำตัวส่งโรงพยาบาล

 

วิธีห้ามเลือดหากมีอวัยวะทะลักออกมา

  • ทำความสะอาดบาดแผลรวมถึงอวัยวะภายในที่โผล่ออกมาด้วยความระมัดระวัง
  • ห้ามดันอวัยวะภายในที่โผล่กลับเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดคลุมอวัยวะภายในที่โผล่ออกมา สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ห้ามให้อาหารและน้ำ และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

 

วิธีห้ามเลือดหากอวัยวะของร่างกายถูกตัดขาด

  • เก็บส่วนอวัยวะที่ถูกตัดขาด ใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น นำไปใส่ในกระติกน้ำแข็ง ห้ามแช่ในน้ำเย็นโดยตรง และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

 

วิธีห้ามเลือดจากบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

  • ใช้น้ำเกลือล้างบาดแผล เพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อน ถอดเสื้อผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เพื่อไม่ให้เสื้อผ้าติดกับผิวหนัง
  • หากถอดเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่าดึงรั้ง ไม่ควรดึงออกเพราะผิวหนังอาจจะติดไปด้วย ปิดบาดแผลด้วยผ้าแห้งและสะอาด
  • ห้ามใช้น้ำมัน ยาสีฟัน ทาลงบาดแผล และหากพบว่ามีตุ่มพองไม่ควรทำให้ตุ่มพองแตก หากอาการรุนแรง นำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีห้ามเลือดแผลไหม้จากสารเคมี

  • สวมถุงมือและเครื่องป้องกันดวงตา หากสารเคมีเป็นผงแห้งควรใช้แปรงปัดทิ้งก่อนล้างน้ำ
  • ให้ใช้น้ำล้างจำนวนมาก โดยให้น้ำไหลผ่าน ไม่ควรใช้วิธีแช่น้ำ ปิดบาดแผลด้วยผ้าชุบน้ำเกลือหมาด ๆ และทับด้วยผ้าก๊อซหนา ๆ กันสารเคมีซึมเข้าไป
  • ในกรณีที่สารเคมีเป็นน้ำ และถูกสารเคมีหกใส่ ควรตรวจว่ากระเด็นเข้าตาหรือไม่ และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

 

วิธีการห้ามเลือด เลือดกำเดาไหล

ห้ามเลือดกำเดาไหล

  • ให้ผู้ป่วยนั่งก้มไปข้างหน้า บีบจมูกเข้าหากัน
  • ประคบเย็นบริเวณหน้าผาก และให้หากใจทางปากชั่วคราว

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเลือดกำเดาไหล ทำไง มีสาเหตุมาจากอะไร หนักแค่ไหนถึงควรรีบไปแพทย์

 

วิธีการห้ามเลือดบริเวณริมฝีปาก

  • ล้างมือให้สะอาด ใช้ถุงมือยางในการทำความสะอาดบาดแผล หลีกเลี่ยงการทำให้แผลติดเชื้อ พยายามไม่ไอ หรือ จาม ใส่บริเวณบาดแผล
  • นั่งตัวตรง เอียงศีรษะมาด้านหน้า ให้ปลายคางชี้ไปที่อก เพื่อป้องกันไม่ให้กลืนเลือดลงไป ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดบาดแผลเกิดจากโลหะ หรือวัตถุที่สกปรกหรือไม่ หากเกิดจากสิ่งเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงในการเกิดบาดทะยัก
  • ใช้ผ้าก๊อซหรือ ผ้าพันแผล กดแผลเบา ๆ ประมาณ 15 นาที
  • หากกดบาดแผลแล้วยังไม่ดีขึ้นภายใน 45 นาที และยังมีเลือดไหลอยู่สม่ำเสมอหลังจาก 15 นาทีแรก ควรพบแพทย์ทันที

 

วิธีการห้ามเลือดบริเวณคอ

  • เอียงคอไปข้างหน้า ไปทางตรงกันข้ามกับที่จะกด แล้วกดหลอดเลือดแดงบริเวณด้านข้าง และใต้ลูกกระเดือกเล็กน้อย
  • กดหลอดเลือดแดงกดลงไปที่กระดูกต้นคอ ก็จะไม่ทำให้เลือดไหลผ่านไปยังแผลที่มีเลือดออก

 

วิธีห้ามเลือดบริเวณแขน

  • ให้กดบริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้า ใต้รักแร้ลงมาและด้านในใต้ต้นแขน

 

ข้อควรระวังในการห้ามเลือด

  • ระวังการติดเชื้อเข้าสู่บาดแผลผู้ที่บาดเจ็บ ควรสวมถุงมือยางหรือถุงมือพลาสติก ก่อนจับหรือสัมผัสบาดแผลผู้บาดเจ็บ
  • หากต้องทำการห้ามเลือดโดยใช้ผ้ากดบาดแผล ควรเลือกใช้ผ้าที่สะอาด และหากเลือดยังไม่หยุดให้หาผ้าผืนใหม่มากดทับลงไปอีก พันแผลให้แน่น กดทับด้วยฝ่ามือ เพื่อกดบาดแผลไว้
  • ถ้ามีเลือดออกหลายตำแหน่ง ควรห้ามเลือดบริเวณที่มีเลือดออกมากก่อน
  • ไม่ควรนำสิ่งต่าง ๆ เช่น สมุนไพร ผงยา มาพอกใส่บาดแผล เนื่องจากจะทำให้บาดแผลติดเชื้อ หรือสกปรกมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปฐมพยาบาลคนท้องตกเลือด แม่ท้องตกเลือด พ่อควรทำยังไง ก่อนส่ง รพ.

ที่มา : 1,wikihow,TruePlookpanya

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong