เครียดลงกระเพาะ อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีรับมือ ทำยังไงให้ไม่เครียด!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการเครียด คงไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะในแต่ละวันเราต้องเจอปัญหามากมาย ทั้งชีวิต ความสัมพันธ์ การงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นเห็นของความเครียด และอาจมีผล ทำให้เกิดการ เครียดลงกระเพาะ ได้ มาดูสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคนี้กัน

 

เครียดลงกระเพาะคืออะไร?

“ความเครียด” สามารถส่งผลกระทบต่อเราได้ ไม่ว่าจะทั้งสุขภาพร่างกาย หรือ สุขภาพจิตใจ ไม่เว้นแม้ในระบบของการย่อยอาหาร ซึ่งมักรู้จักกันดี ในเชื่อว่า “เครียดลงกระเพาะ” ซึ่งอาจทำให้เรารู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนกลางอก ท้องผูก ท้องเสีย หรือ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ซึ่งวิธีรักษา และป้องกันที่ดีที่สุด คือการแก้ไขที่ต้นเหตุ หรือ การรับมือกับความเครียดนั่นเอง

ความเครียดมีผลต่อกระเพาะอย่างไร?

อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย จะมีเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดความเครียด ความเครียดจะส่งผลให้เส้นประสาท สั่งการให้การไหลเวียนเลือดช้าลง ทำให้กล้ามเนื้อของระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ด้อยประสิทธิภาพลงนั่นเอง

 

ทำไมเครียดแล้วมีผลต่อกระเพาะ

  • ระบบประสาทอัตโนมัติ ไปกระตุ้นที่ต่อมหมวกไต ให้เกิดการหลั่งอะดรีนาลีน
  • ต่อมไทรอยด์ มีการหลั่งฮอร์โมน ที่เร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญอาหาร ออกมาในปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และหิวตลอด
  • ความเครียดทำให้การทำงานของกระเพาะอาหาร และลำไส้ เกิดการหยุดชะงัก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผลข้างเคียงของการเครียดลงกระเพาะ

  • กระเพาะหลังกรดที่ใช้ในการย่อยน้อยลง ทำให้เกิดภาวะท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย มีการทำงานน้อยลง และทำให้ติดเชื้อในกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • กล้ามเนื้อหลอดอาหาร มีการหดเกร็ง และมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย
  • มีอาการกรดไหลย้อน และ อาการแสบร้อนกลางอก เพราะระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ไม่ดี และเกิดอาการบีบตัว ของหลอดเลือดอาหาร มากยิ่งขึ้น
  • แบคทีเรียชนิดไม่ดี มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น กว่าแบคทีเรียที่เป็นชนิดดี ทำให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ไม่ดี
  • ความเครียด อาจส่งผลให้โรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร แย่ลงได้ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ เป็นต้น

อาการของโรคเครียดลงกระเพาะเป็นอย่างไร?

  • มีอาการปวด แน่น จุก แสบ บริเวณลิ้นปี่ และมักเกิดหลังจากการรับประทานอาหาร
  • มีอาการเรอบ่อย อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องอืด แก๊สในกระเพาะมาก
  • ถ่ายเป็นเลือด หรือ ถ่ายเป็นสีดำ

 

การรับมือกับอาการเครียดลงกระเพาะ

การรับมือกับอาการเครียดลงกระเพาะ วิธีที่สามารถรักษาได้ดีที่สุด เป็นการจัดการกับความเครียดที่เป็นอยู่ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ด้วยการค่อย ๆ ปรับ เปลี่ยน พฤติกรรมของตนเอง ดังนี้

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกาย จะช่วยกระตุ้นสารเอนโดรฟีน ซึ่งเป็นสารในสมอง ที่ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และช่วยให้ไม่เครียดได้ และยังช่วยให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้อย่างดีขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. พูดคุยกับผู้อื่น ระบายความเครียด

หากเรามีความเครียดมาก ๆ หรือ ความเครียดสะสม การพูดคุย หรือระบายความในใจ ให้กับผู้อื่น คนรอบข้างได้ฟัง เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้เราคลายเครียด และรู้สึกสบายใจขึ้น หากไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร การปรึกษานักจิตวิทยา อาจช่วยแนะนำให้คุณรับมือกับความเครียด และปรับเปลี่ยนมุมมองของคุณได้

 

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

อาหารบางชนิด อาจส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดได้ อาหารที่ควรเลี่ยงได้แก่ อาหารขยะ อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีน้ำตาลสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หากต้องการให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ดีขึ้น ควรรับประทานนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต เพื่อช่วยปรับสมดุล ของแบคทีเรียในร่างกาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. หากิจกรรมผ่อนคลาย

การรับมือกับความเครียดที่ดี ควรรู้จักหากิจกรรมที่ตนเองชอบ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียด เช่น วาดรูป เล่นโยคะ ฟังเพลง ออกไปเที่ยว เป็นต้น

 

5. ฝึกสมาธิ และการหายใจ

ลองหันมานั่งทำสมาธิ เลือกนั่งท่าที่สะดวก และสบายใจ จากนั้นหายใจเข้า ออก อย่างช้า ๆ แล้วหลับตา ลองเพ่งสมาธิไปที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า เพื่อให้รู้สึกถึงกระบวนการต่าง ๆ ของธรรมชาติในร่างกาย

 

ความเครียด เป็นสิ่งที่น่ากลัว และอันตรายต่อร่างกาย ต่อจิตใจของเรา อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่ใช่แค่เพียงการ เครียดลงกระเพาะ เท่านั้น แต่อาจส่งผลต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นเราควรบำบัด และจัดการกับความเครียด เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ทั้งร่างกาย และจิตใจ

 

ที่มา : 1, 2

บทความที่น่าสนใจ

โรคเครียด เป็นยังไง? เช็คตัวเองด่วน แบบนี้เป็นโรคเครียดแล้วหรือยัง!

12 วิธีคลายเครียด แบบง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง รับรองหายเครียดไม่รู้ตัว

วิธีลดความเครียด คลายเครียดจากการทํางาน การจัดการความเครียด กินอะไรคลายเครียด อาหารลดความเครียด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Waristha Chaithongdee