คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม กินได้เท่าไหร่ จะเป็นอันตรายต่อลูกหรือเปล่า?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ เพราะมีความหวานซ่า เมื่อดื่มเข้าไปแล้วช่วยกระหาย และทำให้รู้สึกสดชื่นได้ แน่นอนว่าคุณแม่ท้องหลายคนอาจสงสัย และตั้งคำถามว่า คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันดีกว่า ว่าจริง ๆ แล้วแม่ท้องดื่มน้ำอัดลมได้หรือเปล่า กินแล้วจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยไหม ว่าแล้วเราไปหาคำตอบพร้อมกันค่ะ

 

คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม?

ถือเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยว่าจริง ๆ แล้ว แม่ท้องกินน้ำอัดลมได้หรือไม่ คำตอบก็คือกินได้เป็นบางครั้งคราว แต่ควรจำกัดปริมาณในการดื่ม เพราะหากดื่มมากเกินไปก็อาจอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ เพราะน้ำอัดลมมีส่วนผสมหลายอย่าง โดยเฉพาะคาเฟอีน ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย นอกจากนี้การดื่มน้ำอัดลม ยังส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่อีกด้วย เพราะฉะนั้นหากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ ควรพยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมดีกว่า รวมถึงหลังคลอดอีกเช่นกัน เพราะเมื่อต้องให้นมบุตร ส่วนผสมในน้ำอัดลมก็สามารถส่งผ่านน้ำนมไปสู่ลูกน้อยได้อยู่ดีค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ดื่มน้ำอัดลมเยอะ ในระหว่างตั้งครรภ์ มีผลเสียอย่างไร แม่ควรรู้

 

 

ผลเสียจากการกินน้ำอัดลมขณะตั้งครรภ์

แน่นอนว่าการดื่มน้ำอัดลมขณะตั้งครรภ์ ย่อมส่งผลเสียต่อลูกน้อย และตัวคุณแม่อีกด้วย เรามาดูกันดีกว่าจะมีผลเสียอะไรบ้าง

 

  • ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ และความจำของลูก

งานวิจัยในวารสาร the American Journal of Preventive Medicine ได้เผยว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ อาจส่งผลกระทบต่อทักษะการเรียนรู้ และความจำของลูกที่คลอดออกมาได้ เพราะเมื่อคุณแม่บริโภคน้ำอัดลม น้ำตาลในน้ำอัดลมจะส่งผลเสียต่อระบบความจำของลูก โดยเฉพาะในด้านทักษะในการสื่อสาร นอกจากนี้การดื่มน้ำอัดลมที่เป็น 0 แคลอรี ก็ยังส่งผลเสียต่อระบบการมองเห็นของลูกน้อยในครรภ์ได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ทำให้ลูกพิการแต่กำเนิด

น้ำอัดลมมีการแต่งสี และรสชาติด้วยน้ำตาลเทียม (saccharin) จำนวนมาก ซึ่งน้ำตาลเทียมเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะพิการแต่กำเนิดของลูกน้อยได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรอ่านฉลาก และข้อมูลโภชนาการก่อนว่า น้ำอัดลมเหล่านั้นมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยหรือเปล่า

 

  • ทำให้นอนไม่หลับ

การดื่มน้ำอัดลมอาจทำให้คุณแม่นอนไม่หลับ เนื่องจากในน้ำอัดลมมีปริมาณคาเฟอีนจำนวนมาก ซึ่งคาเฟอีนเหล่านี้จะส่งผลให้คุณแม่นอนไม่หลับ และยังส่งผลต่อระดับแคลเซียมในร่างกายอีกด้วย ซึ่งแคลเซียมเหล่านี้ล้วนเป็นแร่ธาตุที่จำเป็น เพราะช่วยในการสร้างกระดูก และฟันของทารก นอกจากนี้งานวิจัยบางส่วนยังเผยว่า แม่ท้องที่บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน อาจนำไปสู่การแท้งบุตรได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน

น้ำอัดลมสามารถทำให้คุณแม่เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ เนื่องจากคาเฟอีนที่อยู่ในน้ำอัดลม สามารถทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนรุนแรง ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสามของการตั้งครรภ์ หากคุณแม่บริโภคน้ำอัดลม แล้วเกิดอาการกรดไหลย้อนอาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย และลูกในท้องได้ ดังนั้นจึงควรหยุดดื่มน้ำอัดลมทันที หากมีอาการเหล่านี้

 

  • ให้สารอาหารที่ไม่มีประโยชน์

ในน้ำอัดลมมีสารอาหารที่น้อยมาก ซึ่งสารอาหารเหล่านั้นอาจไม่มีประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ รวมถึงยังให้แคลอรีที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร รวมถึงวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการพัฒนาทารกในครรภ์เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีอาการติดน้ำอัดลม ควรใช้วิธีการจิบเพียงเล็กน้อย ไม่รับประทานบ่อยก็อาจไม่เป็นอันตรายได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องสามารถดื่มน้ำอัดลมได้มากเท่าไหร่?

คุณแม่ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนในช่วงตั้งครรภ์ โดยไม่ควรบริโภคคาเฟอีนเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งโดยปกติแล้ว น้ำอัดลมจะมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 35-55 มิลลิกรัม คุณแม่อาจต้องนับปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับจากอาหารอื่น ๆ ด้วย เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มชูกำลัง รวมถึงควรระวังไม่ให้ปริมาณคาเฟอีนในแต่ละวันสูงเกินไปอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : “น้ำอัดลม” น้ำหวานสุดอร่อย กินได้แค่ไหนไม่อันตรายต่อลูกในท้อง

 

 

เครื่องดื่มแบบไหนที่แม่ท้องควรดื่มแทนน้ำอัดลม?

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำที่ต้องการค่ะ โดยคุณแม่สามารถรับประทานเครื่องดื่มเหล่านี้ แทนการดื่มน้ำอัดลมได้

 

  • น้ำเปล่า

แน่นอนว่าการดื่มน้ำเปล่าเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรดื่มให้เพียงพอ โดยคุณแม่ควรดื่มน้ำ 8 ถึง 12 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำที่ต้องการ รวมถึงยังสามารถช่วยกระตุ้น และบำรุงร่างกายได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ชอบดื่มน้ำแร่ ควรจำกัดปริมาณในการดื่ม โดยไม่ควรบริโภคทุกวัน เพราะในน้ำแร่มีโซเดียมสูง อาจก่อให้เกิดอาการบวมได้

 

  • โซดา

คุณแม่สามารถดื่มโซดาในช่วงตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่ต้องระวังฟองอากาศในโซดา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้ ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งท้องยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เครื่องดื่มที่แต่งกลิ่น และรสชาติ

เครื่องดื่มที่แต่งกลิ่น และรสชาติจะมีสารให้ความหวานเทียมที่น้อยกว่าน้ำอัดลม ซึ่งคุณแม่สามารถทำเครื่องดื่มเหล่านี้ได้ ด้วยผสมผัก และผลไม้ลงในน้ำเปล่า ซึ่งจะช่วยให้ปลอดภัยน้อยกว่าการดื่มน้ำอัดลมนั่นเอง

 

  • น้ำปั่น

น้ำปั่นช่วยให้คุณแม่สดชื่นได้ และยังช่วยเพิ่มปริมาณสารอาหารที่สำคัญให้แก่ร่างกายได้เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงเช้า หากคุณแม่รับประทานน้ำปั่นก็จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การใส่กรีกโยเกิร์ตในน้ำปั่น ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดได้ แต่ก็ต้องระวังปริมาณน้ำตาลด้วยเช่นกัน

 

  • นม

การดื่มนมช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียม และวิตามินที่ดี แต่หากคุณแม่แพ้แล็กโทสหรือบริโภคมังสวิรัติ สามารถดื่มนมถั่วเหลือง หรือนมประเภทอื่น ๆ ได้เช่นกัน เพราะการดื่มนมสามารถช่วยบำรุงร่างกายให้กับตัวคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ได้เป็นอย่างดี

 

  • ชา

คุณแม่สามารถดื่มชาได้เช่นกัน แต่ต้องระวังไม่ให้ส่วนผสมของคาเฟอีนมากจนเกินไป เพราะชาสมุนไพรบางชนิด อาจมีส่วนผสมที่ไม่ปลอดภัย และมีคาเฟอีนที่มาก จึงควรดื่มอย่างพอเหมาะค่ะ โดยชาที่ถือว่าปลอดภัย และดีร่างกายคุณแม่ ได้แก่ ชาขิง ชามะนาว และชามินต์

 

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม ก็คงจะเห็นกันแล้วว่าน้ำอัดลมมีส่วนผสมที่ส่งผลเสียต่อร่างกายของแม่ และเด็กเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามหากคุณแม่อยากดื่มน้ำอัดลมจริง ๆ ก็ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ดื่มมากจนเกินไป และควรเลือกทานเครื่องดื่มแบบอื่นแทน เพื่อสุขภาพที่ดีแก่ตัวเอง และทารกในครรภ์ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

น้ำอัดลม เหมาะกับเด็กจริงหรือไม่? ควรให้หรือไม่ให้ลูกกิน?

คนท้องกินเบียร์ได้ไหม ? จริงหรือมั่วที่เบียร์จะช่วยล้างไขหุ้มตัวลูก

อาหารขยะ คนท้องกินได้ไหม? จังก์ฟู้ดปลอดภัยสำหรับคนท้องหรือเปล่า

ที่มา : motherhow, healthline, mamastory

บทความโดย

P.Veerasedtakul