สิทธิประโยชน์ที่สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส) ที่มอบให้กับผู้ประกันตนมีมากมายหลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในสิทธิประโยชน์ดี ๆ เหล่านั้น ก็มี ค่าคลอดประกันสังคม และ สิทธิประกันสังคมเกี่ยวกับการคลอดบุตรต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย มาดูกันว่าค่าประกันสังคมคนท้อง สิทธิคลอดบุตร เบิกได้เท่าไหร่ ยื่นประกันสังคมคลอดบุตร ยื่นยังไง เบิกค่าคลอดประกันสังคมยังไงได้บ้าง ฝากท้องประกันสังคม สิทธิประกันสังคมคนท้อง ต้องใช้เอกสารเยอะไหม และใช้อะไรบ้าง เบิกค่าคลอดประกันสังคม เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้ในบทความนี้แล้ว ไปติดตามกันเลย
ทำไมคุณแม่ต้องทำประกันสังคม เบิกค่าคลอดประกันสังคม สำคัญอย่างไร
เบิกค่าคลอดประกันสังคม คนท้องหลาย ๆ คน รู้สึกกังวลใจกับค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นในแต่ละวัน ยิ่งใกล้คลอดก็ยิ่งต้องจ่ายนู่นนั่นนี่เยอะแยะไปหมดเพื่อเตรียมต้อนรับลูกน้อย รวมทั้งยังต้องเตรียมค่าคลอดต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งการที่คุณแม่มีประกันสังคม จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการคลอด การฝากครรภ์ และการตรวจร่างกายต่าง ๆ
ค่าคลอดประกันสังคม คนท้องจะได้รับสิทธิประกันสังคมด้านใดบ้าง
สิทธิด้านประกันสังคมที่คนท้องจะได้รับ มีทั้งค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร สิทธิลาคลอดกับที่ทำงาน ค่าแท้งลูก เงินสงเคราะห์บุตร และเงินชดเชยกรณีหยุดงาน ซึ่งแต่ละอย่างก็มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เตรียมประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย AIA H&S Extra (new standard) คลิกที่นี่
1. ค่าฝากครรภ์
คุณแม่จะได้รับค่าฝากครรภ์เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท โดยแบ่งจ่ายออกเป็น 5 รอบ ได้แก่
- รอบที่ 1 เมื่อมีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 500 บาท
- รอบที่ 2 เมื่อมีอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 300 บาท
- รอบที่ 3 เมื่อมีอายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 300 บาท
- รอบที่ 4 เมื่อมีอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 200 บาท
- รอบที่ 5 เมื่อมีอายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 200 บาท
เอกสารที่ต้องใช้ :
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
- ใบเสร็จค่าฝากท้อง
- ใบรับรองแพทย์ (วันที่ตรงกับใบเสร็จรับเงินแต่ละใบ)
- สำเนาสูติบัตรลูก
- สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร
บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็คสิทธิ์ประกันสังคม มีวิธีการอย่างไร ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิต่าง ๆ อย่างละเอียด
2. เบิกค่าคลอดประกันสังคม ค่าคลอดบุตร
ในปี 64 เบิกค่าคลอดประกันสังคม ทางประกันสังคมได้จ่ายค่าคลอดบุตรให้เพิ่มเป็น 15,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง (จาก 13,000 บาท) โดยคุณแม่สามารถเบิกกับโรงพยาบาลไหนก็ได้ แต่ก็มีข้อแม้ว่า คุณแม่จะต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร และนอกจากนี้ คุณแม่จะสามารถใช้สิทธิเบิกค่าคลอดลูกได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น หากคุณพ่อมีประกันสังคมด้วย ก็จะเบิกเพิ่มได้อีก 2 ครั้ง
เอกสารที่ต้องใช้ :
- สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หากสามีเบิกแทนให้ใช้สำเนาทะเบียนสมรส
3. เงินชดเชยขณะที่ลาคลอด
ประกันสังคม จะจ่ายเงินสงเคราะห์ให้คุณแม่ในกรณีที่หยุดงานเพื่อลาคลอด 50% ของฐานเงินเดือนสูงสุด (ฐานเงินเดือน 15,000 บาท) เป็นเวลา 3 เดือน แต่มีข้อแม้ว่า คุณแม่จะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม 5 เดือนขึ้นไป ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร
เอกสารที่ต้องใช้ : ใช้เอกสารชุดเดียวกันกับค่าคลอด
4. เบิกค่าคลอดประกันสังคม ค่าแท้งบุตร
หากคุณแม่แท้งลูก หรือคลอดเด็กออกมาแล้วเด็กเสียชีวิต คุณแม่จะได้รับค่าคลอดและค่าลาหยุดงานจากประกันสังคม แต่มีข้อแม้ว่าคุณแม่จะต้องมีอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์
เอกสารที่ต้องใช้ : ใบมรณบัตรของลูก
5. เบิกค่าคลอดประกันสังคม เงินสงเคราะห์บุตร
เงินสงเคราะห์บุตร เป็นเงินที่ประกันสังคมจ่ายให้กับเด็กแรกเกิด ไปจนถึงเด็กที่มีอายุ 6 ปี โดยเด็ก 1 คน จะได้รับเงินเดือนละ 800 บาท แต่คุณแม่จะต้องจ่ายเงินสมทบให้ครบ 12 เดือน ก่อน 36 เดือนของการแจ้งสิทธิ ซึ่งประกันสังคมจะจ่ายให้กับเด็กครั้งละไม่เกิน 3 คน และเด็ก ๆ เหล่านั้นต้องเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยของคุณแม่เท่านั้น
เอกสารที่ต้องใช้ :
- สำเนาสูติบัตรลูก 1 ชุด
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หากสามีเบิกแทนให้ใช้สำเนาทะเบียนสมรสได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันมั้ย ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ทั้งนี้ คุณแม่ที่มีประกันสังคม ก็ยังสามารถลางานเพื่อไปคลอดบุตรได้ทั้งหมด 98 วัน (โดยรวมวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์) นอกจากนี้ ในปีนี้เอง สำนักงานประกันสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์บางอย่างให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โดยเพิ่มระยะเวลาในการจ่ายเงินสงเคราะห์ลาคลอดจาก 90 วัน เป็น 98 วัน รวมทั้งหากคุณแม่คนไหนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ก็จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เดือน
สถานที่ยื่นเรื่อง เบิกค่าคลอดประกันสังคม ประกันสังคม
คุณแม่สามารถเดินทางไปยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขาที่สะดวกได้เลยค่ะ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ส่วนช่องทางการรับเงิน ก็มีทั้งเงินสด เช็ค และโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับสิทธิ (หากไม่ว่างมารับเงินสดหรือเช็ค สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นมารับแทนได้)
รายชื่อธนาคารที่ใช้ยื่นเพื่อรับสิทธิประกันสังคมได้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
บทความที่เกี่ยวข้อง : หลังคลอดลูกต้อง แจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน ทำสูติบัตรให้ลูกต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
โรงพยาบาลที่สามารถฝากครรภ์และคลอดบุตรได้
สามารถฝากครรภ์หรือคลอดบุตรที่โรงพยาบาลอื่น นอกเหนือจากในบัตรรับรองสิทธิ์ได้ แต่ต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน แล้วค่อยนำเอกสารมายื่นเรื่องเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร
ค่าคลอดประกันสังคม คุณพ่อใช้สิทธิเบิกแทนคุณแม่ได้ไหม
คุณพ่อสามารถเบิกค่าคลอดบุตรให้คุณแม่ได้ แต่จะต้องมีประวัติส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร
นี่ก็เป็นข้อมูลทั้งหมดที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หากคุณแม่มีข้อสงสัย หรือมีเรื่องที่อยากติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม โทร 1506 ได้เลยค่ะ
เตรียมประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย AIA H&S Extra (new standard) คลิกที่นี่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ตั้งครรภ์รอบนี้ ต้องจ่ายเท่าไหร่
ประกันสุขภาพลูกน้อย เปรียบเทียบประกันสุขภาพ ประกันเด็ก ตัวไหนคุ้ม
อัปเดต 3 เงื่อนไข รับเงินเยียวยา ประกันสังคม ม.33 39 40
แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ ประกันสังคม คลอดบุตร ได้ที่นี่!
สิทธิ ประกัน สังคม คลอด บุตร มีอะไรบ้างคะ พอดีใกล้คลอดช่วงธันวาแล้วค่ะ
ที่มา : sso , bpaccountant , lumpsum , bangkokbiznews , dailynews