โรคกลัวสังคม อาการป่วยทางจิตที่มีอยู่จริง เช็คด่วนแบบไหนเข้าข่ายป่วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคยได้ยินคำว่า “Phobia” หรือ โรคกลัวกันบ้างรึเปล่า!? หนึ่งในโรคกลัวที่มีอยู่จริง และมีผู้ป่วยอยู่เป็นจำนวนมากก็คือ “โรคกลัวสังคม” เป็นอาการกลัวการเข้าสังคม ซึ่งเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านของการทำงาน มารู้จักโรคนี้ไปพร้อม ๆ กัน

 

โรคกลัวสังคม คืออะไร?

โรคกลัวสังคม หรือ โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia) เป็นภาวะป่วยทางจิตชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีอาการประหม่า รู้สึกอึดอัด กังวล ไม่สบายใจ เมื่อต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่มีคนเยอะ ๆ หรือ มีคนจับจ้องมองตนเอง เช่น การทำกิจกรรมในที่สาธารณะ การนำเสนองานหน้าที่ประชุม หรือ การพูดคุยกับคนใหม่ ๆ เป็นต้น ซึ่งหากผู้ป่วยอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว มักมีอาการมือสั่น เสียงสั่น เหงื่อออกมากผิดปกติ มีความตื่นเต้น และกังวลใจ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตนเองมีอาการป่วย หรือ ในผู้ป่วยบางรายอาจยังไม่เข้าใจตนเอง สับสนระหว่างความประหม่ากับอาการของโรค ทำให้ผู้ป่วยมักป่วยอยู่เสมอ ๆ ไม่สามาถดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธี

 

โรคกลัวสังคม จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ซึ่งจะพบได้ในวัยรุ่น และผู้ที่มีอาการกลัวการเข้าสังคม จะรู้สึกกลัวอย่างรุนแรง เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ และจะเป็นต่อเนื่องในระยะยาว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดีขึ้น และค่อย ๆ หายได้เอง แต่ส่วนมาก จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมทั่วไป ได้อย่างปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคกลัวสังคมเกิดจากอะไร?

ผู้ป่วยโรคกลัวสังคม มักเคยตกอยู่ในสถานการณ์บางอย่าง ที่ทำให้ตนเองรู้สึกแย่ จนเกิดเป็นความรู้สึกฝังใจ เช่น การถูกเพื่อนแกล้ง การถูกมองข้าม หรือสถานการณ์ใด ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกในแง่ลบ และฝั่งในกับเหตุการณ์นั้น ๆ ทำให้มีความกังวล ที่จะพูดคุยต่อหน้าคนจำนวนมาก โดยผู้ป่วยมักมีอาการช่วงแรกในวัยรุ่น เพราะเป็นวัยที่ต้องพูดต่อหน้าผู้คน และเป็นช่วยวัยที่ให้ความสำคัญ ต่อการประเมินของผู้อื่น

 

โรคกลัวสังคมอาจคล้ายกับภาวะทางจิตอื่น ๆ โดยสาเหตุมักเกิดจากปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล ร่วมกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่แน่ชัด แต่พบว่าหากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมาก่อน อาจส่งผลให้มีแนวโน้มในการเกิดโรคได้สูงขึ้น
  • ความผิดปกติของโครงสร้างสมอง โดยอาจมาจากสมองส่วนอะมิกดาลา ซึ่งเป็นตัวที่ตอบสนองต่อความกลัว หากสมองถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวผิดปกติ อาจทำให้ผู้ป่วย ตอบสนองต่อความกลัวสังคม ด้วยความเครียด และความวิตกกังวล
  • สภาพแวดล้อมของผู้ป่วย โรคกลัวสังคม อาจเกิดจากพฤิตกรรมการเลี้ยงดู เช่น เด็กที่เคยถูกรังแกจนทำให้อาย ถูกดุด่า ได้รับความรุนแรง ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือ ถูกกลั่นแกล้ง อาจทำให้รู้สึกหวาดกลัวเมื่อต้องเข้าสังคม
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความกดดันในการทำงาน ความผิดปกติทางร่างกาย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ อาจส่งผลให้เกิดความกลัว ที่จะเข้าสังคมได้

การรักษาโรคกลัวสังคมทำอย่างไร?

วิธีการรักษาโรคกลัวสังคม สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และผลกระทบของโรค ดังนี้

  1. การดูแลตนเอง

ผู้ป่วยสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ด้วยตนเองได้ ดังนี้

  • จัดการกับความเครียด ระมัดระวังอย่าให้ตนเองมีภาวะเครียดมากเกินไป
  • ออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมที่ได้ออกแรงบ้าง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดโอกาสการเกิดความวิตกกังวล
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. จิตบำบัด

จิตบำบัด เป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคกลัวต่าง ๆ โดยผู้ป่วยจะได้เรียนรู้ที่จะปรับมุมมองความคิด ทัศนคติในแง่ลบ และช่วยเสริมสร้างความมั่นในใจตนเอง ดังนี้

  • บำบัดด้วยการเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy) เป็นการพูดคุยกับนักจิตบำบัด เพื่อจัดการกับความกังวลด้วยการผ่อนคลายร่างกาย จิตใจ และปรับความคิด ทัศนคติ ให้มองโลกในแง่บวกมากขึ้น
  • การบำบัดด้วยการจำลองโลกเสมือนจริง (Exposure Therapy) เป็นการให้ผู้ป่วย ได้เผชิญกับสถานการณ์ที่รู้สึกกลัวอย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจ และทักษะที่จะรับมือกับความกลัวในสถานการณ์ดังกล่าว
  • การบำบัดกลุ่ม (Group Therapy) ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้ที่จะพูดคุย และสร้างปฏิสัมพันธ์กัยผู้อื่น ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งคนอื่น ๆ ในกลุ่ม ก็เป็นผู้ป่วยเช่นเดียวกัน ทำให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดไม่รู้สึกแปลกแยก

 

3. การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยา อาจเป็นการใช้ยาหลายชนิดในการรักษา ดังนี้

  • ยาต้านเศร้า ที่เหมาะสมกับการรักษา และก่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
  • ยารักษาภาวะวิตกกังวล ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ในระยะสั้น เนื่องจากเสี่ยงต่อการดื้อยา หรือ เสพติดยา
  • ยาเบต้า บล็อกเกอร์ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนอะดรีนาลีน ช่วยคบคุมอาการเฉพาะบางสถานการณ์ ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้

 

โรคกลัวสังคม เป็นอาการป่วยทางจิตชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาหรือการบำบัด เพราะอาจทำให้ส่งผลต่อหน้าที่การงาน หรือผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการบำบัดและการรักษา เพื่อแก้ไขปัญหา และรักษาโรค ให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

 

ที่มาข้อมูล 1 2

บทความที่น่าสนใจ

5 สัญญาณบ่งบอก โรคกลัวการเข้าสังคม โรคกลัวคนเยอะ ของลูก

20 โรคกลัว ภาวะโฟเบียที่น่าสนใจ โรคกลัวอะไรแปลก ๆ แบบนี้คุณเป็นหรือเปล่า!?

โรคกลัว (Phobia) อาการกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Waristha Chaithongdee