พัฒนาการทางสังคมเด็กวัย 8 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ห้ามละเลย

คุณพ่อคุณแม่ห้ามละเลยเด็ดขาด กับการส่งเสริม พัฒนาการทางสังคมเด็กวัย 8 เดือน เพราะหากไม่ใส่ใจดูแลตั้งแต่ต้น อาจส่งผลเสียให้กับเด็กในระยะยาวได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กในช่วงอายุ 8 เดือน จะเป็นวัยแห่งการพัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการสื่อสาร การรับรู้ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ในวัยนี้จะเป็นวัยที่คุณจะสามารถปลูกฝัง และสังเกต พัฒนาการทางสังคมเด็กวัย 8 เดือน หากจะถามว่าพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กวัยนี้ จะถูกแสดงออกมาในรูปแบบไหนบ้าง มาเช็คไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การพัฒนาของทารกวัย 8 เดือน เป็นอย่างไร?

 

 

เมื่อเด็กทารกเข้าสู่วัย 8 เดือน เด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับทุกสิ่งรอบ ๆ ตัว สนใจที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในทุก ๆ วัน รวมถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ดังนั้นการแสดงออกของเด็กในวัยนี้จะเป็นการเรียนรู้ผ่านการลอกเลียนแบบเป็นหลัก และจะถูกแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เช่น หากพวกเขาได้ยินใครบางคนร้องไห้ ตัวเด็กก็อาจจะเริ่มร้องไห้ตามเสียงนั้นด้วย

ทารกในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้จากการหยิบสิ่งของต่าง ๆ เริ่มแสดงออกถึงความรู้สึกของตัวเองออกมาดัง ๆ ตลอดทั้งวัน ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่แนะนำ เช่น หากเขาแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ทำหน้าเครียด คุณแม่อาจจะใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยนคอยบอกเขาว่าให้ใจเย็น ๆ ใช้มือลูบปลอบประโลม และเขาจะเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อเขามีอารมณ์ฉุนเฉียวเช่นนี้ เขาควรที่จะระงับอารมณ์ลง เป็นต้น

 

พัฒนาการทางสังคมเด็กวัย 8 เดือน หมายถึงอะไร?

การพัฒนาทางด้านสังคมของเด็ก เราจะมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการรับรู้ เข้าใจในเรื่องของอารมณ์ทั้งของตนเอง และผู้อื่น รวมไปถึงการควมคุมจัดการอารมณ์ของตัวเองในการแสดงออก เพื่อสื่อสารไปยังอีกฝ่าย ซึ่งพัฒนาการทางด้านสังคมนี้ จะเริ่มก่อตัวตั้งแต่วัยทารก ซึ่งจะส่งผลระยะยาวไปจนเติบใหญ่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ และผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ควรที่จะสังเกต และให้ความสำคัญกับการพัฒนาในส่วนนี้เป็นอย่างมาก เพราะหากการแสดงออกไม่ถูกไม่ควร และไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง อาจจะสายเกินแก้ และก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม และกับตัวเด็กเองได้ในอนาคต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่นที่น่าสนใจ : อ่านหนังสือให้เด็ก 8 เดือนฟังได้ไหม อายุเท่าไหร่เหมาะ ให้พัฒนาการพุ่งปี๊ด

 

 

ทำไมการพัฒนาทางด้านสังคมจึงสำคัญกับเด็กเล็ก?

แม้ว่าเด็กในวัยเพียง 8 เดือน จะไม่ได้ไปพบเจอกับใคร หรือยังสื่อสารได้ไม่คล่องก็ตาม นั่นเป็นเพราะ การฝึกฝนการควบคุมอารมณ์ตั้งแต่วัยนี้ จะส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ และการแสดงออกในอนาคตนั่นเอง

นั่นเป็นเพราะ “สังคม” เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการพัฒนาของเด็ก โดยเฉพาะเรื่องของ การแสดงออกทางด้านอารมณ์ (Emotional) พวกเขาจะได้เรียนรู้ทักษะที่สำคัญ เช่น ความสามารถในการสื่อสารกับคนอื่น ๆ แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยตนเอง การแสดงออกถึงความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เข้ามา ซึ่งทักษะต่าง ๆ เหล่านี้จะมีความสำคัญอย่างมากต่อความพร้อมในการเข้าสู่วัยที่จะต้องไปโรงเรียน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไม่ว่าจะเป็นการหาเพื่อน การเข้ารวมกลุ่ม การโต้ตอบผู้อื่นได้อย่างราบรื่น การรับมือกับความขัดแย้ง นั่นคือสิ่งที่ทำสำคัญอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตเมื่อเขาเติบโตขึ้น เพราะหากมีพื้นฐานที่ดี เขาจะมีทักษะการเข้าสังคมที่เข้มแข็ง และสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ง่ายขึ้น และยังส่งผลดีต่อความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขาในระยะยาวอีกด้วย

 

การพัฒนาทางด้านสังคมของเด็กวัย 8 เดือน มีอะไรบ้าง?

แม้ว่าเด็กในวัยนี้จะไม่สามารถพูดจาสื่อสารออกมาได้ แต่เขาสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาจากท่าทาง น้ำเสียง สีหน้า ซึ่งมีผลกับการสื่อสารกับสังคมที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมด้วย ซึ่งอาการชัดเจนที่คุณจะสังเกตได้ มีดังนี้

  • การแสดงออกทางด้านอารมณ์ที่ชัดเจนแตกต่างกันหลากหลายแบบ เช่น หัวเราะ เมื่อรู้สึกสนุก, ยิ้ม เมื่อรู้สึกมีความสุข, ร้องไห้ เมื่อรู้สึกเสียใจ หรือไม่ได้ดังใจ, การร้องเรียก โวยวาย เมื่อต้องการเรียกร้องความสนใจ เป็นต้น
  • การแสดงความไม่พอใจเมื่อต้องสูญเสียของเล่น
  • การโต้ตอบด้วยท่าทาง น้ำเสียง เมื่อคุณมีการพูดคุย หรือเล่นด้วย

บทความอื่นที่น่าสนใจ : พัฒนาการสื่อสารเด็กทารก สังเกตสัญญาณต่าง ๆ ของลูกน้อย พัฒนาการสมวัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมเด็กวัย 8 เดือน

  • ส่งเสริมด้วยการแสดงออก

เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถเข้าใจถึงภาษาที่คุณสื่อสารออกมาได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการแสดงออกด้วยท่าทาง ความรู้สึก การสัมผัส จึงมีความหมายในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น การแสดงให้เขารับรู้ว่าคุณรักเขา คุณอาจจะใช้วิธีการโอบกอด พูดคุย ด้วยสัมผัส และน้ำเสียงที่มีความอ่อนโยน

  • ส่งเสริมให้ลูกได้ลองสิ่งใหม่ ๆ

การฝึกให้เด็กรู้จักลองสัมผัส หรือลองทำสิ่งใหม่ ๆ จะเป็นการท้าทายความสามารถ เสริมสร้างพัฒนาการด้านอื่น ๆ รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเด็กเองด้วย ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ฝึกลูกให้ได้ลองสิ่งใหม่ ๆ เขาจะรู้สึกได้ถึงความท้าทาย และไม่รู้สึกหวาดกลัวเมื่อจะต้องพบเจอกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคยในอนาคต

  • เปิดโอกาสให้ลูกคุณได้เล่นกับเด็กคนอื่น ๆ

การพาลูกไปพบเจอกับเด็กคนอื่น ๆ ที่มีอายุเท่ากัน หรือมีวัยใกล้เคียงกัน จะทำให้เขาเริ่มเรียนรู้การเข้าสังคมที่ดีมากในอีกรูปแบบหนึ่ง เขาจะรับรู้ว่า ในโลกใบนี้ ไม่ได้มีเพียงคุณพ่อคุณแม่ หรือคนที่บ้านเท่านั้น คนที่มีลักษณะ หรือวัยเดียวกับเขาก็ยังมีด้วยเช่นกัน แม้ว่าเด็กวัยนี้จะยังพูดออกมาไม่ได้ แต่ตัวเด็ก จะมีการสื่อสารในรูปแบบของเขาออกมา ซึ่งบางครั้งคุณเองอาจจะคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

  • แสดงความรู้สึกของคุณ

การแสดงออกถึงความรู้สึกของคุณต่อลูกน้อยวัยนี้จะเป็นการเรียนรู้ และการพัฒนาที่ดี และง่ายที่สุด เนื่องจาก เขาสามารถสัมผัสได้จริง และรู้สึกถึงอารมณ์ความรู้สึกนั้นได้ โดยเฉพาะเด็กวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้ และเลียนแบบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องตระหนักไว้ให้ขึ้นใจเลยว่า การแสดงออกของคุณพ่อคุณแม่นั้น จะถูกสะท้อนออกมากับลูกน้อยในวัยนี้ได้อย่างชัดเจน

  • การกำหนดกิจวัตรประจำวัน

การทำสิ่งต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เป็นขั้นเป็นตอน จะทำให้เด็กมีการเรียนรู้ และรู้สึกเตรียมพร้อม ไม่เกิดความประหม่า หรือกังวล จะตนเองจะต้องเผชิญกับสิ่งใดในอนาคต ทำให้พื้นฐานทางด้านอารมณ์ของเด็ก เกิดความมั่นคง และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

  • การรับรู้ความรู้สึกของลูก

คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้เวลาที่จะเรียนรู้ และรับรู้ความรู้สึกของลูกน้อยของคุณ เช่น เมื่อคุณแสดงออกว่ารักลูกด้วยการหอมแก้ม การกอดแล้ว ให้รอดูการแสดงออกที่โต้กลับคืนของลูกน้อยของคุณด้วย ว่าเขาจะแสดงออกด้วยวิธีไหน จะทำให้การสื่อสารครบถ้วนสมบูรณ์ และเข้าใจซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คุณแม่ต้องอ่าน! พัฒนาการทางสังคม ของลูกน้อยวัย 1-36 เดือน

เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก

10 วิธีแก้ปัญหา ลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ควรทำอย่างไร? สาเหตุที่เราต้องรู้

ที่มา : parents, holmskaya

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Arunsri Karnmana