เรื่องของการนอน คงเป็นเรื่องที่บางคนให้ความสำคัญ และบางคนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญมากเท่าไหร่ แต่รู้หรือไม่ว่า คนเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมง และนอนอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะพาไปดูสาระน่ารู้ เรื่องของการนอนกัน
คนเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมง ?
แต่ละคน คงมีกิจวัตรประจำวัน และเวลาการพักผ่อนไม่เท่าเทียมกัน แต่วันนี้ เราจะพาไปดูว่า คนเรา ในแต่ละช่วยวัย ควรนอนวันละกี่ชั่วโมง ให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ดังนี้
- เด็กแรกเกิด อายุ 0-3 เดือน ควรนอน 14-17 ชั่วโมง ต่อวัน
- เด็กทารก อายุ 4-11 เดือน ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
- เด็กเล็ก อายุ 1-2 ปี ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
- เด็กอนุบาล อายุ 3-5 ปี ควรนอน 10-13 ชั่วโมง
- เด็กประถม อายุ 6-13 ปี ควรนอน 9-11 ชั่วโมง
- เด็กมัธยม อายุ 14-17 ปี ควรนอน 8-10 ชั่วโมง
- วัยรุ่น อายุ 18-25 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
- วัยทำงาน 26-64 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
- วัยชรา อายุ 65 ปี ขึ้นไป ควรนอน 7-8 ชั่วโมง ต่อวัน
นี่เป็นเวลาที่แนะนนำ ว่าในแต่ละวัย ควรนอนอย่างน้อยกี่ชั่วโมง แต่สามารถบวก ลบ ได้ 1 ชั่วโมง ในบางกรณี เช่น วัยรุ่น หรือ วัยทำงาน สามารถนอน 6-10 ชั่วโมง ได้ โดยไม่ได้แปลว่านอนน้อย หรือมากจนเกินไป
เราควรนอน และ ตื่น กี่โมงถึงจะดี?
การนอนให้ได้คุณภาพ ไม่จำเป็นต้องนอนในชั่วโมงเยอะ ๆ แต่การนอนที่ดี ต้องเข้านอนให้ถูกเวลา เนื่องจาก โกรทฮอร์โมน ในร่างกาย จะหลังออกมาได้ดีที่สุด ในเวลาเที่ยงคืน ไปจนถึงตีสี่ ดังนั้น เวลาที่ควรนอน คือ ก่อนเที่ยงคืน โดยฮอร์โมนนี้จะช่วยเรื่อง การเจริญเติบโตของร่างกายสำหรับเด็ก และสำหรับผู้ใหญ่จะช่วยในเรื่องการซ่อมแซมร่างกาย และชะลอริ้วรอยต่าง ๆ
ระดับของการนอนหลับ
โดยปกติแล้ว วงจรการนอนของคนเรา แบ่งได้เป็น 2 ช่วงระดับ ได้แก่ ช่วงหลับธรรมดา และ ช่วงหลับฝัน ดังนี้
ช่วงหลับธรรมดา
ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid- Eye Movement Sleep หรือ Non-REM Sleep) สามารถแบ่งได้เป็นอีก 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 – ร่างกายของเราเริ่มง่วง เป็นช่วงที่เราเริ่มจะนอนหลับ โดยทั่วไป มักจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งสมองจะเริ่มทำงานช้าลง ในช่วงนี้ หากถูกปลุกให้ตื่น เรามักจะตื่นได้โดยไม่งัวเงีย เป็นความรู้สึกเหมือนกับว่าเรายังไม่ได้นอน บางคนอาจเคยเจอปรากฏการณ์ตกใจตื่น หรือ การรู้สึกเหมือนเราตกจากที่สูง แล้วสะดุ้งตัวตื่นขึ้นมา ซึ่งการนอนในระยะนี้ มักไม่ค่อยส่งผลกับร่างกายของเรามากนัก
- ระยะที่ 2 – ช่วงนี้เรียกว่าช่วงผล็อยหลับ หรือเคลิ้มหลับ เป็นช่วงรอยต่อ ระหว่างการเริ่มหลับ ไปยังหลับลึก หลับสนิท ในระยะนี้ หัวใจของเราจะเริ่มเต้นช้าลง อุณหภูมิในร่างกายของเราจะลดลงเล็กน้อย ปกติช่วงนี้จะใช้ระยะเวลากว่า 50% ของการนอน ซึ่งการนอนในช่วงนี้ จะส่งผลต่อร่างกาย ในด้านการกระตุ้นความทรงจำ ระยะสั้น และช่วยให้มีสมาธิได้
- ระยะที่ 3 – ช่วงหลับลึก ช่วงนี้ร่างกายจะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ถ้าถูกปลุกในระยะนี้ จะมีความงัวเงียมาก เพราะร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อนมากที่สุด และเป็นช่วงที่มีการหลัง โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)
ช่วงหลับฝัน
ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep หรือ REM Sleep) จะเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวไปมาของตาอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้ สมองของเราจะทำงานใกล้เคียงเหมือนกับตอนที่เราตื่น ช่วงนี้เป็นช่วงที่จะฝันมากกว่าการนอนหลับช่วงอื่น ๆ การนอนหลับช่วงนี้มีความสำคัญ และจะช่วยเรื่องความทรงจำ การเรียนรู้ การสร้างจินตนาการอย่างถาวร
วงจรการนอนหลับทำงานยังไง?
เมื่อเราหลับ เราจะเข้าสู่การหลับแบบธรรมดา ในระยะที่ 1 และจะค่อย ๆ ไปสู่ระยะที่ 2 และ 3 ตามลำดับ แล้วจึงถอยกลับ จากระยะที่ 3 ไประยะที่ 2 และ กลับสู่ระยะที่ 1 แล้วจึงเข้าสู่ช่วงการหลับฝัน แล้วกลับเข้าสู่การหลับแบบธรรมดา ระยะที่ 1 2 และ 3 อีกครั้ง เป็นการเริ่มต้นรอบใหม่ ของวงจรการนอนกลับ
จากจุดเริ่มต้นของช่วงการนอนหลับฝัน ไปสู่จุดเริ่มต้นของการนอนหลับฝันอีกครั้งหนึ่ง จะเรียกว่าเป็น 1 รอบการนอน การนอนใช้เวลาประมาณ 90 นาที ซึ่งประกอบไปด้วยช่วงการนอนแบบธรรมดา ประมาณ 80 นาที และช่วงการนอนหลับฝันอีก 10 นาที ในหนึ่งคืนของการนอน ควรมีรอบการนอนประมาณ 3-6 รอบ จะถือว่าเป็นการนอนที่ดี และได้ประสิทธิภาพ
การนอนเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเรา ทั้งในเรื่องสุขภาพ และด้านความงาม สำหรับสาว ๆ อย่างเรา คงต้องใส่ใจกันเป็นพิเศษ เพราะผู้หญิงอย่างเรา ต้องสวย และสุขภาพดีจากภายใน
ที่มาข้อมูล :nksleepcenter , 2 , mendetails
บทความที่เกี่ยวข้อง :
รู้ได้อย่างไร…ว่าคุณต้องการนอนมากน้อยแค่ไหน?
ลูกหลับยาก แก้ไขด้วย 9 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมนอนแบบได้ผล
หลับดี สมองไว กับเทคนิคการนอนจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ครั้งแรกของเมืองไทย โดย S-26 Progress GOLD