โรคมะเร็งผิวหนัง ภัยร้านสุดอันตรายที่มากับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสงแดดที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนั่นเอง เป็นอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม อาจมีความรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทความนี้จะพาไปดูข้อมูล ที่จะให้ผู้อ่านรู้เท่าทัน สาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน โรคมะเร็งผิวหนัง กัน
โรคมะเร็งผิวหนังคืออะไร?
โรคมะเร็งผิวหนัง เป็นโรคที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติ ของการเจริญเติบโต ของเซลล์ผิวหนัง ซึ่งสามารถเกิดบนบริเวณผิวหนัง ส่วนใดก็ได้ในร่างกายของเรา และสามารถแตกตัว แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ หากอยู่ในระยะลุกลาม และโรคทวีความรุนแรงขึ้น
ชนิดและอาการของโรคมะเร็งผิวหนัง
โรคมะเร็งผิวหนัง มี 3 ชนิด ซึ่งอาการจะมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ละชนิดต่าง ๆ ดังนี้
-
มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ (Basal Cell Carcinoma-BCC)
โรคมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ เป็นชนิดที่พบได้ย่อยที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มคนผิวขาวอย่างชาวตะวันตก ซึ่งมะเร็งชนิดนี้ จะเกิดขึ้นในบริเวณที่ผิวหนังสัมผัสกับแดดเป็นประจำ เช่น ใบหน้า ลำคอ ซึ่งผิวของผู้ป่วยจะมีลักษณะที่สังเกตได้ คือตุ่มมันวาว และมีแผลเป็นสีน้ำตาล ลักษณะเรียบแบน ตามบริเวณ
อาการ : อาการที่เห็นได้ชัด คือ มีตุ่มเนื้อสีชมพู สีแดง ปรากฎขึ้น โดยจะมีลักษณะที่มัน และมีเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ กระจายอยู่ หรือในบางครั้ง อาจพบเป็นลักษาสะเก็ด ขุย ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะค่อย ๆ โตอย่างช้า ๆ และเติบโตไปเรื่อย ๆ จนแผลแตก และกลายเป็นแผลเรื้อรังในที่สุด
-
มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma-SCC)
เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย รองจากชนิดเบซัลเซลล์ ซึ่งเกิดในบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดแรก เช่น บริเวณหู ใบหน้า มือ เป็นต้น แต่ในผู้ที่มีผิวคล้ำ อาจเกิดได้ในบริเวณ ที่ไม่สัมผัสกับแดดเช่นกัน
อาการ : มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ จะมีอาการแรกเริ่ม เป็นตุ่มเนื้อสีชมพู หรือสีแดง มีลักษณะเป็นขุย และตกสะเก็ด เมื่อสัมผัสจะรู้สึกถึงความแข็ง ไม่เรียบ และสีไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นแผลเรื้อรัง
-
มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma)
มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงมากกว่าชนิดอื่น ๆ และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเซรในร่างกาย แต่สามารถพบได้บ่อย บริเวณใบหน้า และขาส่วนล่าง โดยสามารถสังเกตอาการผิดปกติ ได้อย่างชัดเจน
อาการ : มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา จะมีลักษณะคล้ายกับไฝ หรือ ขี้แมลงวัน แต่จะโต และขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจมีการตกสะเก็ด และเลือดออกด้วยเช่นกัน ลักษณะที่สังเกตได้ คือ ตุ่ม หรือ ก้อนแข็งคล้ายกับไฝดำ ขอบไฝไม่เรียบ และมีขนาดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อีกทั้งยังอาจมีเลือดออกจากไฝได้
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
โรคมะเร็งผิวหนัง มีสาเหตุหลักที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค คือ รังสีอัลตราไวโอเล็ต หรือรังสียูวีจากแสงแดด ที่เรารู้จักนั่นเอง ซึ่งนอกจากรังสีอัลตราไวโอเล็ตแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ ดังนี้
- ผู้ที่มีผิวขาวซีด เพราะผิวหนังจะมีปริมาณเม็ดสีน้อยกว่า
- ผู้ที่มีความจำเป็นต้องอยู่กลางแดด หรือสัมผัสกับแสงแดด เป็นเวลานาน โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกัน หรือ ทาครีมกันแดด
- ผู้ที่มีไฝ หรือ มีขี้แมลงวัน จำนวนมากกว่าปกติ
- ผู้ที่ทางครอบครัว เคยมีประวัติการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง หรือ เป็นผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังมาก่อน
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือ ผู้ที่มีเชื้อ HIV
- ผู้ที่ได้รับรังสีอันตราย ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- ผู้ที่มีประวัติการสัมผัสกับสารเคมี เป็นเวลานาน
การตรวจหาโรคมะเร็งผิวหนัง
-
การตรวจด้วยตนเองเบื้องต้น
การตรวจมะเร็งผิวหนังด้วยตนเองเบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยการสังเกต ตุ่มเนื้อ ก้อนเนื้อ ที่มีความผิดปกติ บริเวณผิวหนัง หรือ มีแผลเรื้อรัง ในบริเวณที่มักจะสัมผัสกับแดด เป็นเวลานาน ๆ หากสังเกตเห็นความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที
-
การวินิจฉัยโดยแพทย์
เมื่อพบความผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันที แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อ หรือ ตุ่มเนื้อ ที่มีความผิดปกติ ไปทำการตรวจหาเชื้อมะเร็ง ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง อีกทั้ง แพทย์อาจจัดให้ผู้ป่วย อยู่ในระยะก่อนมะเร็ง เพื่อทำการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาการต้องสงสัย อาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้
การรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง
การรักษาโรคมะเร็งผิวหนัง จะแบ่งการรักษาตามระยะ และขนาดของก้อนเนื้อที่ผิดปกติ ที่พบ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยชนิดของมะเร็ง และการรักษา ซึ่งการรักษาที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีดังนี้
-
การกำจัดก้อนเนื้อที่ผิดปกติ
การกำจัดก้อนเนื้อด้วยการขูดออก หรือ การจี้ด้วยไฟฟ้า เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง ที่ยังมีขนาดก้อนเนื้อที่เล็ก ทำให้สามารถคว้านเนื้อร้ายออกได้ จากนั้นจะทำกระแสไฟฟ้ามาจี้ที่เนื้อเยื่อโดยรอบ
-
การรักษาด้วยการจี้เย็น
วิธีการรักษาด้วยการจี้เย็น มักใช้ในมะเร็งผิวหนังระยะเริ่มต้น ซึ่งจะทำไนโตรเจนเหลว มาจี้บริเวณผิวหนังที่เป็นมะเร็ง ผิวหนังบริเวณนั้นจะมีการตกสะเก็ด ซึ่งสะเก็ดจะหลุดออก
-
การผ่าตัดผิวหนัง
การรักษาด้วยการผ่าตัด จะทำให้ก้อนเนื้อบริเวณผิวหนัง หลุดออก ซึ่งการรักษาอาจนำผิวหนังส่วนอื่นมาปิดแผล เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และเกิดแผลเป็นน้อยที่สุด
โรคมะเร็งผิวหนัง เป็นโรคที่สาเหตุหลักมาจากรังสีผัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวีที่เรารู้จักกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ หากไม่ต้องการให้โรคร้ายโรคนี้ เข้ามารุกรานในชีวิตประจำวันของเรา ก็ควรป้องกัน และหลีกเลี่ยง การได้รับรังสีอันตราย รวมถึงรังสียูวี เพื่อความปลอดภัยและความสวยงามของผิวเรานั่นเอง
ที่มาข้อมูล : พบแพทย์ , โรงพยาบาลพยาไทกรุงเทพ
บทความที่น่าสนใจ :
มะเร็งมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง คุ้มครองอะไรได้บ้าง
โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร วิธีสังเกตตัวเอง เตรียมพร้อมก่อนสายเกินแก้!
10 สัญญาณโรคมะเร็งที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้ โรคมะเร็งที่สาว ๆ ต้องระวัง