ไซนัสอักเสบ อารการเป็นอย่างไร โรคไซนัสอักเสบรักษาอย่างไร เหตุเกิดจากอะไร

หลายๆ คนสงสัยใช่ไหมว่า ไซนัสอักเสบอาการเป็นอย่างไร ป้องกันการเกิดไซนัสอักเสบอย่างไร ไซนัสอักเสบ เกิดจากอะไร แล้วมีวิธีรักษาให้หาขาดไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ไซนัสอักเสบ มีอาการอย่างไร ไซนัสอักเสบคืออะไร สาเหตุของการเกิดไซนัสอักเสบ โรคไซนัสอักเสบมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง มาหาข้อมูลพร้อม ๆ กันเลย

 

ไซนัสอาการเป็นอย่างไร โรคไซนัสอักเสบรักษาอย่างไร เหตุเกิดจากอะไร

ไซนัสอักเสบ คืออะไร

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) คือ เป็นภาวะที่เยื่อบุบบริเวณโพรงอากาศข้างจมูกเกิดการอักเสบบวมจากการติดเชื้อ ทำให้เกิดการคัดจมูก มีน้ำมูนข้น ปวดบริเวณ ตา หน้าผาก โหนกแก้ม ฟัน ไอ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น สามารถเกิดได้ทั้งแบบฉับพลัน และเรื้อรัง ซึ่งการรักษาสามารถทำได้โดยการดูแลตนเองร่วมกับใช้ยาตามที่ทางแพทย์สั่ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของไซนัสอักเสบ

อาการของไซนัสอักเสบ คือ เนื่องจากไซนัสอักเสบเกิดขึ้นบบริเวณเยื่อบุไซนัสที่บริเวณโหนกแก้ม โพรงจมูก แบะกระดูกหน้าผาก อาการของไซนัสส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ดังต่อไปนี้

  • หายใจติดขัด อึดอัด คัดจมูก
  • มีน้ำมูกสีเขียว หรือสีเหลืองข้น
  • ประสาทรับกลิ่นไม่ค่อยจะดี
  • ปวดยริเวณไซนัส ได้แก่ โหนกแก้ม หัวตา หน้าผาก และจมูกตรงระหว่างคิ้ว
  • ปวดฟัน ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และมีกลิ่นปาก
  • มีไข้ อ่อนเพลีย
  • ไอ จาม เจ็บคอ มีมูกข้นในลำคอ หรือมูกไหลลงลำคอ

 

อารการเป็นอย่างไร โรคไซนัสอักเสบรักษาอย่างไร เหตุเกิดจากอะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของไซนัสอักเสบ

สาเหตุของการเกิดไซนัสอักเสบ คือ ไซนัสอักเสบเกิดจากเยื่อบุไซนัส ติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านเข้ามาทางกระบวนการหายใจ จนทำให้เนื้อเยื่อเกิดอาการบวม สารคัดหลั่งเมือกเหลวที่ผลิตขึ้นจึงทำให้เกิดการอุดตันกลายเป็นหนองอักเสบ กรือมีน้ำมูกเขียวข้น และทำให้เกิดอาการคุดจมูก น้ำมูกไหล มีอาการปวดบริเวณไซนัสที่อักเสบ และมีอาการป่วยอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย ไซนัสอักเสบมักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบในอัตรา 90% ของผู้ป่วย หากว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือการพัฒนาโรคที่รุนแรงขึ้นไปอีก อาการจะทุเลาลงและหายดีเองภายในระยะเวลาประมาณ 10 วัน ในขณะที่การติดเชื้อแบคทีเรียจนทำให้ไซนัสอักเสบจะพบได้ไม่บ่อยเท่าไหร่นัก ประมาณ 5 - 10% เท่านั้น และต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะ มักจะมีอาการนานกว่า 10 หรือการการแย่ลงกว่าเดิมหลังจากเป็นมานาน 5 วัน

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอักเสบอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ทุเลาหรือเบาลง หรือลุกลามยาวนานจนกลายเป็นไซนัสอักเสบระยะเรื้อรัง มีปัจจัยอยู่หลายอย่าง เช่น การป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะภูมิแพ้อากาศ และหอบหืด การเกิดเนื้องอกในจมูก การเกิดผนังกั้นช่องจมูก การมีภูมิคุ้มกันต่ำ และการสูบบุหรี่ เป็นต้น

 

การรักษาอาการไซนัสอักเสบ

  1. ในผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่แล้วให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด , ให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
  2. ผู้ที่ป่วยไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่มาก เช่น ปวดเล็กน้อย ไข้ต่ำกว่า 38.3°C แนะนำให้สังเกตอาการและจะให้ใช้ยาต้านจุลชีพ เมื่ออาการของผู้ป่วยนั้นไม่ค่อยดีขึ้น หรือแย่ลงภายใน 7 วัน  อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงอายุ สุขภาพโดยทั่วไปและโรคประจำตัวของผู้ป่วยด้วย
  3. ยาต้านจุลชีพชนิดแรกที่ควรให้เลย คือ amoxicillin และควรให้เป็นระยะเวลา 10 - 14 วัน (ถ้าแพ้ penicillin อาจพิจารณาให้ trimethoprim/ sulfamethoxazole หรือ macrolides) และถ้าให้ยาต้าน จุลชีพ 7 วันแล้วไม่ดีขึ้น เชื้อก่อให้เกิดโรคอาจจะไม่ใช่แบคทีเรีย หรือเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา ดังนั้นควรทำการเพาะเชื้อเพื่อ จะได้ใช้ยาที่เหมาะสมกับเชื้อก่อโรคนั้น ๆ และเปลี่ยนยาต้านจุลชีพเป็นชนิดอื่น ๆ ระหว่างรอผลผเพาะเชื้อ หากผู้ป่วยที่เคยได้รับยาต้านจุลชีพมาก่อนภายใน 6 สัปดาห์ก่อน หรือในผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง อาจจะต้องพิจารณาเปลี่ยนกลุ่ม หรือขนาดยา  ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกสามารถใช้ในการรักษาไซนัสอักเสบเฉียบพลันด้วย เพื่อบรรเทาอาการผู้ป่วย
  4. สำหรับผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง เชื้อแบคทีเรียอาจจะยังไม่ใช่สาเหตุของการเกิดไซนัสอักเสบ ซึ่งจากการศึกษาเพาะเชื้อที่แยกจากโพรงไซนัสอของคนปกติ และผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง พบว่าการมีเชื้อแบคทีเรียไม่แตกต่างกันในคนทั้ง 2 กลุ่ม การให้ยาต้านจุลชีพรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ยังไม่มีการวิจัยสนับสนุน ดังนั้น จะเลือกให้ในรายที่พบการเกิด ไซนัสอักเสบเฉียบพลันขึ้นซ้ำ acute exacerbation) และควรทำการเพาะเชื้อเพื่อเลือกชนิดยาต้านจุลภาพ ที่เหมาะสมก่อนเสมอ เพราะจากการศึกษา ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ พบมีการเปลี่ยนแปลงชนิดของเชื้อแบคทีเรียในแต่ระยะวลา ที่ทำให้การเพาะเชื้ออจากผู้คนเดียวกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะแทรกซ้อนของเชื้อไซนัสอักเสบ?

แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่การติดเชื้อไซนัสที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้โดยทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือติดเชื้อในสมอง ตา หรือกระดูกใกล้เคียง เยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง (meninges) ที่ปกคลุมสมองและไขสันหลัง

 

อารการเป็นอย่างไร โรคไซนัสอักเสบรักษาอย่างไร เหตุเกิดจากอะไร

จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตเพื่อรับมือไซนัสอักเสบหรือไม่?

หากคุณมีอาการแพ้ ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น สะเก็ดผิวหนังและไรฝุ่นของสัตว์ เป็นต้น เช่นเดียวกับการใช้ยา ไม่แนะนำให้สูบบุหรี่ แต่ถ้าคุณสูบบุหรี่ ให้พิจารณาโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ควันยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ และป้องกันการกำจัดเมือกที่จมูก ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารพิเศษ แต่การดื่มน้ำมากเป็นพิเศษจะช่วยให้น้ำมูกไหลออกมาบางได้

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไข้เลือดออก คืออะไร โรคไข้เลือดออกเกิดจากอะไร มีอาการอะไรบ้าง เป็นภัยร้านหน้าฝนที่ควรระวัง!!

อาการไซนัสอักเสบ ในเด็ก เป็นยังไง? เป็นแล้วต้องไปหาหมอไหม?

โรคความดันโลหิตสูง อาการและแนวทางรักษา ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://my.clevelandclinic.org , https://www.pobpad.com/ , https://www.bumrungrad.com/

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kittipong Phakklang