สัญญาณบ่งบอกความเสี่ยงในการแท้งบุตร

หากมีอาการแปลกๆ ดังต่อไปนี้ ขอแนะนำให้ว่าที่คุณแม่ทุกท่านไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกความเสี่ยงในการแท้งบุตรค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. การหลั่งเลือด

การหลั่งเลือดเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจแท้งได้ หากคุณมีอาการเลือดไหลต่อเนื่อง ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ การหลั่งเลือดไม่ได้บอกว่าคุณจะแท้งเสมอไป การหลั่งเลือดอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ รกติดอยู่ที่ปากมดลูก เป็นต้น

2. ปวดอุ้งเชิงกราน

หากคุณปวดอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง พร้อมมีอาการท้องร่วง อาเจียน หรือ มีอาการปวดเหมือนปวดประจำเดือน และมีอาการหลั่งเลือดด้วย นี่อาจเป็นสัญญาณถึงการแท้งบุตร ทั้งนี้ อาการเจ็บปวดอาจไม่ได้บ่งบอกว่าคุณต้องแท้งเสมอไป แต่หากคุณมีอาการหลั่งเลือดมากและหลั่งเลือดไม่หยุด รีบพบแพทย์ อย่างน้อยหากมีอาการอื่นที่ไม่ใช่การแท้ง ก็จะได้รักษาได้ทันท่วงที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. อาการต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์หายไป

หากจู่ ๆ คุณหายจากอาการต่าง ๆ ของผู้หญิงตั้งครรภ์ (เช่น หน้าอกบวมใหญ่ขึ้น หรืออื่น ๆ) นี่อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะแท้งบุตร วิธีที่จะตรวจสอบได้ว่าการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงหรือยัง ก็คือการอัลตร้าซาวน์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตรมีหลายอย่าง ปัจจัยส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยบางอย่างก็ไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ เช่น อายุของคุณแม่ที่มากขึ้น หรือในบางครั้งอาจไม่พบปัจจัยเสี่ยงในคุณแม่ที่แท้งบุตรเลย (โดยเฉลี่ยอาจพบการแท้งบุตรตามธรรมชาติได้ถึงร้อยละ 10-15)

การเตรียมตัวคุณแม่เพื่อป้องกันการแท้งบุตร
  1. ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
  2. ควรรักษาโรคประจำตัวให้เป็นปกติหรือควบคุมโรคได้ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันเลือดสูง, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันผิดปกติ (SLE และ antiphospholipid syndrome) เป็นต้น
  3. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  4. ควรลดน้ำหนักตัวให้เป็นปกติก่อนการตั้งครรภ์
  5. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
สิ่งที่ต้องเลี่ยงเมื่อตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก
  • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่ไม่สุก, ชีสหรือเนยแข็ง, ไส้กรอกและแฮม, ชาและกาแฟ, น้ำอัดลม
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อบางโรคระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน โดยการหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีคนแออัด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค
สิ่งที่คุณแม่ต้องเลี่ยงเมื่อตั้งครรภ์

งดการสูบบุหรี่ / การดื่มแอลกอฮอล์ / การใช้สารเสพติด

กิจกรรมของคุณแม่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
  • การออกกำลังกาย สามารถทำได้ตามปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์

โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกีฬาที่อาจมีการกระแทก, การกระโดด และการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก ดังนั้น คุณแม่สามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, เต้นแอโรบิค, โยคะ และอื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย

  • การมีเพศสัมพันธ์

ในการตั้งครรภ์ที่ปกติการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ดังนั้น ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย

อาจทำให้คุณแม่มีอาการปวดเสียดมดลูกได้ เช่นเดียวกันกับการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน การทำงานไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

  • การทำงานในที่ทำงานหรือการทำงานบ้าน

ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีหรือสิ่งที่อันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง, สารระเหย, โลหะหนักที่ผสมในสารเคมี, รังสีจากที่ทำงาน เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ถ้าคุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ปวดท้องตลอดเวลา, เลือดออก หรือมีภาวะแท้งคุกคาม

ให้หยุดกิจกรรมทุกอย่าง นอนพักผ่อนให้มาก และพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษา

ที่มา https://www.sofeminine.co.uk

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team