โรคงูสวัด คืออะไร อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!!

หลาย ๆ คนคงไม่รู้จักโรคงูสวัดกันใช่ไหม ว่าโรคงูสวัดคืออะไร น่ากลัวหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร สาเหตุการเกิดโรคงูสวัดมาจากอะไร อันตรายใกล้ตัวหรือไม่ มาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคงูสวัด คืออะไร หลาย ๆ คนคงสงสัยใช่ไหมว่า โรคงูสวัดอาการเป็นอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาโรคงูสวัดอย่างไรได้บ้าง แล้วอันตรายหรือไม่ มาดูกันเลย

 

ขอขอบคุณวีดีโอจาก : https://www.youtube.com , Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

 

โรคงูสวัด คืออะไร

โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา(varicella virus) ที่เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิด โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เมื่อเชื้อไวรัสเริ่มเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มน้ำใสโดยตรง และเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อก็จะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใส และเมื่อหายเป็นปกติแล้ว เชื้อดังกล่าวจะหลบอยู่บริเวณปมประสาทของร่างกาย และจู่โจมร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอจนเกิดเป็นงูสวัด และงูสวัดเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นโรคที่สามารถที่จะรักษาให้หายได้หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ยิ่งไปพบแพทย์เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน หากทำการปล่อยทิ้งไว้นานจนเกิดไป อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : งูสวัด ทารก โรคงูสวัดในเด็กเล็ก อาการของทารกที่เป็นโรคงูสวัด แม่จะสังเกตได้ยังไง

 

โรคงูสวัดคืออะไร อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!! ดูได้ที่นี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของงูสวัด

สาเหตุของการเกิดงูสวัดนั้น มาจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส โรคอีสุกอีใสสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน แตต่ว่างูสวัดนั้นสามารถที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีสมาก่อนเท่านั้น โดยเมื่อเชื้อไได้เข้าไปจู่โจมร่างกายจนเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วก็จะไปหลบตามปมประสาท และได้กลายเป็นงูสวัดในภายหลัง ขณะที่กลุ่มเสี่ยงโรคงูสวัดโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ี่สูงอายยุ ผู้ที่มีปัญหาทางด้านระบบภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่ใช้การรักษาด้วยยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ผู้ที่อยู่ในช่วงของการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีวิทยาหรือเคมีบำบัด เป็นต้น

 

อาการของงูสวัด

อาการงูสวัดมักจะเริ่มต้นขึ้นจากบริเวณเล็ก ๆ ของร่างงกายฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มทำการลุลามไปยังบริเวณอื่น ๆ ในฝั่งร่ากายเดียวกัน ผู้ที่ป่วยอาจจะมีอาการปวดหัวและมีไข้ จากนั้นจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนัง บางรายอาจจะมีอาการชาด้วย เมื่อใช้มือทำการสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ ซึ่งในช่วงนี้จะเป็นในช่วงระยะเวลาของการฟักตัวจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ บริเวณที่ปวดจะมีผื่นสีแดง ๆ ขึ้น ก่อนที่จะกลายเป็นตุ่มน้ำในเวลาที่รวดเร็ว โดยตุ่มน้ำอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเป็นกลุ่ม และเรียงเป็นเส้นยาวไปตามแนวเส้นของประสาท บริเวณที่พบผื่นงูสวัดได้มากที่สุดคือบริเวณหน้าอก และเอวข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะมีโอกาสที่น้อยมาก ๆ หรือแทบจะไม่มีโอก่สเลยที่จะมีการเกิดงูสวัดขึ้นทั้ง 2  ข้างของร่างกายในคนปกติบางครั้งอาจจะมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ หรอในดวงตาได้อีกด้วย จากนั้นตุ่มน้ำจะแตกออกและทำการตกสะเก็ด โดยจะใช้เวลาประมาณ 2 - 6 สัปดาห์ กว่าจะหายดีเป็นปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคงูสวัดคือ อะไร อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!! ดูได้ที่นี้

วิธีการรักษางูสวัด

การรักษาโรคงูสวัด มีดังนี้ โรคงูสวัดเมื่อเป็นแล้วก็อาจจะสามารถเป็นซ้ำอีกได้ การรักษาโรคงูสวัดจะรักษาตามอาการร่วมกับใช้ยาต้านไวรัสเพื่อเร่งกระบวนการการหายของโรค และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้แล้ว ทางแพทย์อาจจะใช้ยาลดอาการปวด เช่น ยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ ยาต้านเศร้า และยาทาบางชนิด เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดที่มีความรุงแรงของงูสวัด หลังจากอาการทางผิวหนังนั้นหายเป็นปกติแล้ว ยังมีอาการปวดตต่อเนื่องซึ่งเป็นอาการที่พบได้หลังจากเป็นงูสวัด ทางแพทย์อาจจะจ่ายยารักษาอาการปวดที่ปลายประสาทร่วมด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ทัน ๆ โรคผิวหนัง ที่มากับหน้าร้อน และวิธีดูแลรักษาเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ลุกลาม

 

การป้องกันการแพร่กระจายของโรคงูสวัด

  • การสัมผัสตุ่มน้ำ หรือแผลของผู้ที่ป่วยเป็นโรคงูสวัดอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสได้ ดังนั้น ควรจะแยกข้าวของเครื่องใช้ เครื่องนุ่มห่ม ที่นอน ผ้าเช็ดตัว เพื่อป้องกันการสัมผัส
  • ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคงูสวัดแบบแพร่กระจาย สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ดังนั้น ควรแยกผู้ป่วย ไม่ใกล้ชิดกับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรค เด็กเล็ก และหยิงที่ตั้งครรภ์

 

การป้องกันการเกิดโรคงูสวัด ?

ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว โดยสามารถลดโอกาสการเกิดโรคงูสวัด หรือหากว่าเกิดการติดเชื้อจะสามารถลดความรุนแรงของอาการงูสวัด และอาการปวกหลังการติดเชื้อได้

 

โรคงูสวัดคืออะไร อาการของโรคงูสวัด เป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!! ดูได้ที่นี้

อาการแทรกซ้อนของโรคงูสวัด ?

แม้ว่าโรคงูสวัดจะเจ็บปวด และน่ารำคาญได้เอง แต่สิ่งสำคัญคือต้องติดตามดูอาการของคุณเพื่อหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้รวมถึง:

  • ความเสียหายของดวงตา ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากคุณมีผื่น หรือตุ่มพองใกล้กับดวงตามากเกินไป ( กระจกตามีความเสี่ยงเป็นพิเศษ)
  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายจากแผลเปิดและอาจรุนแรงได้
  • โรคปอดบวม
  • กลุ่มอาการแรมเซย์ ฮันต์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากโรคงูสวัดส่งผลต่อเส้นประสาทในศีรษะ และอาจส่งผลให้ใบหน้าเป็นอัมพาตบางส่วนหรือสูญเสียการได้ยินหากไม่ได้รับการรักษา หากรักษาภายใน 72 ชั่วโมง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะฟื้นตัวเต็มที่
  • การอักเสบของสมองหรือไขสันหลัง เช่นโรคไข้สมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการชัก และ โรคลมชักในเด็ก ส่งผลอย่างไรกับสมองของลูก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคซึมเศร้า คืออะไร เป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ หรือไม่? แล้วมีอาการเป็นอย่างไร!!

โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคทางพันธุกรรมที่พบในเด็ก

อาการชัก และ โรคลมชักในเด็ก ส่งผลอย่างไรกับสมองของลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : healthline , pobpad , si.mahidol

บทความโดย

Kittipong Phakklang