เคล็ดลับรับมือวันแรกที่ลูกไปโรงเรียน

พ่อแม่หลายคนอาจไม่อยากนึกภาพวันแรกที่ลูกจะต้องไปโรงเรียนเลย เพราะลูกต้องร้องไห้งอแงปานจะขาดใจแน่ ๆ ส่วนตัวพ่อแม่เองก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงลูก ไม่ต้องกังวลค่ะ มีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยจัดการให้วันแรกที่ลูกไปโรงเรียนไม่ได้ยุ่งยากลำบากใจอย่างที่คิด แถมยังสร้างความประทับใจแรกก้าวสู่รั้วโรงเรียนให้ลูกด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกไปโรงเรียนวันแรกคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร เรามารู้พร้อม ๆ กันเลย คุณพ่อ คุณแม่ หลาย ๆ คน อาจคงเคยเห็นลูกของคนอื่น ๆ ที่ ไปโรงเรียนวันแรก แล้วเกิดอาการร้องไห้ งอแงบ้าง กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ แล้ว คุณพ่อ คุณแม่ ก็คงจะคิดว่าสักวันนึงหากลูกของเราต้อง ไปโรงเรียนจะร้องไห้แบบนี้ไหมนะ คุณพ่อ คุณแม่ ก็คงจะกังวลใจไม่น้อย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว ก็ต้องส่งลูกไปโรงเรียนอยู่ดี และ ช่วงเวลานั้นที่สำคัญที่สุดก็คงจะ เป็นการไปโรงเรียนวันแรกของเด็ก ๆ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ทรมานใจทั้งของ ลูก และ ของคุณพ่อ คุณแม่ เลยทีเดียว

แต่อย่างไรก็ตามที ในช่วงแรกของการไปโรงเรียนเด็ก ๆ นั้นอาจร้องไห้บ้างเป็นปกติ เนื่องด้วยจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ๆ แต่เด็กจะสามารถที่จะปรับตัวได้ ใช้เวลา 1 -2 สัปดาห์ หรือบางคนอาจนานกว่านั้นหน่อย แต่ไม่นานเกิน 1 เดือนอย่างมาก เพราะฉะนั้น คุณพ่อ คุณแม่ ค่ะต้องใจแข็งสักหน่อยไม่ยอมแพ้รับลูกกลับบ้านก่อน  เพราะลูกอาจจะไม่กล้าเขาสังคมเลยค่ะ

เคล็ดลับรับมือวันแรกที่ลูกไปโรงเรียน

ลูกไปโรงเรียนวันแรกคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

1. ไม่ต้องเร่งรีบในตอนเช้า ไม่มีเด็ก คนไหนชอบให้เร่งหรอกค่ะ และ การเร่งรีบจะยิ่งทำให้ หงุดหงิดลนลาน และ อารมณ์เสียกันทั้ง คุณพ่อ คุณแม่ และ ลูก โดยเฉพาะถ้าเป็นวันแรกที่จะไปโรงเรียนแล้วด้วย ฉะนั้นให้ลูกตื่นเช้าสักนิด จะได้ไม่ต้องรีบกินอาหารเช้า หรือเสี่ยงที่จะไปโรงเรียนสาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ไปถึงให้เช้าหน่อย เพื่อที่จะสร้างความคุ้นเคยให้กับลูก อาจจะพาไปพบครูประจำชั้นก่อน ให้เห็นหน้าค่าตากันก่อน พาไปลองเล่นสนามเด็กเล่น ดูมุมต่าง ๆ ในโรงเรียน ดูห้องเรียน ให้ลูกปรับตัวก่อนที่จะต้องเริ่มเข้าเรียนจริง ๆ

3. นำของรักของลูกติดกระเป๋าไปด้วย ถ้าโรงเรียนอนุญาต การนำของรัก ไม่ว่าจะเป็นของเล่นโปรด ผ้าห่ม หมอน หรือตุ๊กตาของรักของลูกไปโรงเรียนในวันแรก ก็จะช่วยให้ลูกอุ่นใจขึ้น เหมือนมีเพื่อนสนิทคอยอยู่ใกล้ ๆ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ

4. พ่อแม่ต้องยิ้มเข้าไว้ แม้ในใจจะกังวลแค่ไหน แต่ต้องพรางความรู้สึกที่มีด้วยรอยยิ้มฉาบไว้บนใบหน้าค่ะ คุณต้องสร้างความมั่นใจ ให้กับลูกว่าเขาจะมีความสุขกับเพื่อนใหม่ และ คุณครู อย่าเผลอแสดงสีหน้ากังวลเด็ดขาด เพราะนั่นจะยิ่งสร้างความไม่มั่นใจให้กับลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. อยู่เป็นกำลังใจก่อน โรงเรียนอนุบาลหลายแห่งอนุญาตให้ คุณพ่อ คุณแม่ อยู่กับเด็ก ๆ ได้ในวันแรกของการมาโรงเรียน ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณอาจจะลางานมาอยู่เป็นกำลังใจให้ลูก การที่เด็กรู้ว่ามีคุณอยู่ในระยะ สายตาจะทำให้เด็กวางใจที่จะก้าวออกมาสำรวจสิ่งใหม่ ๆ ที่โรงเรียนได้อย่างไม่ต้องกังวล เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มคุ้นเคย และ รู้สึกปลอดภัยแล้ว ก็ค่อย ๆ ถอยออกมา ปล่อยให้การดูแลลูกเป็นหน้าที่ของคุณครู

6. บอกลาลูกสั้น ๆ และนุ่มนวล เมื่อถึงเวลาที่จะต้องปล่อยลูกทิ้งไว้ที่โรงเรียนลำพัง หาก คุณพ่อ คุณแม่ จะแอบร้องไห้เพราะคิดถึงลูก ประวิงเวลาไว้สักนิด (การฉีกยิ้มไว้ก่อนช่วยกลั้นน้ำตาไว้ได้) ให้กอดนักเรียนตัวน้อยอย่างนุ่มนวล และ อบอุ่น บอกให้รู้ว่าคุณจะมารับเวลาใด จากนั้นก็ให้เดินจากไป อย่ารีรออ้อยอิ่ง (ลูกจะอยู่ได้อย่างเข้มแข็งถ้าคุณทำให้เขาดูก่อน) อย่าแอบย่องออกมาเงียบ ๆ เมื่อลูกเผลอเด็ดขาด เพราะนั้นจะทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัย และ ไม่ไว้ใจคุณ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

theAsianparent Thailand เชื่อว่า การศึกษาที่ดีจะช่วย เสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้าง สภาะแวดล้อมในการ เรียนรู้ได้อย่างสมวัย และ เป็นไปตามที่ คุณพ่อ คุณแม่ ต้องการการเลือกโรงเรียนให้ กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริทสร้าง พหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และ ทำให้เด็กค้นพบตัวตน และ มีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

ที่มาอ้างอิง https://www.guidemama.com

ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน

วิธีช่วยให้ลูกไม่งอแงเมื่อไปโรงเรียนอนุบาล

บทความโดย

ธิดา พานิช