โรคไข้รากสาดใหญ่ โรคจากแบคทีเรียที่อยู่รอบตัวคุณ หากไม่ระวังอาจติดโรคไม่รู้ตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคไข้รากสาดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียที่อาจอยู่รอบตัวคุณ และในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ ผู้คนมักนิยมท่องเที่ยว กางเต๊นท์ เดินป่า รับลมหนาว ชมหมอกสวย ๆ แต่ท่ามกลางบรรยากาศดี ๆ เหล่านั้น อาจมีเชื้อแบคทีเรียของ โรคไข้รากสาดใหญ่ อาศัยอยู่ก็เป็นได้ 

 

โรคไข้รากสาดใหญ่ คืออะไร?

โรคไข้รากสาดใหญ่ หรือ โรคสครับไทฟัส (Scrub Typhus) เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ซึ่งมีไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค โดยไรอ่อนนี้มักจะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือ ทุ่งหญ้าต่าง ๆ เมื่อคนเราได้รับเชื้อ อาจทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ โรคไข้รากสาดใหญ่ ยังมักเกิดการแพร่ระบาดในแถบชนบท และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคไข้รากสาดใหญ่

สาเหตุของโรคไข้รากสาดใหญ่ คือ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่ในกลุ่ม ริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ที่มีชื่อว่า โอเรียนเทีย ซูซูากมูชิ (Orientia Tsutsugamushi) โดยมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คน โดยการกัดผิวหนังของคน ซึ่งตัวไรอ่อน มักจะพบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ และจะพบมากในพุ่มไม้ ในทุ่งหญ้า หรือ ป่าละเมาะ และสามารถแพร่กระจายได้ดีในช่วงฤดูฝน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการของโรคไข้รากสาดใหญ่

เมื่อถูกตัวไรอ่อน ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค จะใช้เวลาประมาณ 10-12 วัน จะพบว่า มีอาการไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น ไอ ตาแดง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย บริเวณที่ถูกตัวไรอ่อนกัด อาจพบผื่นแดง นูน หรือ มีขนาดใหญ่ขึ้น และอาจพบแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ ซึ่งสามารถหายได้เองในบางราย แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น อาการปอดอักเสบ สมอง และเยื้อหุ้มสมองอักเสบ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

การวินิจฉัยโรคไข้รากสาดใหญ่

อาการของโรคไข้รากสาดใหญ่ จะมีอาการคล้ายคลึงกับหลาย ๆ โรค ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของโรค จะต้องสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับตนเอง

เมื่อผู้ป่วยพบแพทบ์ แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือด ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยแยกโรคได้ และอาจต้องทดลองในห้องปฏิบัติการ อาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์จึงจะทราบผล ดังนั้น แพทย์จะเริ่มต้นรักษา โดยอาจวินิจฉัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การตรวจน้ำเหลือง (Serological Test) เป็นการตรวจในห้องทดลอง เพื่อเป็นนำผลมายืนยันต่อการวินิจฉัย
  • การตรวจภูมิคุ้มกัน (Complement-Fixation) สามารถตรวจหาเชื้อได้แบบรวมทั้ง 5 สายพันธุ์ แต่อาจไม่สามารถระบุแยกได้ ว่าเป็นเชื้อจากสายพันธุ์ใด
  • การตรวจ IFA (Indirect Immunofluorescence Antibody) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจหาเชื้ออีกวิธีหนึ่ง
  • การตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อ ด้วยการตรวจหาจากเนื้อเยื่อของผื่นที่ผิว หรือ ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่

เนื่องจากโรคไข้รากสาดใหญ่นี้ ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ ทำให้คนเรายังมีโอาสที่จะเสี่ยงติดเชื้อ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และสร้างการป้องกันได้ ดังนี้

  • สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ที่มีการระบาดของโรค ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บริเวณที่มีพืช และ พื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยพุ่มไม้ หรือ ต้นไม้ขนาดเล็ก เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของตัวไรอ่อน
  • ใช้ยากันแมลง ที่มีส่วนผสมของสารต้านตัวไรอ่อน หรือ สาร DEET 20-30% ในแบบที่ใช้ได้กับทั้งเสื้อผ้า และผิวหนัง และควรใช้ตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัดเท่านั้น
  • ใช้สารเพอร์เมทริน ทาลงบนเสื้อผ้า หรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น รองเท้า เสื้อ หรือ อุปกรณ์ตั้งแคมป์ต่าง ๆ ซึ่งสารเพอร์เมทรินนี้ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าตัวไรอ่อน แม้เราจะทำการซักผ้าแล้ว สารเหล่านั้นก็ยังคงชวยป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม ควรอ่านฉลาก และรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ และไม่ควรให้สารเพอร์เมทรินมาสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง เพราะสารนี้ เหมาะสำหรับการใช้บนเสื้อผ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่านั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่สำหรับเด็ก

  • ให้เด็กสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด ที่สามารถปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้ผ้าบาง ๆ ระบายอากาศได้ดี คลุมรถเข็นเด็ก และ เตียงนอนที่มุ้งด้วยที่กันยุงอีกที
  • ไม่ควรใสช้สารไล่แมลง หากเด็กมีอายุต่ำกว่า 2 เดือน
  • ระมัดระวังไม่ให้สารไล่แมลงสัมผัสมือ ตา หรือ ปาก ของเด็ก รวมถึงบริเวณผิวหนังที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้

 

โรคไข้รากสาดใหญ่ สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้ หากไม่นำตนเองไปอยู่ในจุดที่เสี่ยง ที่อาจมีตัวไรอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นจะต้องเดินทางไปในที่ที่มีโอกาสเสี่ยงการระบาดของโรค ควรป้องกันตนเองอยางเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการติดโรค

 

ที่มาข้อมูล 1 2

บทความที่น่าสนใจ

ไข้เลือดออก คืออะไร มีอาการอะไรบ้าง เป็นภัยร้านหน้าฝนที่ควรระวัง!!

หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร รักษาได้หรือไม่?

โรคหัด คืออะไร อันตรายไหม หากลูกเป็นโรคหัดควรทำอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Waristha Chaithongdee