แม่ท้องกังวัลอยู่ใช่ไหม?? ทำอย่างไรเมื่อคุณแม่ “กลัวการคลอดลูก” ฉากคลอดลูก การคลอดลูกเป็นหนึ่งในประสบการณ์เปลี่ยนชีวิตครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่ผู้หญิงจะได้พบพาน จึงไม่น่าแปลกใจที่บรรดาว่าที่คุณแม่จะหวาดหวั่นกับการมีลูกคนแรก
เมื่อเรานึกถึงการคลอดลูก คำแรกที่โผล่เข้ามาในใจมักจะเป็นคำว่า “เจ็บ” โดยเฉพาะถ้านี่เป็นครั้งแรกของคุณด้วยแล้ว
นี่ไม่ใช่เรื่องผิดคาดเพราะผู้หญิงส่วนมากเคยพบเห็นฉากคลอดลูกแบบสุดทรมานขาดใจดิ้นจากภาพยนตร์หรือรายการทีวีโชว์ ลองมาคิดดูว่าเคยมีสื่อไหนบ้างไหมที่ถ่ายทอดฉากคลอดลูกให้เป็นไปอย่างเรียบง่ายไร้ปัญหาซับซ้อน
“ไม่น่าจะมี”
แม้จะเป็นเรื่องปกติที่ว่าที่คุณแม่จะรู้สึกหวั่นใจบ้างเมื่อใกล้ครบกำหนดอายุครรภ์ แต่ความกลัวการคลอดลูกอย่างรุนแรงอาจเป็นตัวทำให้กระบวนการคลอดขลุกขลักได้ งานวิจัยในอังกฤษชิ้นหนึ่งพบว่าผู้หญิงซึ่งกลัวการคลอดลูกอย่างหนักระหว่างตั้งครรภ์มีอัตราต้องเข้ารับการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินสูงหรือที่เลวร้ายที่สุดคือคลอดทางช่องคลอดแต่มีปัญหาต้องใช้เครื่องดูดหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ช่วย
สุดยอดความกลัว 8 ประการเรื่องคลอดลูก
สุดยอดความกลัว 8 ประการเรื่องคลอดลูก ฉากคลอดลูก
เราเข้าใจว่าผู้หญิงหลายคนอาจกลัวการคลอดลูกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะหากนี่เป็นการคลอดครั้งแรก เราจึงได้รวบรวมสุดยอดความกลัว 8 ประการเรื่องการคลอดลูกและเคล็ดไม่ลับสยบความกลัวเหล่านี้ค่ะ
1) ความกลัวเจ็บระหว่างคลอด
ผู้หญิงทุกคนซึ่งกำลังจะคลอดลูกเป็นครั้งแรกวิตกเรื่องนี้เพราะไม่อาจจินตนาการถึงกระบวนการคลอดที่ปราศจากความเจ็บปวดได้ การเข้าคลาสเตรียมคลอดอาจช่วยให้คุณคลายกังวลและเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้การขอใช้ยาระงับความเจ็บปวดเช่นการบล็อคหลังก็ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร การใช้ยาระงับความเจ็บปวดไม่ได้ทำให้ความเป็นแม่ของคุณลดน้อยลงเลย
2) ความกลัวเจ็บท้องคลอดเป็นเวลานาน
ใครๆ ก็เคยได้ยินเรื่องชวนขวัญหนีว่ามีผู้หญิงบางคนเจ็บท้องคลอดนานเป็นวันๆ แต่ในความเป็นจริงกระบวนการคลอดใช้เวลาโดยเฉลี่ย 18 ชั่วโมง คุณสามารถเบาใจได้ว่าแพทย์ไม่ค่อยปล่อยให้กระบวนการทั้งหมดยาวนานเกินกว่า 20 ชั่วโมง หากการคลอดของคุณกินเวลานาน แพทย์มีวิธีเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้นเช่นให้ยาพิโตซิน (Pitocin) เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว เป็นต้น
แม้ว่าสายสะดือจะรัดตึง ก็ยังมีกลไกอื่นช่วยให้ร่างกายของลูกทำงานอย่างเหมาะสมได้
3) ความกลัวเป็นอัมพาตเนื่องจากการบล็อคหลังผิดพลาด
ความเสี่ยงเป็นอัมพาตถาวรรวมไปถึงการเสียชีวิตหรือหัวใจวายเนื่องจากการบล็อคหลังนั้นอยู่ระหว่าง 1 ใน 20,000 คนถึง 1 ใน 1,000,000 คน วิสัญญีแพทย์เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่บล็อคหลังคนไข้ทุกวัน ขอให้เชื่อมั่นในการแพทย์สมัยใหม่และบุคลากรที่ได้ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อการนี้ ท้ายที่สุดแล้วคุณก็กำลังจะมอบหมายให้คนเหล่านี้ดูแลชีวิตของคุณและของลูกน้อยที่จะเกิดมา
4) ความกลัวจะสูญเสียการควบคุม
ความกลัวจะสูญเสียการควบคุมร่างกายระหว่างคลอด ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายหนักบนโต๊ะคลอดหรือการสบถคำด่าอย่างคุมตัวเองไม่อยู่ล้วนแต่น่าพรั่นพรึง อย่างไรก็ตาม พยาบาลในห้องคลอด สูตินรีแพทย์และผดุงครรภ์ต่างเคยได้ยินและเคยพบเห็นเรื่องเหล่านั้นมาแล้วทั้งสิ้น จึงไม่จำเป็นต้องวิตกว่าคุณจะทำให้พวกเขาช็อก หากคุณกังวลเรื่องการสูญเสียการควบคุมระบบขับถ่ายจริง ๆ ก็สามารถขอรับการสวนทวารในชั่วโมงแรก ๆ ของกระบวนการคลอดได้
5) ความกลัวช่องคลอดฉีกขาด
นี่เป็นความกลัวสามัญในหมู่ว่าที่คุณแม่ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้เพราะการฉีกขาดของฝีเย็บ (บริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก) เป็นเรื่องธรรมดาโดยเฉพาะในการคลอดลูกครั้งแรก ส่วนใหญ่การฉีกขาดของฝีเย็บจะเป็นเพียงตื้น ๆ เท่านั้น และมีแค่ร้อยละ 4 ของผู้หญิงที่ฝีเย็บฉีกขาดอย่างรุนแรง โชคดีที่มีการเตรียมตัวหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ที่บ้านก่อนการคลอดเพื่อป้องกันฝีเย็บฉีกขาด เช่นการบริหารแบบเคเกล (Kegel Exercise) โดยเกร็งช่องคลอดเหมือนพยายามกลั้นปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อช่องคลอดรวมทั้งฝีเย็บแข็งแรงขึ้นหรือการนวดฝีเย็บเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
ส่วนใหญ่การฉีกขาดของฝีเย็บจะเป็นเพียงตื้น ๆ เท่านั้น
6) ความกลัวต้องคลอดลูกนอกโรงพยาบาล
นี่ดูเหมือนจะเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เฉพาะในหนังหรือตามจอทีวีเท่านั้น แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง มีเพียงน้อยกว่าร้อยละ 1 ของการคลอดเท่านั้นที่ผู้หญิงตั้งครรภ์เกิดรู้สึกอยากเบ่งขึ้นมาอย่างกะทันหันโดยไม่มีอาการเจ็บท้องคลอดหรือมดลูกหดรัดตัวเลย กรณีเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ถ้าครรภ์ก่อนหน้าก็ผ่านกระบวนการคลอดอย่างรวดเร็วเช่นกัน หากคุณกลัวว่าจะเข้าข่ายกรณีนี้ ขอให้ลองศึกษาหาข้อมูลและปรึกษาสูตินรีแพทย์ดูว่าควรทำอย่างไรในกรณีต้องคลอดฉุกเฉิน
7) ความกลัวสายสะดือพันคอลูก
สายสะดือสามารถและอาจจะพันรอบคอทารกได้ระหว่างคลอด สิ่งสำคัญพึงระลึกคือลูกน้อยของคุณยังไม่ใช้ปากหายใจ คุณยังเป็นคนที่หายใจให้ลูกอยู่ แม้ว่าสายสะดือจะรัดตึง ก็ยังมีกลไกอื่นช่วยให้ร่างกายของลูกทำงานอย่างเหมาะสมต่อไปได้ หากลูกน้อยคลอดออกมาโดยมีสายสะดือพันคอ แพทย์จะเพียงแค่คลายสายสะดือออกก่อนจะตัดทิ้ง
8) ความกลัวตายระหว่างคลอด
ความกลัวนี้ผ่านเข้ามาในใจว่าที่คุณแม่ทุกคนเพราะแม้ความเสี่ยงจะต่ำ (แม่ 13.3 รายเสียชีวิตจากการคลอดทารกที่รอดชีวิตทุก ๆ 100,000 กรณีในสหรัฐฯ เมื่อปี 2006) แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณผ่าท้องคลอด อย่างไรก็ตาม การเข้าคลาสเตรียมคลอด การขอเยี่ยมชมแผนกคลอดของโรงพยาบาลและพูดคุยกับสูตินรีแพทย์จะช่วยให้คุณคลายใจได้ การเสียชีวิตเป็นความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการคลอดเสมอ…แต่มันเป็นความเสี่ยงที่แม่ทุกคนพร้อมจะเผชิญค่ะ
หวังว่าบทความนี้จะช่วยสยบความกลัวการคลอดลูกไปได้นะคะ ขอให้ว่าที่คุณแม่ทุกคนโชคดี คลอดราบรื่นปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ
ขอให้ว่าที่คุณแม่ทุกคนโชคดี คลอดราบรื่นปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Made for Mums – How to reduce (and face) your fears of labour
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
22 สิ่ง ที่ควรทำ ในเดือนสุดท้าย เช็คลิสต์ก่อนคลอด มีอะไรบ้าง ไม่ควรพลาด
การเตรียมตัว ก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเอง เตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติ อันตรายไหม
คลอดลูกยังไง ไม่ให้เจ็บ คลอดธรรมชาติเจ็บไหม วิธีลด ความเจ็บปวด ระหว่างคลอด ก่อนคลอดต้องรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!