10 อาการ RSV ในทารก และเด็กเล็ก สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ควรรู้

ไวรัส RSV ในทารกรุนแรงแค่ไหน สัญญาณและอาการของ RSV เป็นอย่างไร บทความนี้จะบอกถึงวิธีสังเกตอาการต่างๆ ของ RSV

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

RSV เมื่อได้ยินชื่อนี้ทำเอาแม่ๆ หลายคนขยาดไปเลย ไวรัส RSV คืออะไร และรุนแรงแค่ไหนในเด็กเล็ก มาทำความรู้จัก RSV ในเด็ก และสังเกต 10 อาการ RSV ในทารก และเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ควรรู้ ทุกบ้านที่มีลูกเล็กต้องรู้จักไวรัสตัวนี้ เพราะเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการหลอดลมฝอยอักเสบและปอดอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เมื่อเด็กเล็กติดเชื้อไวรัส RSV อาจนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงได้ คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องสังเกตสัญญาณ และอาการต่างๆ ของ RSV เพื่อจะได้พาลูกน้อยไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ และป้องกันไม่ให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น

 

ฤดู RSV กำลังมา! 2567 หมอยงเตือนเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ เสี่ยงป่วยรุนแรง

นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา เผยผ่านเฟซบุ๊คเตือนภัยการระบาดของ RSV ไวรัสร้ายที่ส่งผลต่อเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ และผู้สูงอายุ โดยระบุว่า ฤดูกาลของ RSV จะเริ่มในช่วงเดือนกรกฎาคม ไปจนถึงพฤศจิกายน ของทุกปี

RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ในเด็กเล็กอาจมีอาการรุนแรง ไข้ ไอ หอบจนต้องนอนโรงพยาบาล และสามารถติดเชื้อซ้ำได้ โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ แทบทุกคนเคยติดเชื้อ RSV

 

RSV ในทารก คืออะไร

มาเจาะลึกว่าไวรัส RSV คืออะไร และมีผลต่อเด็กอย่างไร RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นโรคติดที่รุนแรงและทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ มักระบาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เชื้อไวรัส RSV มักพบในเด็กเล็ก โดยเฉพาะทารกอายุต่ำกว่า 1 ปีมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อรุนแรง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

RSV น่ากลัวไหม

เมื่อเด็กเล็กได้รับเชื้อ RSV อาจทำให้เกิดการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมฝอยอักเสบ และรุนแรงถึงขั้น ปอดอักเสบ 

 

ใครมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV 

ปัจจัยที่ทำให้ทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ RSV ขั้นรุนแรงเช่น

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • มีภาวะโรคหัวใจหรือโรคปอด

 

ไวรัส RSV คืออะไร

RSV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งในตระกูลที่มีเปลือกนอก มีสองสายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B โดยสายพันธุ์ A จะพบได้ทั่วไปและมีความรุนแรงกว่า เชื้อไวรัส RSV สามารถแพร่กระจายโดยตรงผ่านสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ เช่น การสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก และเสมหะของผู้ป่วย และยังสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับพื้นผิวหรือวัตถุที่ปนเปื้อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยไวรัส RSV สามารถอยู่บนพื้นผิวได้นานหลายชั่วโมงและอยู่บนผิวหนังได้นานถึง 30 นาที ดังนั้นการรักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาดจึงมีความสำคัญมากในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ RSV

ระยะฟักตัวของเชื้อ RSV โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 4-6 วันแต่อาจแสดงอาการเร็วที่สุด 2 วันหรือช้าที่สุด 14 วันหลังจากรับเชื้อ และมักหายป่วยภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาการบางอย่าง เช่น อาการไอ อาจคงอยู่อีกหลายสัปดาห์

อย่างไรก็ตามผู้ป่วย RSV ยังสามารถแพร่เชื้อได้แม้ว่าอาการจะหายแล้วก็ตาม ดังนั้น ควรรักษาสุขอนามัยอยู่เสมอและหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ rsv

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของ RSV ในทารก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ RSV ได้แก่ ทารกที่เข้าเนอร์สเซอรี่ หรือ มีพี่น้องที่เข้าโรงเรียนแล้ว

 

ทารกสามารถติดเชื้อ RSV จากผู้ใหญ่ได้หรือไม่

แน่นอน ทารกสามารถติดเชื้อ RSV จากผู้ใหญ่ได้ และผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อจากทารกได้เช่นกัน เพราะเชื้อ RSV สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ำลาย น้ำมูก และเสมหะของผู้ติดเชื้อ และยังสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสพื้นผิวหรือวัตถุที่ปนเปื้อน

RSV อาจเป็นอันตรายอย่างมากสำหรับทารกเพราะ ทารกมีภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงมากขึ้น 

 

 

10 อาการ RSV ในทารก สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ควรรู้

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกติดเชื้อ RSV มาดูวิธีสังเกตสัญญาณของ RSV ในทารกกัน อาการทั่วไปของ RSV ในทารกได้แก่

 

1. คัดจมูก น้ำมูกไหล

ทารกที่ติดเชื้อ RSV อาจมีอาการน้ำมูกไหลหรือคัดจมูก ทำให้ทารกหายใจลำบาก รู้สึกไม่สบายตัว และร้องงอแง คุณพ่อคุณแม่อาจใช้ที่ลูกยางดูดน้ำมูกออกมา หรือหยดน้ำเกลือเพื่อช่วยละลายน้ำมูก เพื่อช่วยให้ลูกหายได้สะดวกขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ไอ

ทารกอาจมีอาการไอเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งไอแห้งๆ หรือไอแบบมีเสมหะ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติที่ช่วยขับสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคออกจากทางเดินหายใจ อาการไออาจทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว รบกวนการนอนหลับ และรับประทานได้น้อยลง 

3. จาม

ทารกอาจจามบ่อยๆ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่ช่วยขับเชื้อโรค หรือสิ่งระคายเคือง ออกจากจมูกและทางเดินหายใจ โดยปกติการจามมักจะไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวล แต่คุณพ่อคุณแม่ควรติดตามอาการอื่น ๆ ของทารกเพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยจะไม่เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงมากขึ้น และควรปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือบ่อยๆ และปิดปากเมื่อไอหรือจาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ RSV

4. มีไข้

อุณหภูมิของทารกอาจสูงขึ้นมากกว่าช่วงปกติ ซึ่งบ่งบอกถึงอาการไข้ ไข้เป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ และในกรณีของRSV อาจบ่งชี้ว่า ระบบภูมิคุ้มกันของทารกกำลังตอบสนองต่อไวรัส หากลูกมีไข้เล็กน้อยมักไม่น่ากังวล อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรติดตามวัดอุณหภูมิของทารกและพาไปพบคุณหมอ หากทารกมีไข้สูงหรือมีไข้หลายวัน

5. หายใจเร็วหรือหายใจดังวี้ด

ทารกอาจหายใจเร็วกว่าปกติหรือมีเสียงหายใจดังวี้ด การหายใจเร็วอาจเป็นสัญญาณว่าทารกกำลังดิ้นรนเพื่อรับออกซิเจนที่เพียงพอในขณะที่เสียงหายใจดังวี้ด อาจบ่งบอกถึงทางเดินหายใจที่แคบลงหรืออักเสบ การหายใจเสียงวี้ดและหายใจเร็วอาจทำให้ทารกหายใจลำบาก อ่อนเพลีย หอบเหนื่อย คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปหาหมอเมื่อสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในทารก

6. หายใจลำบาก

ทารกอาจมีปัญหาในการหายใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจตื้น หรือมีภาวะที่รูจมูกขยายใหญ่ขึ้นขณะหายใจ เป็นสัญญาณของภาวะหายใจลำบาก ในกรณีที่รุนแรงทารกต้องใช้ความพยายามอย่างหนักในการหายใจ อาจทำให้หน้าอกหรือผิวหนังรอบซี่โครงและคอดูเหมือนจะบุ๋มเข้าไปในการหายใจแต่ละครั้ง หายใจลำบากเป็นอาการรุนแรงที่ต้องพบแพทย์ทันที ควรพาลูกไปพบแพทย์ฉุกเฉินหากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในทารก

7. ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มนม

ทารกอาจมีความอยากอาหารลดลง และปฏิเสธที่จะกินหรือดื่มนมตามปกติ อาจเกิดจากความอึดอัดหรือหายใจลำบาก ทำให้กลืนลำบากตามไปด้วย สิ่งสำคัญคือ ต้องแน่ใจว่าทารกดื่มน้ำหรือนมเพียงพอในช่วงเวลานี้คุณพ่อคุณแม่อาจต้องให้ลูกรับประทานในปริมาณน้อย แต่บ่อยขึ้น

8. งอแง ร้องกวน

ทารกอาจดูงอแง หงุดหงิด หรือกระสับกระส่าย มากกว่าปกติ เนื่องมาจากอาการอื่นๆ ของ rsv เช่น ไอ คัดจมูก หรือหายใจลำบาก ไปรบกวนการนอนหลับของทารก ทำให้ทารกหงุดหงิดหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น

9. อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง

ทารกอาจดูเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย และอาจนอนหลับมากกว่าปกติ อาจเป็นเพราะร่างกายของทารกต้องต่อสู้กับไวรัส RSV ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ นอกจากนี้ การหายใจลำบากและความอยากอาหารที่ลดลงทำให้เกิดความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียได้

10. ภาวะตัวเขียว

ในกรณีรุนแรง ผิวหนังหรือเล็บของทารกอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน เนื่องจากขาดออกซิเจนในกระแสเลือดนี่เป็นอันตรายถึงชีวิต ต้องไปพบแพทย์ทันที ภาวะตัวเขียวเป็นสัญญาณว่าทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและเกิดภาวะหายใจลำบากอย่างรุนแรง

สิ่งสำคัญคือต้องทราบคือ อาการของ RSV อาจแต่ต่างกันไปในเด็กแต่ละคน บางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรง และไม่ใช่ว่าทารกทุกคนจะมีอาการเหล่านี้ทั้งหมด นอกจากนี้อาการอาจแสดงแตกต่างกันไปโดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนดกับทารกที่มีปัญหาสุขภาพ

 

ลูกเป็น rsv กี่วันหาย

ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) RSV ในเด็กมักสัมพันธ์กับอาการหวัดเล็กน้อยถึงปานกลางซึ่งสามารถหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มแสดงอาการป่วย นอกจากนี้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมถึงทารกสามารถแพร่เชื้อไวรัสต่อไปได้เป็นระยะเวลานานถึง 4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการจะบรรเทาลงแล้ว

นอกจากนี้ เป็นที่น่าว่าสังเกตว่า การติดเชื้อ RSV มาก่อน ไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาว การติดเชื้อซ้ำเป็นเรื่องปกติ เด็กที่เคยเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของการติดเชื้อมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้น

 

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

อาการหรือสัญญาณอันตรายที่จะต้องไปพบแพทย์ด่วน คือ หายใจลำบาก และมีสัญญาณของอาการตัวเขียว ผิวหนังหรือเล็บเป็นโทนสีน้ำเงิน

สำหรับสัญญาณอื่นๆ ที่ควรไปพบแพทย์เมื่อลูกน้อยมีอาการดังนี้

  • มีไข้สูงมากกว่า 38 องศา
  • หายใจเสียงดังวี้ด หรือหายใจเร็ว
  • ไอหนักขึ้น
  • สัญญาณของภาวะขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะลดลง หรือปากแห้ง
  • ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดื่มนม
  • กระสับกระส่ายอย่างมาก หรือร้องงอแงเป็นเวลานาน
  • สัญญาณของความง่วง เช่น การตอบสนองลดลงหรือนอนหลับมากกว่าปกติ

นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเชื่อสัญชาตญาณตัวเองและไปพบแพทย์หากกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย

 

การป้องกัน RSV ในทารก

น่าเสียดายที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัส RSV แต่หวังว่าจะพัฒนาวัคซีนได้สำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้ โดยข่าวล่าสุดไฟเซอร์ประกาศว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติวัคซีน RSV สำหรับผู้สูงอายุแล้ว ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับเด็กยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ

และขณะนี้ก็ยังไม่มียารักษาการติดเชื้อ RSV จะเน้นการรักษาตามอาการ เช่น ทานยาลดไข้ พ่นจมูก ทานยาแก้ไอละลายเสมหะ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

ข้อควรระวังที่สามารถทำได้เพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะติดเชื้อนี้ คือ 

  • อย่าปล่อยให้คนอื่น แม้ว่าจะเป็นคนในครอบครัวก็ตาม สัมผัสทารกบริเวณใบหน้า ปาก หรือมือ เนื่องจากเป็นส่วนที่สามารถแพร่เชื้อได้ง่าย และระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยยังไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ ร่างกายผู้ใหญ่อาจจัดการกับเชื้อโรคเหล่านี้ได้ง่ายดายแต่ทารกทำไม่ได้
  • แนะนำให้ผู้ที่มาเยี่ยมล้างมือหรือฆ่าเชื้อก่อนจับหรือสัมผัสทารก
  • หากคุณเป็นหวัดควรหลีกเลี่ยงการจุ๊บลูกน้อยของคุณเช่นกัน และควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายผ่านการไอ จาม
  • ไม่พาลูกน้อยไปในที่มีคนพลุกพล่าน
  • ไม่อนุญาตให้ใครสูบบุหรี่ใกล้ลูกน้อยของคุณ
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่มักสัมผัสกับมือ เช่น ลูกบิดประตู และก๊อกน้ำ อยู่เสมอ

 

RSV เป็นเชื้อที่ทำให้ทารกแรกเกิดและเด็กเล็กป่วยหนัก รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้หากเชื้อลงปอด และมักติดเชื้อจากการสัมผัสของผู้ใหญ่ไปสู่เด็ก ซึ่งมักติดมาจากน้ำลายจากการจูบ นี่คือเหตุผลสำคัญมากสำหรับผู้ปกครองที่จะระมัดระวังการสัมผัสทารก รวมถึงสังเกตอาการ RSV ในเด็ก เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ที่มา: sg.theasianparent.com 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รวม 4 สาเหตุที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัย

ลูกเป็นโรต้า ท้องเสีย มีไข้ เชื้อโรคร้ายที่รุนแรง โรต้าไวรัส (Rotavirus) มีอะไรบ้าง

พ่อแม่เตรียมระวังได้เลย 5 โรคติดเชื้อต้อนรับเปิดเทอม เช็คลูกให้ดีหลังเลิกเรียน