พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจบอกว่าลูกเราเป็น ออทิสติกเทียม พ่อแม่ต้องรู้ !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเลี้ยงลูก และสภาพแวดล้อมที่เด็ก ๆ คลุกคลี ล้วนมีส่วนในการหล่อหลอมให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการเลี้ยงดูบางอย่าง อาจทำให้เด็กโตมามีปัญหาทางร่างกายหรือพัฒนาการได้ วันนี้ เราจะมาพูดถึง ออทิสติกเทียม ในเด็ก ว่าเกิดจากอะไร และมีปัจจัยหรือกิจกรรมอะไรบ้าง ที่ทำให้เด็กเสี่ยงเป็นออทิสติกเทียม

 

 

ออทิสติกเทียม คืออะไร?

ออทิสติกเทียมเป็นโรคที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องของการเข้าสังคมและการสื่อสาร ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่คุณพ่อคุณแม่ได้พูดคุย หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ เท่าที่ควร ไม่เล่นกับลูก ปล่อยให้ลูกเล่นโทรศัพท์ หรือดูทีวีมากจนเกินไป จนเด็กนั้นไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น โดยเด็กที่เป็นออทิสติกเทียมมักที่จะมีพัฒนาที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป หรืออาจจะพูดได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ ไม่รู้จักวิธีการพูดคุยกับคนอื่น พูดตอบโต้ไม่เป็น มักไม่กล้าสบตาใคร สายตาล่อกแล่ก ไม่ยอมให้พ่อแม่กอดหรือหอม และแสดงออกทางสีหน้าไม่เป็น อย่างไรก็ตาม ออทิสติกเทียมสามารถที่จะรักษาให้หายได้ในเวลาอันสั้น หากว่าได้รับการกระตุ้นให้เด็กกลับมามีพัฒนาการในการเข้าสังคมและการสื่อสานได้อย่างถูกวิธี และมากขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ออทิสติกและออทิสติกเทียม ต่างกันอย่างไร

โรคออทิสติกนั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดมากจาการขาดการกระตุ้นเป็นหลัก และแม้ว่าออทิสติกและออทิสติกเทียมจะมีลักษณะอาการที่คล้าย ๆ กัน แต่เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมหากว่าได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมและถูกทางในระยะเวลาสั้น ๆ ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นเด็กปกติได้ ในขณะที่เด็กที่เป็นออทิสติกยังคงมีพฤติกรรมที่มีความแตกต่างออกไปจากเด็กปกติ ถึงแม้ว่าจะได้รักการกระตุ้นพัฒนาการแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นออทิสติกหากว่าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมก็สามารถที่จะพัฒนาการและพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้อย่างมากเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกขี้โมโห ! เลี้ยงยังไงดี จะรับมือกับลูกขี้โมโหได้ยังไงบ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจบอกว่าลูกเราเป็น ออทิสติกเทียม

รู้หรือไม่ การให้ลูกเล่นเกม ดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์และแทบเล็ตบ่อย ๆ อาจทำให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็น ออทิสติกเทียม หากคุณแม่ท่านไหน กำลังสงสัยว่าลูกเราจะเข้าข่ายหรือเปล่า แนะนำให้เช็คได้จาก 15 ข้อนี้เลยค่ะ

  • เด็กมีพัฒนาการด้านการพูดที่ช้า เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น บางคนอายุ 2 ขวบ แต่ยังพูดไม่ได้ หรือพูดไม่เป็นภาษา
  • บอกความต้องการกับคนอื่นไม่เป็น แต่จะแสดงออกโดยการอาละวาดหรือโมโหแทน 
  • แสดงความรักกับคนรอบข้างไม่เป็น ไม่ยอมให้ใครอุ้ม กอด หรือหอม
  • ออทิสติกเทียม ไม่เล่นหรือพูดคุยกับเด็กคนอื่น ๆ ชอบอยู่คนเดียวเสียส่วนใหญ่ ชอบเล่นคนเดียว 
  • ไม่ลอกเลียนแบบท่าทาง หรือเสียงของคนรอบข้าง
  • มีพฤติกรรมการแสดงออก หรือการเข้าสังคมที่ต่างจากเด็กวัยเดียวกัน
  • อยู่ติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เช่น ติดโทรศัพท์ แทบเล็ต ทีวี เป็นต้น 
  • ไม่กล้าสบตาคนอื่น เวลาที่มีใครมาพูดคุยด้วย 
  • ไม่แสดงท่าทาง หรือส่งเสียงเรียกคนอื่น ไม่รู้จักวิธีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ 
  • ไม่รู้จักวิธีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง สี เสียง เป็นต้น
  • ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ หรือร้องเรียกพ่อแม่
  • ไม่สนใจคนรอบข้าง เรียกแล้วไม่หัน
  • มักจะทำอะไรซ้ำ ๆ ซาก ๆ  
  • ร้องไห้โดยที่ไม่มีเหตุผล

หากเจ้าตัวน้อยมีอาการเหล่านี้หลายข้อ ถือว่ามีความเสี่ยงแล้วนะคะ ซึ่งโรคนี้จะส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของลูก ทางที่ดีควรพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจอย่างแน่ชัดอีกครั้งจะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็นออทิสติกเทียม

ออทิสติกเทียม ไม่ใช่ภาวะที่เด็กเป็นตั้งแต่กำเนิด แต่เกิดจากการเลี้ยงดูเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น คุณแม่อาจป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ เป็นออทิสติกเทียมได้ ดังนี้

  1. ให้เด็ก ๆ ทำกิจกรรมอื่น ๆ แทนการเล่นโทรศัพท์ เล่นแทบเล็ต หรือดูทีวี เช่น เรียนศิลปะ เล่นของเล่น หรือฝึกต่อเลโก้ เป็นต้น
  2. ไม่ให้เด็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ เล่นแทบเล็ต หรือเล่นโทรศัพท์
  3. จำกัดเวลาดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์และแทบเล็ตเด็ก วันละ 1 ชั่วโมง
  4. เมื่อเด็กงอนหรืองอแง ควรฝึกให้เด็กระบายอารมณ์ผ่านทางคำพูดที่เหมาะสม ไม่ใช่ทางอารมณ์ สอนให้เด็กพูดคุยกับพ่อแม่ เมื่อต้องการอะไร หรืออยากได้อะไร
  5. หาเวลาว่างอยู่กับลูกบ่อย ๆ เน้นการพูดคุยเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ ฝึกตอบโต้เมื่อมีคนพูดคุยด้วย
  6. หมั่นพาลูกเข้าสังคมพบปะคนอื่น ๆ โดยอาจจะพาลูกไปเข้าค่าย หรือไปสวนสาธารณะเพื่อเล่นกับเพื่อน ๆ ก็ได้
  7. สอนให้เด็กออกเสียงแต่ละคำอย่างช้า ๆ และชัด ๆ พูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ
  8. ซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการให้เด็ก ๆ เล่น เพื่อช่วยฝึกสมอง

ใครที่กำลังสงสัยว่าลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคออทิสติกหรือเปล่า ไม่ว่าจะแท้หรือเทียม ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อหาทางแก้ไข และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะสายเกินแก้ จนกระทบต่อพัฒนาการ และการใช้ชีวิตในสังคมของลูกน้อยในภายภาคหน้านะคะ

 

ที่มา : sanook , Bangkokhospital , Aspieinfo

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พัฒนาการลูก เห็น ได้ยิน พูด ลูกมองเห็นตอนกี่เดือน ทารกได้ยินตอนกี่เดือน ทารกพูดได้ตอนกี่เดือน
ของใช้ลูกแต่ละอย่างหมดอายุเมื่อไหร่ ถึงเวลาซื้อใหม่ให้ลูกใช้หรือยัง
ลูกพูดอังกฤษปร๋อเพราะดูยูทูป จิตแพทย์เตือนดูทั้งวัน เสี่ยงออทิสติกเทียม

บทความโดย

kamonchanok