เด็กตาแดง มีสาเหตุมาจากอะไร? สามารถติดจากคนอื่นได้หรือไม่?

ตาแดงเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย มีการระบาดเป็นระยะ และพบได้ตลอดทั้งปี ช่วงที่หมอกำลังเขียนบทความนี้ก็มีคุณพ่อคุณแม่พาเด็กๆที่เป็นตาแดงมารับการรักษาเกือบทุกวัน เรามาเรียนรู้เรื่องโรคตาแดงในเด็ก เพื่อการดูแลลูกอย่างถูกต้องกันดีกว่าค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กตาแดง เวลาเห็นดวงตาดวงน้อย ๆ ของพวกเขาบวมแดงและทำให้ใจของคุณเป็นพ่อเป็นแม่แทบจะสลาย เรามาดูกันทีกว่าค่ะ ตาแดงนั้นเกิดขึ้นกับลูกของเราได้อย่างไร สามารถติดต่อผ่านคนสู่คนได้หรือเปล่า และเราจะต้องป้องกันไม่ให้ลูกเราเป็นโรคตาแดงได้อย่างไร มาดูกันเลย

 

ตาแดงในเด็กเกิดจากอะไรบ้าง?

โรคตาแดงเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุค่ะ ทั้งการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ สาเหตุที่พบว่ามีการระบาดบ่อย ๆ เกิดจากการติดเชื้อโรค ซึ่งมักได้แก่ เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย แต่ก็สามารถเกิดจากการติดเชื้อรา หรือพยาธิได้ นอกจากนี้สาเหตุที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อที่พบบ่อยคือตาแดงจากภูมิแพ้ หรือ ที่เรียกว่า เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ โดยมีสารก่อภูมิแพ้เช่น ฝุ่น เป็นตัวกระตุ้นให้มีอาการคันตาและตาแดงได้ สาเหตุอื่นๆที่อาจพบได้คือ การมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา การกระทบกระเทือน โรคของตาเช่น ต้อลม ต้อหิน และโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีอาการตาอักเสบร่วมด้วย ซึ่งพบได้ไม่บ่อย

สำหรับบทความนี้หมอจะขอเน้นเฉพาะตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ส่วนเรื่องเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ สามารถอ่านได้จากบทความเรื่อง “ลูกมีอาการคันตามากเกิดจากเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ได้หรือไม่?” ที่หมอเคยเขียนไว้นะคะ

 

ตาแดงเกิดจากการติดเชื้อ?

อาการ เด็กตาแดง จากการติดเชื้อจะมีลักษณะคือ เยื่อบุตาอักเสบ บวมแดง เคืองตา น้ำตาไหลบ่อยๆ มีขี้ตาแฉะ โดยถ้าเป็นตาแดงจากการติดเชื้อไวรัส จะมีขี้ตาใส ๆ และอาจมีอาการหวัดร่วมด้วย ส่วนตาแดงจากการติดเชื้อแบคทีเรียจะพบว่าขี้ตามีสีเขียวอมเหลือง อาจมีหนองได้ การแยกอาการตาแดงจากการติดเชื้อกับเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้เบื้องต้นอย่างง่าย ๆ คือ ถ้ามีอาการตาแดงนานทั้งวันหรือเป็นระยะเวลาหลาย ๆ วัน ไม่หายเอง มักเกิดจากการติดเชื้อ แต่ถ้าอาการหายไปอย่างรวดเร็ว เช่น มีตาแดงตอนช่วงเช้า แต่พอช่วงสายก็หายไปได้เอง ก็น่าจะเกิดจากภูมิแพ้มากกว่าค่ะ

 

 

สาเหตุการเป็นตาแดง

โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่ที่พบส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัส adenovirus ซึ่งอาจเกิดพร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอเนื่องจากการอักเสบของเนื้อเยื่อลำคอ

โรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย โดยเป็นการติดต่อจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง เช่น สัมผัสกับขี้ตา หรือน้ำตาที่ติดอยู่บนมือหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยสัมผัส จากการใช้สิ่งของร่วมกัน และจากการหายใจหรือไอจามรดกัน ดังนั้น เชื้อโรคจึงแพร่ระบาดได้ตามสถานที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ โรงพยาบาล โรงเรียน และมักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมักไม่เคร่งครัดในการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคเท่ากับผู้ใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : ตาแดงเป็นอาการCovid-19 อาการตาแดง ก็อาจจะบอกว่าคุณเป็นโควิดได้

 

อาการเป็นโรคตาแดง

อาการของโรคตาแดงอาจเกิดกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ได้ ในกรณีที่เป็นสองข้าง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการที่ดวงตาข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงลามไปอีกข้างภายใน 2-3 วัน โดยเราสามารถแบ่งอาการของโรคตาแดง ออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

 

1) โรคตาแดง ที่เกิดจากเชื้อไวรัส

หากเด็กติดเชื้อจากไวรัส จะรู้มีอาการปวด ๆ ตา เคืองตา มีน้ำตาไหล เปลือกตาบวมแดง ตาสู้แสงไม่ไหว ซึ่งระยะเวลาของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 สัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2) โรคตาแดง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการของโรคตาแดงนี้ ตาจะมีสีแดงเข้มมาก ขี้ตาเยิ้มแฉะ ออกเหลืองอมเขียว มักพบได้เยอะหลังจากตื่นนอนแล้ว ทำให้ลืมตาไม่ค่อยขึ้นในตอนเช้า สาเหตุมาจากการที่ขี้ตาทำให้ขนตาบนและขนตาล่างติดกัน ตาพร่ามัว แต่จะไม่ค่อยมีอาการปวดหรือเคืองตามากเท่าไหร่

 

3) โรคตาแดง ที่เกิดจากภูมิแพ้

อาการที่จะเกิดจากโรคภูมิแพ้ ตาจะไม่ค่อยแดงมาก แต่จะมีความชื้นแฉะเนื่องจากมีปริมาณน้ำในดวงตาที่มากขึ้น เด็ก ๆ อาจมีอาการคันตามาก โดยเฉพาะตรงหัวตา ทำให้ขยี้ตาบ่อย และทำให้เยื่อบุตาบวมซ้ำหรือติดเชื้อได้ โดยอาการเหล่านี้มักเป็น ๆ หาย ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่นานเท่าอาการจากการติดเชื้อไวรัส และ แบคทีเรีย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้คือ ในระยะที่อาการตาแดงเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกระจกตาอักเสบจากเชื้อไวรัสที่ลุกลามไปยังกระจกตา ส่งผลให้มีอาการตาพร่ามัว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการตามัวอาจคงอยู่นานถึง 1-2 เดือน

บทความที่น่าสนใจ : ทารกแรกเกิดร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไร? ไม่สบายหรือไม่?

 

 

หากลูกเป็นตาแดงควรทำอย่างไร?

หากลูกมีอาการตาแดง คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุ และจะได้รับการรักษาให้ถูกต้องตามสาเหตุนั้นๆ ไม่ควรซื้อยาหยอดตามาหยอดเองโดยเด็ดขาดนะคะ เพราะถ้าหากใช้ยาที่ผิด อาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม มีการติดเชื้ออย่างรุนแรงมากขึ้นได้ค่ะ

ถ้าคุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นตาแดงจากการติดเชื้อไวรัส และมีอาการเคืองตา คันตา อาจให้ยาหยอดตาที่ออกฤทธิ์ลดอาการเคืองตา หรือยาแก้แพ้ แก้คัน แต่หากเป็นตาแดงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณหมอจะให้ยาปฏิชีวนะมาหยอดตา

การดูแลที่บ้านคือถ้าลูกมีอาการคันก็ไม่ควรให้ขยี้ตา แต่ควรประคบเปลือกตาด้วยความเย็น เพื่อลดอาการคันและบวม และยังทำให้รู้สึกสบายตาด้วยค่ะ สำหรับขี้ตาควรกำจัดโดยเช็ดตาด้วยสำลีปราศจากเชื้อชุบน้ำเกลือหรือน้ำต้มสุก หยอดยาที่คุณหมอให้อย่างสม่ำเสมอ ล้างมือบ่อยๆและระวังการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นโดยเฉพาะเด็กเล็กๆค่ะ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หรืออาการเป็นมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรไปพบคุณหมอ เพื่อดูอาการอีกครั้งก่อนที่จะมีการติดเชื้อลุกลามมากขึ้นนะคะ

นอกจากนี้ควรงดพาลูกไปในที่สาธารณะ งดทำกิจกรรมที่ต้องพบปะผู้อื่น จนกว่าลูกจะหายดี เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อมากขึ้นค่ะ

เราจะป้องกันโรคตาแดงได้อย่างไร?

โรคตาแดงจากการติดเชื้อจะติดต่อได้ง่ายโดยการสัมผัส หลักสำคัญในการป้องกันคือ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยตาแดง ไม่ไปสัมผัสกับขี้ตาหรือน้ำตาของผู้ป่วยทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านทางของใช้ต่างๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้า หมอน ผ้าห่ม จึงควรสอนลูกไม่ให้ใช้สิ่งของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ล้างมือให้สะอาด ไม่ขยี้ตา หากลูกมีอาการตาแดงจากการติดเชื้อก็ควรหยุดเรียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไปยังเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนต่อไปนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การรักษาโรคตาแดง

โรคตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส adenovirus ไม่ใช่โรครุนแรง และสามารถหายได้เองภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยอาจใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดอาการระคายเคือง หรือประคบเย็นเพื่อลดการอักเสบได้ ส่วนอาการร่วมอื่นๆ เช่น มีไข้ เจ็บคอ แพทย์จะรักษาตามอาการ รวมถึงให้ยาหยอดยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจตามมา ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่รุนแรงก็สามารถหายเองได้เช่นกัน แต่ยาปฏิชีวนะหยอดตาหรือป้ายตาจะช่วยให้หายเร็วขึ้นและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดตามาก จนถึงขั้นปวดรุนแรง
  • สายตาพร่ามัว ตาไม่สู้แสง
  • ตาแดงจัด
  • มีจุดขาวเล็กๆ ที่กระจกตานานนับเดือน

ผู้ป่วยควรมาพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด ในกรณีที่พบการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นที่มีความรุนแรง แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัส (antiviral medication)

 

บทความที่น่าสนใจ :

แว่นตา เลือกยังไงให้เหมาะกับเด็ก เด็กสายตาสั้นต้องใส่แว่นตาแบบไหน

ตาบอดสีในเด็ก เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาหรือวิธีแก้อย่างไร?

โรคตาในเด็ก และโรคตาของผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงอายุมีอะไรบ้าง

ที่มา : bumrungrad, mamastory, pobpad, Jaymart insurance