RDS โรคทางเดินหายใจในเด็กที่อันตราย ลูกหายใจลำบากอย่ามองข้าม

RSD คือ อะไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

RDS (Respiratory Distress Syndrome) โรคหายใจลำบาก เป็นอย่างไร คุณแม่ ๆ อยากรู้ใช่ไหมว่า ลูกน้อยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ สัญญาณแบบไหนควรพบแพทย์ และโรคหายใจลำบาก เกิดจากสาเหตุใดบ้าง มาดูกัน

 

RDS คืออะไร

RSD คือ อะไร

คือโรคหายใจลำบาก ของทารกตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการที่ปอดยังสร้างไม่สมบูรณ์ และขาดสารลดแรงดึงผิว (Surfactant) จึงมีผลทำให้ปอดแฟบ หายใจเข้าออกผิดปกติ เช่น หายใจดัง หายใจเร็ว ตัวเขียว อึดอัดขณะหายใจ หากรุนแรง ทารกก็จะไม่สามารถหายใจเองได้

ภาวะ RDS ส่วนใหญ่พบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อน 28 สัปดาห์ เมื่อคลอดแล้วจำเป็นจะต้องรักษาทันที หากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายล้มเหลวและอันตรายถึงชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง : 4 โรคระบาดยอดฮิตในเด็ก และอาการที่พ่อแม่ต้องคอยเฝ้าระวัง

 

ปัจจัยอะไรที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดเสี่ยงเป็นโรคหายใจลำบาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปัจจัยด้านมารดา

หากคุณแม่อายุมาก มีโรคประจำตัวมาก เช่น โรคหัวใจ โรคไต หรือระหว่างตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อน ก็จะมีโอกาสทำให้เด็กไม่แข็งแรง คลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงเป็นภาวะโรคหายใจลำบาก

  • ปัจจัยด้านเด็กทารก

หากพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิด ก็จะสามารถทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ หรือในกรณีของตั้งครรภ์แฝด ก็สามารถเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงเป็นโรคหายใจลำบากได้เช่นกัน

  • ปัจจัยด้านอื่น ๆ

คุณแม่อาจมีการติดเชื้อแฝง หรือรกมีความผิดปกติ เช่น รกเกาะต่ำ จนทำให้มีภาวะเลือดออกง่าย ก็เป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้คุณแม่เจ็บครรภ์ จนคลอดก่อนกำหนดได้

 

อาการของโรคหายใจลำบากในทารกเป็นอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกที่มีภาวะ Respiratory Distress Syndrome หรือโรคหายใจลำบาก จะแสดงอาการในระยะเวลาไม่นานหรือทันทีหลังคลอด โดยจะเห็นได้ชัดว่าทารกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น

  • หายใจเร็ว มีเสียงดัง หรือร้องคราง จมูกบานหรือกว้างขึ้นเวลาหายใจ
  • หยุดหายใจเป็นเวลาสั้น ๆ
  • หน้าอกบุ๋ม หรือช่วงระหว่างซี่โครงยุบลงไป
  • ริมฝีปาก ปลายมือและปลายเท้าเป็นสีม่วงคล้ำ เพราะออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • ปริมาณของปัสสาวะลดลง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกมีน้ำมูกเรื้อรัง…เกิดจากไซนัสอักเสบได้หรือไม่?

 

การวินิจฉัย เมื่อลูกมีภาวะหายใจลำบาก

โรคหายใจลำบาก RSD คือ อะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากแพทย์สงสัยว่า ทารกมีภาวะของโรคหายใจลำบาก แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น

  • การตรวจสอบห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของอาการผิดปกติ
  • เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณปอด
  • ทดสอบด้วยเครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximetry Test) เพื่อตรวจปริมาณออกซิเจนในเลือดของทารก ผ่านเซนเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณปลายนิ้ว หู หรือนิ้วเท้า และเจาะเลือดประเมินระดับออกซิเจน

 

การรักษาภาวะ RDS

  • หากทารกสามารถหายใจได้ในระดับหนึ่ง อาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะทำการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนธรรมดา แล้วไม่นานเด็กก็จะสามารถปรับตัว และหายใจได้ดีมากขึ้น
  • ทารกที่มีภาวะหายใจลำบากค่อนข้างมาก แพทย์จะพิจารณาใช้เครื่องช่วยหายใจผ่านจมูก เพื่อดันอากาศและออกซิเจนไปในปอดทารก เพื่อให้ปอดขยายตัวร่วมกับให้ออกซิเจนเพื่อให้ทารกแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดีขึ้น
  • ทารกที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถหายใจเองได้ หรือใส่เครื่องช่วยหายใจแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจ

 

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหายใจลำบาก

ภาวะของโรคหายใจลำบาก อาจทำให้ทารกได้รับออกซิเจนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จึงอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนหรือความผิดปกติอื่น ๆ ในระยะยาวแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล เช่น

  • เกิดอากาศสะสมบริเวณรอบหัวใจหรือทรวงอก
  • มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดและภาวะปอดแฟบ เป็นต้น
  • ความผิดปกติในด้านพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ความบกพร่องทางสติปัญญา มีปัญหาด้านการมองเห็น เป็นต้น
  • เกิดการแข็งตัวของเลือด ลิ่มเลือด
  • มีเลือดออกในสมองหรือปอด
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ไตวาย

 

ดูแลครรภ์อย่างไร ไม่ให้ทารกเสี่ยงเป็นโรคหายใจลำบาก

RDSโรคหายใจลำบาก RSD คือ อะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องพบสูติแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเข้ารับการตรวจว่ามีภาวะเสี่ยงหรือเปล่า
  • ใส่ใจการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดสูบบุหรี่ งดใช้สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ในกรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยง เช่น อายุมาก หรือตั้งครรภ์เกินอายุ 35 ปีขึ้นไป มีภาวะเบาหวาน ตั้งครรภ์แฝด หรือครรภ์เป็นพิษ จะถือว่ามีภาวะเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด และจะต้องได้รับการดูแลแบบเฉพาะทางพิเศษอย่างใกล้ชิด
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น เจ็บท้องผิดปกติ มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด ลูกดิ้นน้อยลง หรือคุณแม่มีไข้ ตกขาวมีกลิ่นเหม็นหรือไม่ เพื่อจะได้รับพบแพทย์ได้ทันเวลา
  • หากมีอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด และมาพบแพทย์ได้ทัน แพทย์จะสามารถให้ยายับยั้งไม่ให้คลอดก่อนกำหนดได้ ก็จะทำให้เด็กปลอดภัยจากภาวะหายใจลำบากมากขึ้น หรือมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วันนี้คุณหมอรพ.เด็กสมิติเวช จะมาบอกว่า โรคภูมิแพ้ คืออะไร โรคนี้เกิดจากเรื่องใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองผ่าน

ที่มา : pobpad,phyathai

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong