เล็งเพิ่มวิชาจิตเวช หวังแก้ ปัญหาสุขภาพจิต ของเด็กไทย

อ่านหัวข้อบทความเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงเกิดคำถามว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมต้องมีวิชานี้? แต่ขอบอกก่อนนะคะว่ายังไม่ได้บรรจุลงไปในหลักสูตร สาเหตุหลัก ๆ ที่พบในปัจจุบัน คือ เด็กมีปัญาทางด้านจิตเวชมากขึ้น ประกอบกับยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ แต่สาเหตุอะไรนั้น ติดตามอ่านกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เล็งเพิ่มวิชาจิตเวช หวังแก้ ปัญหาสุขภาพจิต ของเด็กไทย

เล็งเพิ่มวิชาจิตเวช หวังแก้ ปัญหาสุขภาพจิต ของเด็กไทย

สถานการณ์ ปัญหาสุขภาพจิต ของเด็กไทย

ในงานเสวนา “ฆ่าตัวตาย สุขภาวะคนไทยบนปากเหว” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ณ  สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ  นพ.ประเวช  ตันติพิวัฒนสกุล  นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า  ขณะนี้ประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่อันดับที่ 57 ของโลก อัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน หรือประมาณ 3,000 คนต่อปี และเชื่อว่าอาจจะมีอัตราที่สูงกว่านั้น  สาเหตุหลักมาจาก

1. ค่านิยมที่ต้องการความสำเร็จมากจนเกินไป

2. ความต้องการทางด้านวัตถุมากจนทำให้เกิดความเครียด

3. เชื่อว่าความผิดเล็กน้อยไปไม่เป็นไร ขอให้มีความสำเร็จก็เพียงพอ

4. ความเกื้อกูลกันในสังคมขาดหายไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ความต้องการรักษาหน้าตาของตัวเองมากเกินไปเมื่อมีปัญหาจึงไม่ยอมขอความช่วยเหลือจากคนอื่น เพราะกลัวการซุบซิบนินทา เมื่อเกิดปัญหาขึ้นและสะสมนาน ๆ เข้าจึงหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย

นอกจากนี้  นางรัชนี  แมนเมธี  กรรมการสมาคมสายใยครอบครัว  กล่าวว่า  “ปัญหาการฆ่าตัวตาย  จำเป็นต้องเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต ในกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งพบปัญหา 2 กลุ่มอาการ คือ

1. อาการไม่คลุกคลีกับใคร ซึมเศร้า ไม่เข้ากับกลุ่มสังคม

2. อาการก้าวร้าวไฮเปอร์ ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นเด็กเกเร ซึ่งที่จริงแล้วอาการเหล่านี้เมื่อไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าต่อไปเมื่อโตขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทสรุปการเสวนา

จากการเสวนาในครั้งนี้  จึงเกิดความเห็นที่ว่า  ควรมีการบรรจุการเรียนรู้เรื่องโรคจิตเวชอยู่ในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ  เพื่อให้เด็กมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค    รู้จักวิธีการสังเกตโรคซึมเศร้า  หรืออาการทางจิตเวชในเด็กเป็นอย่างไร  สามารถเข้ารับการรักษาได้โดยไม่ต้องอายใคร   หรือไม่ต้องกลัวสังคมรังเกียจ  ถือเป็นทางออกของการแก้ปัญหาในระดับภาคการศึกษา

โรคจิตเวชเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก

องค์การอนามัยโลกได้จำแนกความผิดปกติทางจิตเวชเด็กไว้ดังนี้

1. ความประพฤติแปรปรวน จะมีพฤติกรรมในทางก้าวร้าว ทำลายข้าวของ วิวาทชกต่อย พูดปด ลักขโมย เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. อารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น แสดงออกด้วยความกังวลมากเกินไป ขี้อาย แยกตัว อิจฉาพี่น้อง กลัวโรงเรียน เป็นต้น

3. อารมณ์เคลื่อนไหวมากผิดปกติ ขาดการยับยั้งควบคุม สนใจสิ่งต่างๆ ชั่วครั้งคราว อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ก้าวร้าว โผงผาง ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ดี

4. พัฒนาการล่าช้าเฉพาะด้าน เนื่องจากปัจจัยทางชีวะร่วมกับทางอารมณ์ เช่น มีพัฒนาการล่าช้าในการอ่าน ในการคำนวณ เป็นต้น

5. ความผิดปกติทางสรีรวิทยา เนื่องจากสาเหตุทางจิตใจ ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท และกล้ามเนื้อ จะมีอาการกระตุก ปวดศีรษะ และเจ็บปวดตามที่ต่างๆ ที่พบบ่อยมาก คือ อาการหายใจเกิน คือ มีอาการหายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม หายใจเร็ว หอบลึก ชาตามริมฝีปาก ปลายมือ ปลายเท้า มือเกร็งหงิกงอ วิงเวียนอ่อนเพลีย มีท่าทางสีหน้าวิตก หวาดกลัว มักพบร่วมกับโรคประสาทชนิดกังวลแบบเฉียบพลัน

6. โรคประสาทในเด็ก มักจะมีอาการคละปนกันแบบผสม คือ อาการเศร้าแฝงก้าวร้าว ดื้อดึง ต่อต้าน หงุดหงิด มีพฤติกรรมในทางทำลายตนเอง เช่น มักทำอะไรเสี่ยงต่ออันตราย หรือทำให้ตนเองต้องเจ็บปวด เป็นต้น

7. โรคจิตใจเด็ก มีหลายชนิด เช่น

-  ก่อนอายุ 3  ปี ดูเสมือนเลี้ยงง่าย ไม่ กวน ไม่สนใจใคร ไม่พูด หรือพูดคำแปลกๆ พูด ลอยๆ แต่ถ้าถูกรบกวน เช่น ไปเปลี่ยนที่ของที่วาง ไว้ เขาจะแสดงอารมณ์โกรธรุนแรง และแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ

-  หลังอายุ 18 เดือน - 3 ปี ติดพี่เลี้ยงหรือผู้ใหญ่คนใดคนหนึ่งมากผิดปกติ ถ้าผู้ที่เขาติด จากไปไหน เด็กจะอาละวาดมาก และอาจมีพฤติกรรมแปลก ๆ และขณะเดียวกัน เด็กจะบังคับหรือกระทำการใดๆ กับผู้ที่เขาติดนั้น และถ้าไม่พอใจจะทุบ หยิก ข่วน กัดเป็นต้น

-  อายุ 3 – 4  ปีขึ้นไป จะแยกตัวไม่พูดกับใคร หรือพูดมากด้วยภาษาแปลก ที่ไม่มีใครฟังเข้าใจ บางทีมีสีหน้าอารมณ์เฉย หัวเราะคนเดียว หลงผิดว่า ตนเป็นผู้มีอภินิหาร กระโดดลงมาจากหน้าต่าง

-  เริ่มวัยรุ่น จะพบอาการโรคจิตทางอารมณ์เช่นเดียวกับผู้ใหญ่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหา สาเหตุ และวิธีแก้ไข เกี่ยวกับการพูด การถ่าย และการนอน

1. อาการ เบื่ออาหาร เบื่อนม

สาเหตุ เหนื่อยมาก ทุเลาจากความเจ็บป่วย เกิดอารมณ์ตื่นเต้น กลัว โกรธ ถูกดุ ถูกลงโทษระหว่างกินอาหาร

วิธีแก้ไข ท่าทีของผู้ใหญ่ ทำให้บรรยากาศระหว่างการกินอาหารคลายความตึงเครียด เด็กจะกินอาหารได้เป็นปกติ

2. อาการ อาเจียน

สาเหตุ เกิดอารมณ์ และความเครียดทางใจที่เด็กทนไม่ได้ กลัวโรงเรียน

วิธีแก้ไข แพทย์ตรวจอาการทางกายว่า ลำไส้ถูกอุดกั้น หรือมีเนื้องอกในสมองหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ต้องแก้ไขทางจิตเวช

3. อาการ ขับถ่ายเรี่ยราด ท้องผูกเป็นประจำ

สาเหตุ ถูกจับนั่งถ่ายในขณะที่กล้ามเนื้อยัง ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดีพอ การมีแผลบริเวณอวัยวะขับถ่าย มีการย้ายที่อยู่อาศัย มีปฏิกิริยาต่อการมีน้องใหม่ ทำให้กังวล

วิธีแก้ไข โดยการปฏิบัติที่เหมาะสมของพ่อแม่ บางครั้งแพทย์จะช่วยด้วยการให้ยาระบายอย่างอ่อนๆ เฉพาะช่วงสั้น

4. อาการ ปัสสาวะรดที่นอน

สาเหตุ ส่วนมากเกิดจากอารมณ์ และจิตใจที่ตึงเครียด เนื่องจากถูกดุ ถูกลงโทษบ่อยๆ ส่วนน้อยเกิดจากสาเหตุทางร่างกาย เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคเบาหวาน และโรคลมชัก เป็นต้น

วิธีแก้ไข ผู้ใหญ่ช่วยตั้งนาฬิกาปลุกเวลากลางคืนให้ลุกขับถ่ายปัสสาวะ ผู้ใหญ่และแพทย์ร่วมมือกันค้นหาปัญหาทางอารมณ์ของเด็ก แพทย์ใช้ยาบางอย่างช่วย

5. อาการ ตื่นบ่อยๆ กลางคืน นอนละเมอ ละเมอกลัว เดินละเมอ 

สาเหตุ กังวล เจ็บป่วยทางกาย ขาดความรัก กลัวถูกลงโทษ มีการจากหรือการตายของสมาชิกในครอบครัว ได้ยิน ได้เห็นเรื่องตื่นเต้นตกใจ สิ่งแวดล้อมตึงเครียด ท่าทีของผู้ใหญ่ในครอบครัวไม่เหมาะสม

วิธีแก้ไข แก้ไขท่าทีของผู้ใหญ่ในครอบครัว ถ้ามีอาการอื่นของโรคประสาท หรือโรคจิตร่วมด้วยควรปรึกษาแพทย์

ปัญหาโรคจิตเวชปัจจุบันช่วงอายุลดลงเรื่อย ๆ ทำให้น่าเป็นห่วงอนาคตลูกหลานของเรา  ดังนั้น  ความรัก  ความเข้าใจ และความอบอุ่นในครอบครัว ถือเป็นจุดเริ่มต้น  เปรียบได้กับเกราะกำบังที่แข็งแกร่งให้กับลูกได้ มาร่วมสร้างความอบอุ่นในครอบครัว เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้เด็ก ๆ กันค่ะ

อ้างอิงข้อมูลจาก :

https://www.pptvthailand.com

https://www.dailynews.co.th

https://kanchanapisek.or.th

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

อุทาหรณ์!! แม่วัยรุ่นปลิดชีพตนเองเหตุจากโรคซึมเศร้าหลังคลอด

รับมือ “ไบโพลาร์” โรคอารมณ์สองขั้ว

เตือนภัยจากมือถือและแท็บเล็ต กรมสุขภาพจิตแนะ ‘นั่งให้น้อย เล่นให้เยอะ!’