น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน มีวิธีการเก็บอย่างไร ให้อยู่ได้นานและดีที่สุด

น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน น้ำนมแม่ เก็บอย่างไรดี ใช้อะไรเก็บ และข้อควรระวังเรื่องการเก็บน้ำนมแม่มีอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบของทุกข้อสงสัยที่คุณแม่ให้นมอยากรู้มาฝาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน เก็บอย่างไรดี เป็นคำถามที่คุณแม่ให้นมหลายท่านสงสัย ซึ่งก็แน่นอนว่า การที่จะให้ลูกกินนมนั้น ถ้าเป็นไปได้ การดูดจากเต้าของคุณแม่โดยตรงจะดีที่สุด เพราะจะได้คุณภาพของน้ำนมครบถ้วน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก แต่ก็มีคุณแม่อีกหลายท่านที่ไม่สามารถให้นมลูกจากเต้าได้ทุกครั้ง ซึ่งเหตุผลของคุณแม่แต่ละคนนั้นก็ย่อมที่จะแตกต่างกันออกไป

แต่ในกรณีจำเป็น ที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกจากเต้าได้ เช่น คุณแม่จะต้องออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือไปทำงาน ก็อาจจะต้องมีการบีบ หรือปั๊มนมเพื่อเก็บไว้ให้ลูกกิน ซึ่งนมที่คุณแม่บีบ หรือปั๊มเก็บไว้ในตู้เย็นนั้น คุณภาพก็อาจจะลดไปบ้าง แต่ก็ยังมีคุณค่า รวมทั้งภูมิคุ้มกันจำนวนมากอยู่ ดังนั้น คุณแม่ก็ไม่ควรกังวลมากไป

 

ประโยชน์ของนมแม่ต่อลูกน้อย

คงเป็นเรื่องพื้นฐานที่คุณแม่ทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว ว่าการให้ลูกดื่มนมของแม่จะส่งผลดีต่อพัฒนาการโดยรวมของลูกน้อย และช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นที่บางอย่างลูกน้อยอาจไม่สามารถผลิตได้เอง ดังนั้นหากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกหย่านมก็ควรให้ลูกได้มีโอกาสดื่มนมแม่ตามความเหมาะสม

 

  • มีสารประโยชน์ที่สำคัญต่อลูก : นมแม่ในช่วงแรกจะมีสารสำคัญที่เรียกว่า “โคลอสตรัม (Colostrum)”  หรือที่เรารู้จักดีในรูปแบบน้ำยมสีเหลือง หรือ “หัวน้ำนม” ที่สามารถช่วยให้ลูกมีภูมิคุ้มกันโรคหลายโรค เช่น  โรคอุจจาระร่วง โรคภูมิแพ้ และโรคทางเดินหายใจ เป็นต้น หลังจากนั้นในระยะต่อมายังมีสารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ ได้แก่ โปรตีน วิตามินแร่ธาตุ และน้ำตาลแลคโตส ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลดีต่อลูกน้อย
  • ช่วยระบบขับถ่ายของลูกน้อย : นมแม่จะช่วยกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีที่สามารถช่วยลดโอกาสการติดเชื้อในลำไส้ได้ ส่งผลให้เด็กที่กินนมแม่จะเลี่ยงปัญหาท้องเสีย หรือท้องผูกได้
  • มีผลต่อพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก : เด็กที่ได้รับนมแม่จะส่งผลดีตลอดพัฒนาการเติบโตให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังจะหัดเดิน เนื่องจากจะมีระบบกระดูก และกล้ามเนื้อที่แข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องสุขภาพช่องปากให้ฟันเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ ลดโอกาสการขึ้นทับซ้อนของฟัน และทำให้ฟันไม่เกิดการผุกร่อน
  • พัฒนาการด้านสมองที่ดีขึ้น : นมแม่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการทำงานของสมองดีขึ้น สังเกตได้จากระยะยาว หากเด็กเริ่มเข้าสู้วัยเรียน สมองของเด็กจะมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้หากเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการสมองจากการคลอดก่อนกำหนด การให้กินนมแม่แบบไม่ผสมจะสามารถให้เด็กมีพัฒนาใกล้เคียงกับเด็กทั่ว ๆ ไปได้ด้วย
  • เสริมระบบภูมิคุ้มกัน : นมแม่เป็นแหล่งของแอนติบอดี (Antibody) ช่วยให้ลูกมีระบบภูมิกันที่ดีขึ้น เพื่อต่อต้านอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ หรืออาการป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ยกตัวอย่างเช่น โรคงูสวัด หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นต้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำนมแม่ เก็บอย่างไรดี

 

  • เริ่มต้นด้วยภาชนะที่จะใช้เก็บน้ำนมนั้น อาจเป็นถุงเก็บน้ำนม หรือขวดแก้วที่ทำความสะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนแล้ว
  • ปริมาณน้ำนมที่เก็บนั้น ควรเก็บน้ำนมในปริมาณที่พอให้ลูกกินในแต่ละมื้อ
  • หากเก็บน้ำนมใส่ภาชนะที่เป็นขวด ควรเหลือที่ว่างในขวดไว้ประมาณ ¼ – ½ นิ้ว และปิดฝาขวดให้สนิท แต่ไม่ต้องปิดแน่นมากเกินไป
  • หากเก็บน้ำนมแม่ใส่ถุงเก็บน้ำนม ให้รูดซิปปิดให้สนิท โดยเหลือที่เผื่ออากาศในถุงด้วย เพราะน้ำนมนั้น เมื่อแช่แข็งแล้วจะเกิดการขยายตัว
  • การเก็บน้ำนมในตู้เย็นนั้น ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำและคงที่ นอกจากนี้ อากาศร้อนก็มีผลต่อการเก็บรักษาอุณหภูมิของตู้เย็นด้วย
  • นมที่ยังไม่ใช้ใน 2-3 วัน ควรเก็บในช่องแช่แข็ง
  • หากเก็บนมในที่ทำงาน เพื่อรอนำกลับบ้านในตอนเย็น ไม่ควรเก็บในช่องแช่แข็ง ให้เก็บบริเวณใต้ช่องแช่แข็งแทน แต่ถ้าไม่มีตู้เย็น ให้เก็บในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งหล่อตลอดเวลา
  • เมื่อจะนำน้ำนมจากที่ทำงานกลับบ้าน ต้องแช่ในกระติกน้ำแข็ง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : นมแรกสำหรับลูกสำคัญที่สุด วิธีเลือกนมผงแรกให้ลูก ต่อจากนมแม่ ต้องเลือกอย่างไรให้ดีกับลูกน้อยที่สุด

 

น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน

น้ำนมแม่จะมีอายุนานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งาน เรามีรูปภาพประกอบให้เข้าใจง่ายว่า ตู้เย็น หรือตู้แช่แบบไหน จะใช้เก็บน้ำนมแม่ได้นานเท่าไหร่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีนำนมในช่องแช่แข็งมาใช้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เลือกถุงนมแม่ที่แช่ไว้ในตู้เย็น โดยเลือกตามวันที่นำเอาไปเก็บในช่องแช่แข็งก่อน และต้องตรวจเช็คดูว่าถุงรั่วหรือไม่
  • นำนมแม่ไปใส่ในตู้เย็นช่องธรรมดา ให้น้ำแข็งละลายเสียก่อน โดยต้องนำออกมาล่วงหน้า 1 คืน หรือประมาณ 12 ชัวโมง
  • นำนมแม่ที่ละลายแล้วไปอุ่นด้วยน้ำอุ่น ห้ามใส่ไมโครเวฟเด็ดขาด หรือแช่ด้วยน้ำร้อนจัดเพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารในนมแม่ไป
  • หยิบถุงเก็บน้ำนมที่แยกมาเป็นชั้นๆ มาเขย่าให้นมเข้ากันแล้วใส่ขวดนม หรือจะเขย่าน้ำนมในขวดเลยก็ได้ ถ้าใครมีเครื่องสวิงนำมาใช้จะง่ายกว่าค่ะ

 

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเก็บน้ำนมแม่

 

  • ตู้เย็นที่เปิดปิดบ่อย หรือมีของอื่นแช่มาก อาจทำให้อุณหภูมิไม่คงที่ได้
  • น้ำนมที่ละลายหลังแช่แข็งแล้ว ไม่ควรนำไปแช่แข็งซ้ำอีก เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบต่าง ๆ ของน้ำนม ซึ่งจะทำให้คุณภาพของน้ำนมเสียไป
  • นมที่ให้ลูกกินไปบ้างแล้ว หากเหลือ ไม่ควรเก็บไว้อีก เพราะอาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งจะส่งผลเสียต่อลูกได้
  • อย่าปล่อยให้นมแม่ที่แช่แข็งละลายเองในอุณหภูมิปกติ
  • นมที่เก็บในถุงเก็บน้ำนมแม่ จะละลายได้เร็วกว่านมที่เก็บในภาชนะอื่น
  • สามารถนำน้ำแม่ที่เพิ่งปั๊มเสร็จมาผสมรวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ภายใน 24 ชั่วโมงได้ หลังจากเก็บครั้งแรก
  • หลังจากที่ปั๊มนมออกมา ให้นำไปแช่ที่ช่องแข็ง ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
  • นมแม่ที่มีกลิ่นหืน ไม่ได้แปลว่าเสีย ซึ่งนมที่เสียต้องมีรสชาติเปรี้ยวจัด

 

ที่มา: AnamaiMedia ,meadjohnsonni

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีเพิ่มน้ำนมแม่
จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ
น้ำนมแม่ที่แช่เก็บไว้ เอามาอุ่นให้ลูกกินอย่างไร ได้คุณค่าจากเต้าเท่าเดิม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul