เตรียมของใช้ทารกแรกเกิดไปโรงพยาบาล ใกล้คลอดแล้ว...ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เตรียมของใช้ของทารกแรกเกิดไปโรงพยาบาลต้องมีอะไรบ้าง ลูกใกล้คลอดแล้ว แต่ไม่รู้ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง?  ทาง theAsianparent ได้ลิสต์รายการ เตรียมของใช้ของทารกแรกเกิดไปโรงพยาบาล สำหรับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหมดแล้ว จะมีอะไรบ้างมาเช็คกันเลย

 

เตรียมของใช้ของทารกแรกเกิดไปโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง ?

1. ขวดนม

แนะนำให้เลือกขวดพลาสติกที่ถือง่าย ทำความสะอาดง่าย และปลอดสารบีพีเอ และควรเริ่มที่ขนาดเล็ก กรณีคุณแม่วางแผนให้ลูกดูดนมจากขวดร่วมกับดูดเต้า คุณแม่ควรเตรียมขวดนมประมาณ 4 ออนซ์ และเลือกจุกนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะจุกรุ่นเสมือนนมแม่เพื่อให้ลูกน้อยไม่สับสน สามารถสลับดูดเต้า และดูดจุกได้

 

2. เครื่องนอน

คุณแม่อาจเตรียมเครื่องนอนไว้สำหรับลูกน้อย เช่น หมอน ผ้าห่ม รวมถึงผ้าขนหนูเช็ดตัว/ห่อตัวหลังอาบน้ำ

 

3. เสื้อผ้า

แนะนำให้ คุณพ่อ คุณแม่เลือกเสื้อผ้าที่เนื้อผ้ามากกว่าที่สี หรือลวดลาย และไม่ระคายเคืองต่อผิว ไม่ทำให้รู้สึกคันเนื้อคันตัว ที่สำคัญต้องเลือกแบบไม่มีกระดุม แต่ใช้เป็นแบบเชือกผูกจะดีกว่า เพราะเมื่อลูกนอนทับแล้วจะไม่สบายตัว หรือถ้าเป็นแบบบอดี้สูท ก็ควรเลือกแบบที่เปิด-ปิดตรงขานะคะ จะได้เปลี่ยนผ้าอ้อมได้ง่าย ๆ ค่ะ

 

4. ผ้าห่อตัว

แนะนำให้เป็นผ้าสำลีที่มีความอ่อนโยน และให้ความอบอุ่น ช่วยให้ลูกรู้สึกสบาย และรักษาอุณหภูมิในร่างกายของลูกได้ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. ถุงมือ/ถุงเท้า/หมวก/เด็กอ่อน

ก่อนซื้อถุงมือ ถุงเท้าควรพลิกดูด้านใน หลีกเลี่ยงถุงมือ ถุงเท้า ที่ด้านในมีตะเข็บ หรือเส้นด้ายที่ง่ายต่อการหลุดลุ่ย ซึ่งอาจพันนิ้วของลูกจนเกิดอาการห้อเลือดได้ค่ะ สำหรับหมวก ทารกแรกเกิดควรสวมหมวกที่แนบชิด กับศีรษะ เพื่อให้รู้สึกอบอุ่น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็น ในห้องแอร์ มีลมพัด หรือออกไปนอกบ้าน ส่วนผ้ากันเปื้อน ลูกน้อยจะเริ่มได้ใช้เมื่ออายุประมาณ 3 - 4 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ เริ่มเล่นน้ำลาย หรือมักมีน้ำลายไหลบ่อย ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. ผ้าอ้อม/ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

ควรเลือกผ้าอ้อมแบบมีความนุ่มเป็นพิเศษ ซึมซับได้เร็ว ไม่รั่วซึม ระบายอากาศได้ดี เพื่อปกป้องผิวที่บอบบางของทารกแรกเกิด และต้องมีขอบเอวด้านหน้าเว้นส่วนสะดือ เพื่อทำให้สะดือแห้งไว ไม่อับชื้นจนเกิดการติดเชื้อ อาจเตรียมผ้าอ้อมในปริมาณมากพอที่สามารถเปลี่ยนใช้ได้ประมาณ 8 - 12 ผืนต่อวัน ขนาดของผ้าอ้อมควรเลือกคละกันทั้งขนาดกลาง และขนาดใหญ่ที่สามารถห่อตัว หรือใช้เป็นผ้าห่มได้ด้วย

สำหรับผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำหรับช่วงแรกเกิด แนะนำผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบเทปแปะ ซึ่งจะสวมใส่ง่ายกว่าผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบกางเกง ผ้าอ้อมสำเร็จรูปก็เป็นอีกไอเทมยอดฮิตที่คนมักนำมาให้เป็นของขวัญ เพราะฉะนั้น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปไซส์ NB (New born) สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงน้ำหนักตัว 5 กิโลกรัมหรือแค่ประมาณช่วง 2 เดือนแรก จึงควรเตรียมไว้ประมาณ 50 ชิ้นสำหรับช่วงแรก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. ทิชชู่เปียก/กระดาษเช็ดก้น/สำลี

คุณพ่อ คุณแม่ อาจต้องเตรียมพวกสำลี หรือทิชชู่เปียก ไว้สำหรับเช็ดบริเวณขับถ่าย เช็ดสะดือ และสำหรับเช็ดดวงตา โดยพยายามเลือกที่ปราศจากสารก่อความระคายเคือง

 

8. คาร์ซีท/เปลกระเช้าหรือตะกร้าหิ้วเด็ก

คาร์ซีท/เปลกระเช้า หรือตะกร้าหิ้วเด็ก ต้องเลือกรุ่นที่สามารถใช้ในเด็กแรกเกิดได้ และเตรียมศึกษาวิธีใช้ และการติดตั้งตั้งแต่ก่อนคลอด เพื่อพร้อมรับลูกน้อย กลับจากโรงพยาบาล ทางที่ดีคือควรเลือกรุ่นที่สามารถถอดเปลี่ยนแผ่นนั่งรองได้ เมื่อลูกมีขนาดที่โตขึ้น จะได้ใช้ได้ยาว ๆ

 

9. น้ำยาล้างขวดนมและแปรงล้างขวดนม

คุณควรเลือกซื้อน้ำยาล้างขวดนมที่ลดการระคายเคืองต่อเด็ก อาจจะต้องเตรียมพวกเครื่องนึ่งขวดนม เพื่อให้น้องได้กินนมในขวดนมที่สะอาดจริง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเลือกน้ำยาล้างขวดนม แบบไหนดี และปลอดภัย ให้เราช่วยแนะนำ

 

10. โลชั่น หรือออยล์

แนะนำให้เลือกสำหรับทาตัว และทาหน้า รวมถึงครีมทาก้น ป้องกันการเกิดผดผื่น

 

 

เตรียมของใช้สำหรับคุณแม่

  1. เอกสารส่วนตัว เช่น บัตรประชาชน ใบนัดแพทย์ สมุดฝากครรภ์ เอกสารประกันสุขภาพ เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคลอดที่ห้ามลืมเด็ดขาด เพราะจำเป็นต้องใช้ในวันเตรียมตัวคลอดที่โรงพยาบาล
  2. ของใช้ส่วนตัวในห้องน้ำ สบู่แชมพู ผ้าเช็ดตัวแปรงสีฟัน ยาสีฟัน และแปรงหวีผม
  3. เสื้อคลุมอาบน้ำ ใช้สวมหลังอาบน้ำ หรือในเวลาที่คุณอยากออกไปเดินนอกห้องพักในโรงพยาบาล
  4. กางเกงใน เสื้อชั้นใน สำหรับให้นมลูก และแผ่นซับน้ำนม เป็นของเตรียมคลอดสำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่
  5. ผ้าอนามัยชนิดหนา เพื่อใช้ซึมซับน้ำคาวปลาหลังคลอด ซึ่งเป็นของเตรียมคลอดที่ทางโรงพยาบาลมักจัดเตรียมไว้ให้เช่นกัน แต่ก็ควรเตรียมยี่ห้อที่ใช้เป็นประจำติดไปด้วยเพื่อไว้ใช้สำรอง
  6. ชุดนอน หากคุณแม่นั้นไม่อยากสวมชุดคนไข้ของทางโรงพยาบาล
  7. รองเท้าแตะ สำหรับใส่เดินในห้องพักฟื้น พร้อมถุงเท้าอุ่น ๆ เพื่อ คุณแม่จะได้อุ่นร่างกาย
  8. โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ หนังสืออ่านเล่น กล้องถ่ายรูป เป็นของเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ เพื่อใช้ผ่อนคลายขณะพักอยู่ที่โรงพยาบาล
  9. ชุดสวมกลับบ้านสำหรับคุณแม่ ที่คุณแม่ใส่แล้วสบายตัว เพื่อกลับไปพักผ่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เตรียมพร้อมสำหรับคลอดลูกที่โรงพยาบาล จัดของเตรียมคลอด ให้ครบจบในกระเป๋าใบเดียว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ควรจัดกระเป๋าเตรียมของใช้ทารกแรกเกิดเมื่อไหร่

คุณแม่ควรจัดกระเป๋าเตรียมไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ ก่อนถึงวันครบกำหนดคลอด เพราะมีความเป็นไปได้ว่าคุณอาจเจ็บท้องคลอดก่อนอายุครรภ์ ครบ 9 เดือน คุณแม่ควรจัดกระเป๋าให้พร้อมสำหรับไปโรงพยาบาลได้ในทันทีที่เริ่มเจ็บท้องค่ะ

 

คำแนะนำสำหรับมารดาหลังคลอด

  1. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง และผลิตน้ำนมได้เพียงพอ เช่น อาหารพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่ว ไข่ นมสด ผัก และผลไม้ทุกชนิด ดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 6 - 8 แก้ว อาหารที่ควรงดได้แก่ อาหารรสจัดของหมักดอง น้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากสามารถผ่านทางน้ำนมได้
  2. การพักผ่อน ควรพักผ่อนมาก ๆใน 2 สัปดาห์แรกโดยในตอนกลางวันควรพักผ่อนประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง หรือพักผ่อนในช่วงที่ทารกหลับ ส่วนในตอนกลางคืนควรพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
  3. การทำงาน ในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอดสามารถทำงานบ้านเบา ๆ ได้ไม่ควรยกของหนัก หรือทำงานที่ต้องออกแรงมาก เพราะกล้ามเนื้อ และเอ็นต่าง ๆ ยังไม่แข็งแรงซึ่งอาจทำให้มดลูกหย่อนภายหลังได้ หลังคลอด 2 สัปดาห์ไปแล้วค่อย ๆ ทำงานเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนครบ 6 สัปดาห์จึงทำงานได้ตามปกติ
  4. การรักษาความสะอาดของร่างกาย ควรอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรแช่ในอ่างน้ำ หรือแม่น้ำลำคลองเพราะเชื้อโรคอาจผ่านเข้าไปในโพรงมดลูกทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ควรสระผมสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง ตัดเล็บให้สั้น เสื้อผ้าต้องสะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายสะอาดสามารถ ดูแลบุตรในวัยทารกแรกเกิดได้ ไม่ติดเชื้อ หรืออันตรายต่าง ๆ จากผู้ที่ให้การเลี้ยงดู
  5. การดูแลรักษาเต้านม และหัวนม ควรล้างให้สะอาดขณะอาบน้ำ และเช็ดทุกครั้งหลังให้นมเพราะอาจมีคราบน้ำนมแห้งติดทำให้หัวนมแตกเป็นแผลได้ ควรสวมเสื้อยกทรงพยุงเต้านมไว้ เนื่องจากเต้านมจะมีขนาดโตขึ้น อาจทำให้เต้านมหย่อนได้ภายหลัง
  6. การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอกควรทำความสะอาดด้วยสบู่ และล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำ และหลังการถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ และซับให้แห้งจากด้านหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคจากรูทวารหนัก มาเข้าสู่ช่องคลอดได้จากนั้นใส่ผ้าอนามัย ที่สะอาดเพื่อรองรับน้ำคาวปลาที่ออกมา ป้องกันติดเชื้อควรเปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อชุ่ม หรือทุก 3 - 4 ชั่วโมง
  7. การมีเพศสัมพันธ์ ควรงดจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดเมื่อครบ 4 - 6 สัปดาห์แล้วว่าไม่มีภาวะผิดปกติทั้งนี้ เนื่องจากช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ยังมีแผลในโพรงมดลูกน้ำคาวปลา และมีแผลฝีเย็บยังไม่ติดดี อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

 

 

สิ่งของที่ไม่ควรนำไปโรงพยาบาล

  • เครื่องประดับ
  • ของมีค่า หรือเงินสดจำนวนมาก
  • ยา หรือวิตามินต่าง ๆ ยกเว้นเมื่อต้องไปโรงพยาบาลที่ไม่เคยไปมาก่อน หรือไม่มีประวัติการรักษาอยู่

 

ช่วงที่กำลังเข้าสู่เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อีกไม่กี่อึดใจก็จะได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อยกันแล้ว สิ่งที่ควรทำในเดือนสุดท้าย อะไรบ้างที่คุณแม่ไม่ควรพลาด ในการเตรียมตัวรับมือกับเจ้าตัวน้อย คุณแม่ก็สามารถเช็กลิสต์ได้ตั้งแต่ตอนนี้เลยนะคะ พอถึงเวลาไปโรงพยาบาลเตรียมคลอดจะได้ไม่ลืมของสำคัญต่าง ๆ ไปค่ะ

 

อ่านประสบการณ์ตรงของคุณแม่ที่เคยเตรียมของไปคลอดโรงพยาบาลรัฐ

เตรียมของไปคลอดโรงพยาบาลรัฐ เตรียมของไปคลอดต้องมีอะไรบ้างคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เย็บปากมดลูก ป้องกันคลอดก่อนกำหนด ทำไมต้องเย็บปากมดลูก คนท้องต้องเย็บปากมดลูกทุกคนหรือไม่

ระยะของการคลอด เป็นอย่างไร เจ็บเตือน เจ็บจริง คลอดรก ตอนไหนเจ็บปวดที่สุด

15 อาการหลังคลอดลูก ที่ต้องเจอแน่หลังออกจากห้องคลอด

ที่มา : enfababy

บทความโดย

Khunsiri