11 ยาอันตรายห้ามใช้กับคนท้อง แม่ท้องต้องรู้! ยาอันตรายอาจทำให้ลูกในครรภ์พิการได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องต้องรู้ 11 ยาอันตรายห้ามใช้กับคนท้อง ยาอันตรายอาจทำให้ลูกในครรภ์พิการได้  เพราะอาการเจ็บป่วยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่คนท้องใช่ไหมคะ วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราหายป่วยไข้ไม่สบายได้คือการทานยา แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เรากลายสภาพร่างมาเป็นคนท้องแล้ว การทานยาไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ หรือเรื่องเล่น ๆ ที่จะละเลยได้อีกแล้ว เพราะยาทุกตัว หากไม่ระวังล้วนแล้วแต่อันตรายกับคนท้องทั้งสิ้นค่ะ  รายชื่อยาต่อไปนี้เป็น ยาอันตรายห้ามใช้กับคนท้อง โดยเด็ดขาด เพราะจะเกิดผลเสียต่อเด็กในครรภ์

 

 

เพราะเหตุใด แม่ท้องถึงควรระมัดระวังเรื่องการทานยา

หลายครั้งเราจะพบว่ามีแม่ท้องหลายคนที่คลอดลูกออกมา แล้วเกิดความพิการอันเนื่องมาจากการใช้หยูกยาที่ไม่ได้ระวังในช่วงตั้งครรภ์ก็มีอยู่มาก การตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสแรกนั้นถือเป็นระยะที่ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจเป็นพิเศษนะคะ เพราะถือเป็นระยะที่เด็กในครรภ์กำลังสร้างอวัยวะต่าง ๆ ไม่ควรจะให้ยาอะไรเลยแก่หญิงมีครรภ์ เพราะยาส่วนใหญ่ที่ให้ในหญิงมีครรภ์จะผ่านรกไปยังลูกได้ ในระยะนี้ นอกจากยาที่จำเป็นจริง ๆ เช่น เพื่อช่วยในการรักษาโรคที่เป็นอันตรายต่อแม่ นอกจากนี้การให้ยาเมื่อครรภ์ครบกำหนดใกล้คลอด ก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะยาอาจค้างอยู่ในเด็ก เมื่อคลอดออกมาเป็นอันตรายได้มาก เพราะเด็กแรกคลอดขาดประสิทธิภาพในการทำลายพิษยา หรือขับยาออกจากร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เด็กพิการได้ โดยทั่วไปแล้วความพิการของลูกอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม โรคบางอย่าง เช่น หัดเยอรมัน  ถูกแสงเอกซเรย์มาก  และมาจากการใช้ยาบางชนิด ด้วยเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้อง 3 เดือนแรก ห้ามทำอะไรบ้าง คุณแม่ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ

 

11 ยาอันตรายห้ามใช้กับคนท้อง อาจทำให้ลูกในครรภ์พิการได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. แอนตีเมตาโบไลท์ (Antimetabolites)

เช่น อะเมธอบเตริน (Amethopterin), ฟูโอยูราซิล (Fluouracil) และ 6 อะซอริดีน (6Azauridine) หากทานในปริมาณมาก สามารถทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ แม้ได้รับในปริมาณน้อย ก็สามารถก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิด เช่น เพดานโหว่ ศีรษะผิดปกติ (Cranial Dysostosis) หูผิดปกติ เท้าปุก (Club foot) ทารกเจริญช้ากว่าปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการลูกตายในท้อง สัญญาณอันตรายที่บอกว่าลูกน้อยไม่อยู่ในท้องแม่แล้ว !!

2. แอนโดรเจน (Androgen)

ได้แก่ยา เทสโตสเตอโรน (Testosterone), เมธิลเทสโตสเตอโรน (Methyl testosterone) และ โปรเจสโตเจน ได้แก่ นอร์เอธินโดรน(Norethindrone), นอเอธินโนเดรล (Norethyl nodrel) หรือ เอธิสสเตอโรน (Ethisterone) มีรายงานจากหลายแหล่ง กล่าวว่า ทำให้เด็กผู้หญิงมีลักษณะคล้ายเด็กผู้ชาย (Musculinization) และกระดูกเจริญมากกว่าอายุ เพราะโปรเจสโตเจนที่ได้จากธรรมชาติ เช่น โปรเจสเตอโรน หรือ ยาใกล้เคียง เช่น เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone) จะทำให้เกิดความพิการน้อยกว่าชนิดอื่น เช่น เป็นเด็กไม่มีก้น (imperforated anus) อวัยวะทางเพศ และทางเดินปัสสาวะ

3. ยากันชัก (Anticonvulsants)

ทำให้พัฒนาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ผิดปกติ ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า รวมทั้งแขน ขา โดยเฉพาะเล็บและปลายนิ้วฝ่อ แม่ที่กินยากลุ่มไฮดันโตอิน(Hydantoin) เช่น ไดแลนติน (Dilantin) และ เฟนิโทอิน (Phenytoin) มีอัตราเสี่ยง 4.2-25% ที่จะทำให้ลูกในครรภ์เกิดอาการดังกล่าว เรียกว่า fetal hydantoin syndrome ยากันชักตัวอื่นที่ทำให้เกิดความพิการแก่เด็กในครรภ์ได้ แต่ยังไม่มีรายงานที่ชัดแจ้ง การใช้ยาเหล่านี้ในหญิงมีครรภ์ควรใช้เมื่อจำเป็นมากจริง ๆ เท่านั้น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. อันคาเลติง เอเจนต์ (Ankalating agent)

เป็นหนึ่งในกลุ่มยาเคมีบำบัด ได้แก่ ไซโคฟอสฟาไมด์ (Cychophosphamide) ยาปฏิชีวนะ(Antibiotic) เช่น แอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B) ไมโตมัยซิน (Mitomy­cin) ซึ่งทำให้เกิดอาการแท้ง และมีความพิการแต่กำเนิดหลายอย่าง

 

5. เออร์โกเมทรีน (Ergometrine)

ทำให้เกิดความพิการแบบโปแลนด์ (Poland anomaly)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. เอสโตรเจน (Estrogen)

เช่น ไดเอธิลสติลเบสตรอล (Diethylstilbestrol) แม่ที่ได้ยานี้เพื่อป้องกันการแท้ง ในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก (ยังไม่มีรายงานในหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 18 สัปดาห์) จะทำให้ลูกที่เป็นเพศหญิง เมื่อโตจนอายุ 13-24 ปี จะเกิดเนื้องอกและมะเร็งของช่องคลอด และมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น

7. ปรอท (Mercury)

แม่ที่ได้รับสารปรอทเข้าไปมาก สามารถทำให้ แท้งลูก ลูกตายในท้อง หรือตายหลังคลอดเพิ่มขึ้น หรือลูกเกิดมามีความพิการทางสมองเป็น Infantile cerebral palsy หรือโรคทางสมองอื่น ๆ เรียกว่าโรค มินามาตะ (Minamata disease) พบในแม่ที่กินอาหารที่มีปรอทเข้าไปสะสม เช่น ปลาทะเลบางชนิด หรือธัญพืชต่าง 

8. ธาลิโดไมด์ (Thalidomide)

ยากลุ่มนี้ สามารถทำให้เด็กตายในท้อง หรือ พิการโดยกำเนิด เช่น ไม่มีมือและเท้า (Phocomelia Syndrome) หูหนวก หลอดเลือดและหัวใจ ทางเดินอาหารอวัยวะทางเพศและทางเดินปัสสาวะ 

9. โพลีคลอริเนท ไบเฟนิล (Polychlorinated biphenyls PCBs)

เป็นสารที่ปนมากับน้ำมันปรุงอาหาร  ทำให้ผิวของเด็กมีสีคล้ำ (Cola colored) และมีความพิการแต่กำเนิดหลายอย่าง

10. ยาที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัว วาร์ฟาริน (Warfarin)

ทำให้ทารกมีโอกาสเกิด Warfarin embryopathy ทารกจะมีลักษณะสันจมูกยุบลง สันจมูกเล็ก, มีการปิดของช่องจมูกด้านหลังตั้งแต่แรกเกิด รวมถึงทำให้เกิด Chondrodysplasia Punctata โดยเด็กจะมีลักษณะแขนขาที่สั้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกต้นแขน และมีภาวะข้อหดเกร็ง เปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตจากการเลือดออก สูงถึง 15% หรือหากทารกคลอดออกมา อาจมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการที่ลูกมีพัฒนาการช้า ตาบอด และหูหนวก

11. แอลกอฮอล์ (Alcohol)

แม่ที่ติดเหล้าหรือดื่มเหล้ามากขณะตั้งครรภ์  มีความเสี่ยงในการแท้งลูกสูงมาก และเด็กโอกาสที่เด็กจะเสียชีวิตระหว่างคลอดเพิ่มขึ้น เด็กในครรภ์เกิดอาการที่เรียกว่า ฟีตอลแอลกอฮอล์ซินโดรม (Fetal alcohol syndrome) คือ มีความพิการของส่วนศีรษะ, หน้า, แขน, ขา และหัวใจ การเจริญเติบโตในครรภ์ช้าผิดปกติ อาจเป็นเด็กปัญญาอ่อน (Mental retardation) เด็กแรกคลอดบางรายจะแสดงอาการขาดเหล้า (Alcohol withdrawal) เช่น มีการร้องกวน ดิ้นและกระวนกระวายตลอดเวลา

 

จะเห็นได้ว่า มียาหลายประเภทเลยนะคะที่อันตรายต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกในครรภ์พิการ และเสี่ยงต่อการเกิดอาการแท้งได้เลย อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่จำเป็นต้องทานยา หรือมีอาการเจ็บป่วยใด ๆ แนะนำให้คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง จะเป็นการดีที่สุดค่ะ หลีกเลี่ยงการซื้อยาทานเอง เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และสุขภาพของลูกในครรภ์นะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไขข้อข้องใจให้แม่ท้อง คนท้องกินยาแก้ปวดท้องได้ไหม ?

ไม่อยากให้ลูกในท้องพิการ ต้องอ่านนะ ลูกพิการแต่กำเนิด สาเหตุเพราะอะไร?

ความพิการแต่กำเนิด 5 โรคร้ายแรงที่แม่ท้องควรระวัง

ที่มา : w1.med, pharmacy.mahidol

บทความโดย

Weerati