คนท้องกินลาบดิบได้ไหม มีความเสี่ยงมาพร้อมกับความอร่อยหรือไม่ ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมนูอาหารที่คุณแม่หลายคนติดใจ หนึ่งในนั้นอาจมีเมนูที่ทำมาจากเนื้อดิบของสัตว์ชนิดต่าง ๆ แต่เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว อาจมีความกังวล มีความสงสัยว่า คนท้องกินลาบดิบได้ไหม ทานของดิบอยู่แล้ว จะส่งผลต่อลูกในครรภ์หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง เพราะอาจเสี่ยงพยาธิ และการติดเชื้อโรคทอกโซพลาสโมซิส

 

คนท้องกินลาบดิบได้ไหม

ของโปรดของคุณแม่หลายคน ที่อาจชอบทานตั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ หนึ่งในเมนูนั้น อาจมีลาบดิบ ที่ทำทานเองได้ที่บ้าน แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลเรื่องมื้ออาหารมากขึ้น และหนึ่งในมื้ออาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ของดิบ และของสด เช่น ปลาดิบ, สเต๊กกึ่งดิบกึ่งสุก, แหนมดิบ, ไข่ดิบ และอาหารทะเลดิบ ๆ รวมไปถึงลาบดิบด้วยนั่นเอง ถึงแม้มื้ออาหารที่ทานจะอยู่ในสภาพกึ่งดิบกึ่งสุกก็ต้องหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน ส่วนสาเหตุนั้นมาจากอาจมีความเสี่ยงของพยาธิชนิดต่าง ๆ ที่หลงเหลือจากการปรุงอาหารที่ไม่สุก

 

ความเสี่ยงจากการทานของดิบ ลาบดิบของคนท้อง

พยาธิที่หลงเหลืออยู่จากการปรุงอาหาร จะยิ่งมีโอกาสพบเจอได้มากขึ้น ในอาหารที่ไม่ได้ถูกปรุงสุกผ่านความร้อน ถึงแม้จะใช้กระบวนการอื่น ก็อาจยังมีพยาธิหลงเหลืออยู่ และหลายสายพันธุ์เล็กเกินกว่าที่เราจะสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน หากมีพยาธิอยู่ในอาหารจะทำให้คุณแม่ท้องมีความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ขาดสารอาหาร, ท้องร่วง หรืออาหารเป็นพิษ เป็นต้น ยิ่งมีพยาธิในปริมาณมากเท่าไหร่จะยิ่งอันตรายมากขึ้นเท่านั้น

นอกจากพยาธิแล้ว อาหารที่ปรุงไม่สุกยังอาจมีเชื้อแบคทีเรียปะปนอยู่ อาจเสี่ยงต่อเชื้อปรสิต “Toxoplasma gondii”  เสี่ยงให้เกิด “โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)” ตามมาได้ ทำให้มีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัด และยังสามารถถ่ายทอดไปสู่ทารกในครรภ์ได้ด้วย และเนื้อดิบยังอาจมีการปนเปื้อนสารปรอท โดยเฉพาะลาบที่มีส่วนผสมของปลาดิบ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และมีผลเสียต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินน้ำผึ้งได้ไหม ? มีหลายเรื่องที่ต้องระวัง คุณแม่รู้แล้วหรือยัง ?

 

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พยาธิตัวไหนบ้างที่อาจพบในเมนูเนื้อดิบ ลาบดิบ

การรับพยาธิมาจากเนื้อสัตว์ที่คนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงพบอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ พยาธิหอยโข่ง และพยาธิตัวจี๊ด ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางอุจจาระ ทำให้สัตว์สามารถติดกันได้ง่าย และด้วยการกำจัดพยาธิจากการทำอาหาร คือ ความร้อน อาหารที่มีความดิบ จึงเป็นเมนูที่เพิ่มโอกาสในการพบเจอพยาธิทั้งสองชนิดนี้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

  • พยาธิหอยโข่ง : หรือ “พยาธิปอดหนู” เป็นพยาธิที่พบได้ในหอยโข่ง, ปู และกุ้ง ซึ่งอาจถูกนำมาทำเป็นเมนูลาบอยู่บ่อยครั้ง หากปรุงไม่สุกอาจพบเจอพยาธิหอยโข่งได้ โดยอันตรายของพยาธิชนิดนี้ คือ โรคทางสมอง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือส่งผลต่อการมองเห็น รุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ เป็นต้น
  • พยาธิตัวจี๊ด : พบได้ในเนื้อปลาน้ำจืด, เป็ด, นก และไก่ หากปรุงไม่สุก ยังสามารถส่งต่อให้ผู้อื่นผ่านทางอุจจาระได้ด้วย อาจสังเกตอาการได้จากการเคลื่อนไหวใต้ผิวหนัง หากพยาธิตัวจี๊ดเคลื่อนที่เข้าสู่สมองจะทำให้เกิดอันตราย เช่น สมองอักเสบ, มีเลือดออก และส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เป็นอัมพาต อาจรุนแรงถึงขั้นชักหมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

 

เนื่องด้วยในปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะทางที่จะใช้รักษาอาการเกี่ยวกับพยาธิทั้งสองชนิดนี้ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น พบการเคลื่อนไหวใต้ผิวหนัง, เวียนหัว, ระบบการมองเห็นมีปัญหา หรือมีอาการมือชา เท้าชาไม่มีความรู้สึก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อดูแลตามอาการที่เกิดขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) แม่ท้องไม่ควรมองข้าม

มาจากเชื้อปรสิตที่มีชื่อว่า “Toxoplasma gondii” ปกติแล้วจะพบในมูลของแมว และในเนื้อดิบ อาจมีอาการที่ไม่รุนแรงมาก แต่สามารถส่งต่อสู่ทารกในครรภ์ได้ โดยอาการจะคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้, ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ เป็นต้น อาการเหล่านี้จะสามารถหายไปได้เอง แต่หากมีอาการควรเข้ารักษาตัวทันที เพราะอาจมีผลกระทบที่รุนแรงในผู้ป่วยบางราย จากการส่งผลต่อสมอง และดวงตาด้วย เช่น สมองติดเชื้อ, มีอาการชัก และสมองอักเสบ เป็นต้น โดยเฉพาะหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

การรักษาในคุณแม่ท้อง จะเป็นไปตามความรุนแรงของอาการจากการติดเชื้อ และระยะเวลาที่ติดเชื้อ ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธี ได้แก่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากติดเชื้อไม่เกิน 16 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ : แพทย์อาจรักษาด้วยการให้คุณแม่ทานยาปฏิชีวนะ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจากคุณแม่สู่ทารกในครรภ์
  • หากติดเชื้อ16 สัปดาห์ขึ้นไปของการตั้งครรภ์ : อาจเสี่ยงต่อทารกในครรภ์มากขึ้น หากพบว่าทารกติดเชื้อแล้ว แพทย์จะจัดยาให้ตามความเหมาะสม แต่ในการรักษาระยะนี้ ตัวยาอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของคุณแม่ได้

 

 

คุณแม่ท้องควรทานอาหารอย่างไรให้เหมาะสม

การทานอาหารให้ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่ คือ การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดการทานอาหารที่ติดมัน หรืออาหารที่มีไขมันเยอะ และต้องเพิ่มสารอาหาร “โฟลิก”  ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับแม่ท้อง หาได้จากผักใบเขียว, ไข่, พืชในตระกูลถั่ว และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่องของการทานอาหารที่มากเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคอ้วน และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้

 

การดูแลรักษาโรคทอกโซพลาสโมซิส หรือพยาธิในร่างกายของแม่ท้อง ทำให้คุณแม่ท้องต้องรับยา ซึ่งไม่ใช่ผลดีต่อร่างกาย เนื่องจากยาบางตัวอาจส่งผลข้างเคียงได้ การหลีกเลี่ยงการทานอาหารดิบ หรือเมนูที่ปรุงกึ่งดิบกึ่งสุกจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีวิธีหนึ่ง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องกินอะไรได้บ้าง ในแต่ละไตรมาส ต้องกินอะไร ? กินอะไรแล้วดี

20 อาหารที่คนท้องห้ามกิน คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามกินอะไรบ้าง ?

คนท้องกินอย่างไรไม่ให้อ้วน กินแบบไหนไม่ให้ลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์

ที่มาข้อมูล : theAsianparentpobpadtheAsianparentmaerakluke

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon