พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1-2 และ ความเสี่ยงต่างๆ

คุณ ๆ ที่กำลังจะเป็นคุณแม่ทั้งหลายเคยสงสัยมั้ยคะว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง? เรามีข้อมูลกอย่างเกี่ยวกับพัฒนาการการตั้งครรภ์และเด็กตั้งแต่วันแรกที่เริ่มตั้งท้องแบบบรายสัปดาห์มาฝาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1-2 เป็นอย่างไร มาดูกัน

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1-2

เกิดอะไรขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์แรก?

คุณแม่ทั้งหลาย นี่อาจจะฟังดูงง ๆ แต่ในช่วงสองสัปดาห์แรก ร่างกายของคุณแค่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งก็นับเป็นหนึ่งและสองสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ แม้ว่าการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่สามก็ตาม ณ จุดนี้ (สัปดาห์ที่หนึ่งและสอง) ไข่และตัวอสุจิยังไม่เจอกันด้วยซ้ำ

สิ่งที่คุณควรทำในช่วงนี้

คุณอาจจะต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตสักเล็กน้อยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเด็ก อาจจะยากที่จะเลิกนิสัยเสียบางอย่าง แต่สักวันคุณจะเข้าใจเองว่ามันคุ้มค่าที่จะพยายามเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของลูกน้อยสุดที่รัก นี่หมายรวมถึงคุณพ่อทั้งหลายด้วย

ให้นมลูกนานเกิน 1 ปี ส่งผลดีหรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สมองของเด็กในช่วงแรกนั้นมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสมองของเด็กเมื่อสิ้นขวบปีแรกจะมีขนาดเท่ากับ 2 ใน 3 ของสมองผู้ใหญ่ และเมื่อครบอายุ 2 ปี จะมีขนาดเท่ากับ 4 ใน 5 ของสมองผู้ใหญ่ และจากการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของสมองเด็กเช่นนี้ ทำให้เรื่องสารอาหาร เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยก็คือน้ำนมแม่ เพราะน้ำนมแม่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าบำรุงสมองและร่างกายของลูก เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีโปรตีน ไขมัน แลคโต๊ส และวิตามิน เกลือแร่ต่างๆครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วนนั่นเอง และจากการวิจัยพบว่า หากคุณแม่ ให้นมลูกนานเกิน 1 ปี จะมีผลดีต่อพัฒนาการด้านสมองของลูกอย่างมาก

นมแม่มีสารช่วยพัฒนาสมอง

นมแม่มีปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบประสาท นอกจากนี้ นมแม่ยังมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ซึ่งร่างกายใช้สารนี้ในการสร้างเส้นใยประสาทในสมอง แม่ที่ให้นมลูกควรกินอาหารที่มี DHA มาก เช่น ปลา กุ้ง หอย ปู อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเพื่อเพิ่มปริมาณ DHA ในน้ำนมแม่ โดยลูกที่กินนมแม่จะได้รับสารนี้ไปเสริมสร้างสมอง ทำให้ลูกฉลาดเมื่อโตขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอุ้มลูกให้ดูดนมแม่ช่วยพัฒนาสมอง

สมองของทารกนั้น จะต้องได้รับสิ่งกระตุ้น เพื่อให้เส้นใยประสาทเจริญเติบโต โดยสิ่งกระตุ้นนั้นอาจจะมาจากภาพ เสียง กลิ่น รส หรือการสัมผัสที่ผิวหนัง ซึ่งการอุ้มลูกให้ดูดนมแม่นั้นจะเป็นการกระตุ้นประสาทรับสัมผัสของลูกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งในขณะที่ลูกดูดนมแม่ ยังมีการสื่อสารผ่านทางสายตา ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้อีกทางหนึ่ง

นมแม่ ช่วยลูกความจำดี

จากการศึกษาวิจัยพบว่า นมแม่นั้นช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมองและสติปัญญาของเด็ก โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ในเด็ก 133 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 10 เดือนขึ้นไป  โดยผู้ที่ทำการวิจัยได้ใช้เครื่อง MRI เพื่อทำการดูข้อมูล ซึ่งพบว่ากลุ่มเด็กที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียวนั้น มีพัฒนาการทางสมองที่เร็วกว่าเด็กที่กินนมแม่ผสมนมผง หรือกินนมผงเพียงอย่างเดียว และหากเด็กกินนมแม่นานขึ้น ก็จะยิ่งมีพัฒนาการทางสมองที่ดีขึ้นตามระยะเวลา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้นมลูกนานเกิน 1 ปี แล้วความจำจะดี

นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาวิจัยยังทำให้เราได้พบว่า ระยะเวลาที่คุณแม่ให้นมลูกนั้น ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง และความจำของเด็ก โดยเด็กที่กินนมแม่มากกว่า 1 ปีขึ้นไป จะมีพัฒนาการทางสมองที่เร็วกว่าเด็กที่กินนมแม่น้อยกว่า 1 ปี โดยเฉพาะทางด้านพัฒนาการของสมองที่สั่งงานไปยังระบบต่างๆเช่น กล้ามเนื้อ ต่อม หรืออวัยวะอื่นๆให้มีการตอบสนองที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านอื่นๆที่ดีขึ้นตามไปด้วย

รูปภาพจาก Baby Imaging Lab/Brown University

อีกทั้งจากการทดสอบในเด็กโตที่กินนมแม่เกิน 1 ปี พบว่าเด็กยังมีความสามารถทางด้านภาษา ทักษะทางด้านการมองเห็น และทักษะทางด้านการเคลื่อนไหวที่ดีอีกด้วย

เพราะการให้ลูกได้กินนมแม่นั้น มีประโยชน์มากมาย สัมผัสรักที่ได้ระหว่างให้นมจะช่วยให้ลูกเกิดความอบอุ่น ทำให้ลูกเกิดความสุขขึ้นในใจ ซึ่งก็จะทำให้เลี้ยงง่าย อีกทั้งร่างกายของแม่เองก็จะหลั่งสารที่ทำให้คุณแม่มีความสุข อารมณ์ดี เมื่อแม่อารมณ์ดี ลูกน้อยก็จะพลอยได้รับสิ่งดีๆตามไปด้วย และหากคุณแม่ท่านใดมีประสบการณ์ดีๆก็อย่าลืมแชร์เรื่องราวเหล่านั้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านท่านอื่นๆนะครับ

เช็คความเสี่ยงก่อนตัดสินใจ แม่ตั้งท้องตอนอายุมาก

เช็คความเสี่ยงก่อนตัดสินใจ แม่ตั้งท้องตอนอายุมาก ตั้งครรภ์อายุมาก เสี่ยงอย่างไร แม่ท้องตอนอายุมาก ความเสี่ยง ตั้งครรภ์

 

ตั้งท้องตอนอายุมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้แม่ท้องเสี่ยงต่อปัจจัยหลาย ๆ ด้านระหว่างการตั้งครรภ์ แต่กระนั้นก็ยังมีหวัง! เพราะเคยมีข่าวว่า คุณแม่ชาวอินเดียได้ให้กำเนิดลูกชาย ในวัย 70 ปี (หลังจากเข้ารับทำเด็กหลอดแก้วกับสามีวัย 79 ปี) ดังนั้นแม่ตั้งท้องตอนอายุมากจึงยังมีความหวัง

หรือจริง ๆ แล้วผู้หญิงที่อายุมากก็สามารถตั้งครรภ์ได้?

อย่างแรกที่แม่ตั้งท้องตอนอายุมากต้องรู้ คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ผู้เป็นแม่มีความเสี่ยงหลาย ๆ ด้าน เช่น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 30+ จะเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานจากการตั้งครรภ์ และมีโอกาสที่จะต้องผ่าคลอดบุตรถึง 50 เปอร์เซ็นต์

สำหรับผู้หญิงวัย 40+ และผู้หญิงวัย 50+ จะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตระหว่างการตั้งครรภ์ หรือเสียชีวิตระหว่างการคลอดบุตร!!!

 

ความเสี่ยงของแม่ท้องเมื่ออายุมาก

ภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ ในช่วงอายุครรภ์ที่มากขึ้นจนใกล้คลอด มดลูกจะมีขนาดใหญ่ ปากมดลูกและส่วนล่างของมดจะบาง ทำให้เกิดรอยปริ จนเลือดออกตรงบริเวณที่รกเกาะ อาจจะรุนแรงถึงชีวิตทั้งแม่และทารก

รกลอกตัวก่อนกำหนด การลอกตัวของรกก่อนที่จะคลอดทารก ทำให้มีเลือดออกบริเวณที่รกเกาะ ถ้ารุนแรงมากแม่จะปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการช็อค และอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้

ภาวะครรภ์เป็นพิษ เมื่อความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจมีภาวะโปรตีนรั่วปนในปัสสาวะร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้คุณแม่เกิดอาการชัก หมดสติ และเลวร้ายที่สุดคือเสียชีวิตทั้งแม่และทารก

ระหว่างคลอด แม่ท้องที่อายุมากจะใช้เวลาคลอดที่นานกว่า และยังต้องเผชิญกับปัญหาอื่น ๆ ของลูกในท้อง เช่น ทารกอยู่ในภาวะเครียด

– แม่ตั้งท้องตอนอายุมากเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มากกว่าแม่ท้องอายุน้อย ๆ

– แม่ตั้งท้องตอนอายุมากกว่า 35 ปี เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ความเสี่ยงนั้นสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า หากเทียบกับแม่ท้องอายุน้อย ๆ หรือคนอายุ 20 ปี

ความเสี่ยงต่อการเกิดดาวน์ซินโดรม หากแม่ตั้งท้องตอนอายุมากแต่ละช่วงอายุ

นอกจากนี้ แม่ท้องที่อายุมาก ลูกก็จะมีความเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม โดยเว็บไซต์ haamor.com ได้แบ่งค่าเฉลี่ยไว้ดังนี้

แม่ที่อายุ 25 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 1,250 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.08%)

แม่ที่อายุ 30 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 1,000 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.1%)

แม่ที่อายุ 35 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 400 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (0.25%)

แม่ที่อายุ 40 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 100 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (1%)

แม่ที่อายุ 45 ปี ถ้าตั้งครรภ์ 30 คน จะมีโอกาสมีลูกเป็นกลุ่มอาการดาวน์ 1 คน (3.3%)

 

แม่ตั้งท้องตอนอายุมากหรือแม่ท้องที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม

  • แม่ตั้งท้องตอนอายุมากควรตรวจเลือดเมื่ออายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป
  • แม่ตั้งท้องตอนอายุมากควรตรวจน้ำคร่ำโดยจะทำในช่วงที่อายุครรภ์ประมาณ 15-18 สัปดาห์

 

โรคทางพันธุกรรมอื่นเมื่อแม่ตั้งท้องตอนอายุมาก

แม่ตั้งท้องตอนอายุมากยังต้องระวังภาวะแฝงของโรคธาลัสซีเมีย หากแม่และพ่อมีภาวะแฝง ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นโรค 25% เป็นพาหะ 50% ปกติ 25%

 

แม้ว่าจะมีความเสี่ยงหลาย ๆ แต่คุณแม่ก็อย่าเพิ่งถอดใจ เพราะในปัจจุบัน แม่ท้องที่อายุมากมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และถ้าคุณแม่พร้อมจะเสี่ยง เรามีคำแนะนำมาฝากกันค่ะ

– ตรวจก่อนตั้งครรภ์และขอรับคำปรึกษา เพื่อให้คุณหมอเช็คร่างกายคุณแม่ก่อนว่าแข็งแรงพร้อมจะตั้งครรภ์หรือไม่

– จากนั้นอย่าลืมไปฝากครรภ์ ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

– พบหมอทุกครั้งตรงตามวันนัด ถ้ามีอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์จะได้แก้ไขได้เร็ว

– เลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และบำรุงครรภ์

– อย่าให้น้ำหนักตัวน้อยหรือมากจนเกินไป ควรปรึกษาคุณหมอว่าน้ำหนักตัวเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม

– ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมตั้งครรภ์ และหลังจากตั้งครรภ์แล้วก็ออกกำลังกายได้ แต่ต้องไม่หนักเกินไป

– ห้ามดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เด็ดขาด เพื่อตัวของคุณแม่เองและลูกในท้อง และต้องไม่ไปในบริเวณที่มีควันบุหรี่ เพราะบุหรี่มือสองก็อันตรายไม่แพ้กัน

ถ้าคุณแม่ตั้งท้องตอนอายุมาก หรือตัดสินใจที่จะตั้งครรภ์อายุมาก อย่าลืมดูแลตัวเองให้ดี ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอยู่ตลอด และพบแพทย์เป็นประจำ เพื่อทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดนะคะ

รู้กันไปแล้วว่าแม่ตั้งท้องตอนอายุมาก เสี่ยงอย่างไร มาโหวตกันหน่อยว่า ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่กล้วหน้าท้องลายหรือไม่ ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ


souce หรือ บทความอ้างอิง : nhs.uk

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 3

พัฒนาการทารกในท้องแม่ 9 เดือน

เครื่องดื่มอันตรายสำหรับคนท้อง

 

บทความโดย

Angoon