คนท้องห้ามนั่งบันได ความเชื่อคนท้องนั่งขวางบันไดคลอดลูกยากจริงหรือไม่?
เหล่าคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนต่างมีความเชื่อที่ได้ทราบส่งต่อกันมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น เป็นการเตือนกันมากเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นความเชื่อ สำหรับแม่ท้องนั้น แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องเคยได้ยินเกี่ยวกับความเชื่อต่าง ๆ ไม่มากมาย หนึ่งในนั้นคือ คนท้องห้ามนั่งบันได ฉะนั้น วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำความเชื่อเกี่ยวกับคนท้องห้ามนั่งบันไดมาให้เหล่าคุณแม่ตั้งท้องได้อ่านกัน โปรดใช้วิจารณาญาณในการอ่านด้วยนะคะ
ความเชื่อ คนท้องห้ามนั่งบันได
คุณแม่หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่กล่าวเตือนใรขณะที่ตนเองกำลังตั้งครรภ์ลูกน้อยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นห้ามไปงานศพ ห้ามซื้อของเด็กรอ ห้ามเย็บผ้าขณะตั้งครรภ์ และที่ขาดไม่ได้ คงหนีไม่พ้น ห้ามนั่งบันไดในขณะที่ตนเองกำลังตั้งครรภ์ ตามความเชื่อได้ให้เหตุผลว่า การนั่งขวางบันไดนั้นจะทำให้ลูกที่อยู่ในครรภ์คลอดยาก ทำให้มีปัญหาในการคลอดนั่นเอง
แท้จริงแล้ว?
ในความเป็นจริงแล้ว ความเชื่อเหล่านี้ต่างเป็นกุศโลบายเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์นั่นเอง เพราะคนไทยอยู่คู่กับความเชื่อ การพูดถึงความเชื่อที่เล่าขานต่อกันมา จะเป็นที่น่าเชื่อถือกว่าการเตือนด้วยความเป็นห่วง ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณแม่ก็อย่าลืมดูแลรักษาตัวเองให้ห่างไกลจากความอันตรายทั้งปวง โดยการเชื่อความเชื่อเก่าแก่นี้ก็อาจจะทำให้ลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัยจากความอันตรายก็ได้
เหตุผลของการคลอดลูกยาก
1.ทารกตัวใหญ่มาก
-
- ทารกที่มีขนาดตัวใหญ่มากว่าปกติจะทำให้คุณแม่มีความเจ็บท้องคลอดเป็นเวลานาน
- เมื่อคลอดทารกออกมาทางช่องคลอด มักทำให้ช่องคลอดฉีกขาดได้มากอาจฉีกถึงทวารหนักและฉีกขาดลึก
- อาจต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด เช่น ใช้คีมคีบศีรษะหรือใช้เครื่องดูดสุญญากาศดูดออกมา
- คุณแม่บางรายที่มีกระดูกเชิงกรานแคบ กรณีเช่นนี้มักจะลงท้ายด้วยการผ่าคลอด ซึ่งทารกที่มีขนาดตัวใหญ่นั้น จะทราบได้จากการ อัลตร้าซาวด์ ซึ่งในช่วงใกล้คลอดคุณหมอจะแนะนำว่า คุณแม่ควรคลอดด้วยวิธีการใดนะคะ โดยคุณหมอจะดูจากปัจจัยต่าง ๆ ผู้เขียนเองก็ผ่าคลอดค่ะเพราะลูกสาวตัวโตเหมือนกัน แต่ทุกอย่างก็ปลอดภัยดีนะคะ อย่ากังวลใจไปก่อนนะคะ เพราะตลอดเวลาที่อยู๋ในห้องคลอดคุณหมอและทีมแพทย์จะดูแลคุณแม่และทารกน้อยอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาจนกว่าเจ้าตัวน้อยจะคลอดออกมา
2. ทารกคลอดท่าก้น
-
- ท่าคลอดท่าก้น คือ ทารกเอาก้นนำออกมาก่อนหรือเอาขาออกมาก่อนแทนที่จะคลอดปกติที่ต้องเอาส่วนศีรษะออกมาก่อน โดยการคลอดท่าก้นนี้ เสี่ยงต่อการคลอดที่ติดขัดโดยเฉพาะส่วนศีรษะของลูก อาจถูกปากมดลูกรัดไว้จนคลอดออกมาไม่ได้ ซึ่งถ้าปล่อยไว้นาน 5 นาที อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
- หากเกิดกรณีเช่นนี้ คุณหมอมักจะตัดสินใจผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารก แต่ถ้าคุณหมอตรวจประเมินช่องเชิงกรานและศีรษะทารกไม่มีสิ่งใดที่ผิดสัดส่วน การคลอดทางช่องคลอดก็สามารถดำเนินไปได้ คุณหมอจะใช้วิธีนวดหมุนทารกให้เปลี่ยนท่าหรือกลับเป็นท่าศีรษะ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยทำกันเลย
3.คุณแม่เชิงกรานแคบ
-
- ในผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ย มีผลคือ ช่องคลอดจะสั้นซึ่งน่าจะดีว่าระยะทางผ่านของทารกย่นระยะลง แต่ความจริงแล้วผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ยกระดูกเชิงกรานมักจะเล็กและสอบเข้าหากันทำให้ช่องคลอดแคบ ดังนั้น เมื่อเชิงกรานแคบทำให้ช่องคลอดแคบตามไปด้วย
- โดยเฉลี่ยผู้หญิงที่มีความสูงน้อยกว่า 150 เซนติเมตร ถือว่าต้องระวัง ในขั้นตอนการคลอดทารกอาจคลอดออกมาติดหัวไหล่ ทำให้การคลอดทุลักทุเล อาจส่งผลร้ายทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิตได้
- หากคุณแม่ที่มีอุ้งเชิงกรานแคบ และมีความประสงค์อยากจะคลอดเองนั้นสามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ค่ะ เพียงแต่ทารกในครรภ์อาจจะต้องตัวเล็ก มีขนาดไม่เกิน 3000 กรัม
- ปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญ คือ มีลมเบ่งเก็บแรงเบ่งได้ดีมาก ลูกตัวไม่ใหญ่มาก ก็สามารถคลอดเองได้ แต่คุณแม่ต้องอึดและอดทนมากค่ะ และถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ก็สามารถคลอดเองได้ค่ะ
- ถ้าปล่อยให้เจ็บท้องคลอด คุณแม่อาจจะเจ็บทรมานยาวนานเกินไป อาจเกิดอันตรายกับคุณแม่และทารกได้ กรณีเช่นนี้ คุณหมอมักจะผ่าตัดคลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และลูกค่ะ
4. มดลูกหดตัวไม่ดี
-
- มดลูกหดตัวไม่ดี ส่วนใหญ่จะพบในคุณแม่ที่มีอายุมาก หรือเคยคลอดลูกมาแล้วหลายครั้ง ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกรัดตัวไม่ดี
- ส่งผลทำให้เจ็บครรภ์คลอดเป็นเวลายาวนาน อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งแม่และลูก
- กรณีเช่นนี้ คุณหมอจะให้ยาที่ช่วยให้ทำให้มดลูกรัดตัวดีขึ้น ถ้าไม่ได้ผลคุณหมอมักจะลงท้ายด้วยการผ่าตัดคลอด
เทคนิคการคลอดลูกง่าย
1. นอนให้มาก ๆ
สิ่งแรกที่ง่ายที่สุด ที่จะช่วยให้แม่ท้องคลอดง่าย ก็คือการนอนพักผ่อนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วงใกล้คลอด เมื่อร่างกายมีการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้คลอดง่าย และมีแรงเบ่งลูกตอนคลอดได้ดีขึ้น
2. อินทผลัมช่วยได้
การรับประทานอินทผลัมตอนท้อง จะช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมดลูก ช่วยให้มดลูกบีบตัวในช่วงคลอดได้ดี นอกจากนี้ การกินอินทผลัมตอนท้องยังช่วยลดอาการตกเลือดหลังคลอด และช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม อินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน น้ำตาลสูง จึงควรรับประทานแต่พอดี วันละประมาณ 3 – 5 เม็ดก็พอครับ แต่ในช่วงใกล้คลอด หรือตั้งแต่ประมาณเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ ก็อาจจะรับประทานอินทผลัมเพิ่มขึ้นมาอีกนิด หรือเป็นวันละประมาณ 6 – 7 เม็ด ก็ได้ครับ
3. ออกกำลังกายตอนท้อง
การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก แม่ท้องอาจจะออกกำลังกายโดยการเดินช้า ๆ เบา ๆ วันละประมาณ 20 – 30 นาที โดยหากได้ออกไปเดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ตอนเช้า หรือตอนเย็น ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดดอีกด้วย นอกจากนี้ คุณแม่ท้องอาจเลือกออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ หรือโยคะ ตามที่คุณหมอแนะนำก็ได้เช่นกัน
คนท้องที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ร่างกายพร้อมต่อการคลอด อุ้งเชิงกรานแข็งแรงมากกว่าคนท้องที่ไม่ออกกำลังกายเลย ซึ่งก็จะส่งผลทำให้คลอดง่ายขึ้นนั่นเอง
Source faith haijai
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ตำนานด้ายแดง ความเชื่อแห่งรักแท้ ตำนานเนื้อคู่ ที่กลายเป็นเรื่องจริง
12 ความเชื่อเกี่ยวกับทารก ความยาวนิ้วบอกความฉลาด เด็กนิ้วนางยาวจะเก่งเลข
มีใครอยากรู้บ้างว่า คนท้องดูดวงได้ไหม การตั้งครรภ์กับความเชื่อ สายมูเตลูต้องรู้