มดลูกต่ำ มีลูกได้หรือไม่ มีวิธีป้องกันและรักษามดลูกหย่อนอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มดลูกต่ำ หนึ่งในปัญหาการตั้งครรภ์ของผู้หญิง ซึ่งสามารถพบได้บ่อยกับสตรีที่เคยตั้งครรภ์มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง จึงทำให้มดลูกขยายตัวในคุณแม่บางท่านเท่านั้น ส่วนจะมีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภาวะของมดลูก ว่าต่ำหรือหย่อนมากแค่ไหน ฉะนั้น ก่อนตั้งครรภ์จึงควรตรวจร่างกายและอวัยวะที่สำคัญในการตั้งครรภ์อย่างละเอียดค่ะ

 

มดลูกต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไร

ภาวะมดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse) คือ สภาพของมดลูกที่หย่อนตัวลง เลื่อนหลุดลงต่ำมาบริเวณช่องคลอด คุณผู้หญิงลองจินตนาการดูว่า จริงๆ แล้วมดลูกของเราจะอยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน (เหนือช่องคลอด) กล้ามเนื้อของมดลูกจะอยู่ระหว่างกระดูกก้นกบกับหัวหน่าว (อวัยวะเพศหญิง) ทั้งสองนี้จะช่วยยึดมดลูกเอาไว้ ส่วนกระเพาะปัสสาวะและลำไส้จะมีเอ็นและเนื้อเยื่อเกี่ยวยึดกับมดลูกไว้อีกด้วย ตรงนี้แหละค่ะ ถ้าเนื้อเยื่อไม่แข็งแรง ขาดหาย ถูกทำลาย ก็จะส่งผลให้มดลูกหย่อนซึ่งถ้าหย่อนมากๆ ผู้หญิงจะรู้สึกได้ ซึ่งเนื้อเยื่ออาจถูกทำลายเกิดจาก

  • กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน หย่อนยานเสื่อมสภาพเอง
  • กล้ามเนื้อหย่อนจากการที่มีลูกบ่อยๆ (คลอดธรรมชาติ)
  • ลูกที่เกิดจากการคลอดธรรมชาตินั้น ตัวใหญ่ จึงทำให้มดลูกขยาย ช่องคลอดเปิดกว้าง
  • เมื่อคุณผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง จึงทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
  • ท้องผูกบ่อยๆ จนชอบเบ่งแรงๆ จนกล้ามเนื้อขยาย (บางคนเบ่งมากถึงขั้นเสียชีวิต)
  • เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก
  • เป็นโรคเนื้องอกในมดลูกมาก่อน จนก้อนเนื้อ ถ่วงให้มดลูกหย่อนและต่ำลง
  • ยกของหนักและผิดท่าบ่อยๆ ซึ่งผู้หญิงมักจะถูกเตือนว่าอย่ายกของหนัก นั่นคือเรื่องจริง
  • เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อน จึงทำให้เกิดความเสียหายและบอบช้ำ

บทความที่เกี่ยวข้อง: ท้องพร้อมเนื้องอก! แม่ท้องมีเนื้องอกมดลูกเกือบ30ซม. เบียดทารกอยู่ในท่าผิดปกติ

 

 

สัญญาณและอาการที่บอกว่าคุณกำลังเสี่ยงภาวะมดลูกต่ำ

ก่อนที่จะรู้สึกว่ามดลูกต่ำจนมาถึงปากช่องคลอด เรามาทราบถึงสัญญาณเบื้องต้นกันก่อนดีกว่า ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้ป้องกันและรักษาได้ทัน ก่อนที่จะลุกลามจนไปกระทบถึงการตั้งครรภ์และร้ายแรงถึงขั้นผ่าตัด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ผู้หญิงเรามักจะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยเฉพาะคนที่ทำงานจนต้องเผลอกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ และลามไปถึงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่อย่างไรก็ตามอาการที่เราไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ก็อาจมาจากมดลูกเริ่มมีปัญหาหย่อยคล้อยภายใน ไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ปัสสาวะเล็ดโดยไม่รู้ตัว

 

2. ปวดหน่วง บริเวณทวารหนัก

สาเหตุนี้มาจากการที่คนเรามักชอบกลั้นอุจจาระ เมื่อสะสมมากเข้าจะทำให้ท้องผูกและต้องใช้แรงเบ่ง หากทำเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อเสียหาย ถูกทำลาย กลายเป็นก้อนเนื้อบวมๆ บริเวณทวารหนัก คุณผู้หญิงจะรู้สึกมีก้อนเนื้อถ่วง บริเวณปากช่องคลอดด้วย นั่นคือ มดลูกกำลังหย่อนลงมา ถ้าหย่อนลงมาถึงปากช่องคลอด ต้องรีบเข้ารับการผ่าตัดทันที

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ช่องคลอดอักเสบ

ทุกครั้งเวลาจะอาบน้ำ ให้สังเกตกางเกงในว่า มีตกขาวมากหรือไม่ มีสีอย่างไร คนที่มีมดลูกต่ำ หรือช่องคลอดอักเสบ มักจะเกิดอาการตกขาวบ่อยๆ ซึ่งตกขาวจะมีลักษณะขาวขุ่นเป็นก้อน บางคนเขียว หรือมีเลือดปน และที่สำคัญ คุณจะรู้สึกเจ็บมากกว่าปกติเวลามีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายบางคนสามารถรู้สึกได้ว่า ผู้หญิงนั้นมีก้อนเนื้อออกมาจากช่องคลอด

 

4. รู้สึกมีก้อนถ่วงลงมาจากช่องคลอด

อาการนี้คุณผู้หญิงจะรู้สึกได้ตอนที่ยกของหนัก พอยกปุ๊บจะรู้สึกมีก้อนไหลลงมาอยู่ตรงช่องคลอดทันที นั่นคือ มดลูกที่กล้ามเนื้ออ่อนแอ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ได้ถูกถ่วงลงมาถึงช่องคลอด ซึ่งสาเหตุนี้อาจสืบเนื่องมาจากการที่คุณเคยคลอดลูกมาก่อน จึงทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดอ่อนแรง อีกทั้งยังทำให้คุณผู้หญิงเดินไม่สะดวกอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. เวลาไอแล้วเหมือนมดลูกหลุด

อาการนี้อาจไม่ถึงกับทำให้มดลูกไหลออกมาทันที แต่คุณผู้หญิงสามารถรู้สึกได้ เช่น เวลาไอแรงๆ แล้วรู้สึกอวันวะส่วนล่าง คือ มดลูกเคลื่อนที่ลง หรือเวลาเกร็งหน้าท้องมากๆ จะรู้สึกถึงการเคลื่อนที่หรือตุ่ยๆ ตรงปากช่องคลอด ตรงนี้ คุณผู้หญิงสามารถลองเช็คด้วยตัวเอง เช่น เกร็งแล้วกดหน้าท้องดูว่า ช่องคลอดมีบางอย่าง (มดลูก) ถ่วงลงมาหรือเปล่า ซึ่งสามารถเช็คให้ละเอียดด้วยการอัลตร้าซาวนด์

 

 

มดลูก (Uterus) ทางซ้ายคือภาวะปกติ ส่วนทางขวาคือมดลูกที่เคลื่อนตัวลงต่ำมาเกือบถึงปากช่องคลอด

บทความที่เกี่ยวข้อง: เช็คด่วน! เนื้องอกในมดลูกเสี่ยงมีบุตรยาก

ภาวะมดลูกต่ำทำให้มีบุตรยากจริงหรือไม่

โดยทั่วไปแล้ว มดลูกของผู้หญิงที่อยู่บริเวณบนสุดของช่องคลอด แล้วปากมดลูกนั้นจะยื่นเข้ามาภายในช่องคลอด หากมีภาวะที่ต่ำลงนั้น จะแบ่งได้ 4 ระดับความรุนแรง ตั้งแต่

  • ระดับแรกคือ เคลื่อนต่ำลงมาเกินครึ่งหนึ่งของมดลูก
  • ระดับสอง มดลูกต่ำลงจนมาถึงปากมดลูกยื่นมาถึงเยื่อพรหมจรรย์
  • ระดับสามคือ ต่ำลงจนยื่นออกมาพ้นบริเวณเยื่อพรหมจรรย์
  • ระดับร้ายแรงนั้น มดลูกจะหลุดออกมาพ้นปากช่องคลอดเลยทีเดียว

สำหรับความเชื่อหรือความกังวลของภาวะมดลูกต่ำกับภาวการณ์ตั้งครรภ์นั้น อยากให้เข้าใจใหม่ว่า การที่มีมดลูกต่ำหรือหย่อนคล้อยนั้นไม่ได้ทำให้คุณผู้หญิงนั้นมีบุตรยากแต่อย่างใด แต่กลับมีข้อดีตรงที่ จะทำให้สามารถมีลูกได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมดลูกต่ำลงมาเพื่อรับน้ำอสุจิได้ง่าย รวดเร็ว อีกอย่างคือ การมีมดลูกที่ต่ำหรือหย่อน ขยายตัว จะทำให้คุณแม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ง่ายขึ้น แต่นั้นนี้ หลังคลอดก็ต้องดูแลเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงอื่นๆ ตามมา

บทความที่เกี่ยวข้อง: 20 เรื่องเกี่ยวกับ “ช่องคลอด” ที่อยากให้เพศแม่ทุกคนได้รู้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการแทรกซ้อนจากภาวะมดลูกต่ำ

อย่างที่กล่าวไปว่า คุณผู้หญิงสามารถมีลูกได้ แต่ปัจจุบันผู้หญิงอายุ 20 ต้นๆ ก็กลับมีภาวะมดลูกหย่อนหรือต่ำกันมากขึ้น อาจเนื่องจากกิจกรรมและการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ทั้งนี้เรามาดูกันว่า การที่มดลูกของผู้หญิงนั้นต่ำลงจะมีอาการแทรกซ้อนใดๆ บ้าง

 

1. เกิดฝีหรือแผลพุพอง

หากมีอาการมดลูกหย่อนอย่างรุนแรง ในระดับที่ 4 ซึ่งมดลูกต่ำจนโผล่ออกมาตรงปากช่องคลอด สามารถมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก ก้อนเนื้อที่โผล่ออกมาเสียดสีกับช่องคลอด ผิวหนังช่วงขาหนีบและกางเกงในได้ ตรงนี้จะทำให้ปากช่องคลอดเป็นแผลพุพอง อักเสบซึ่งอาจลุกลามกลายเป็นฝีได้

 

2. อุ้งเชิงกรานหย่อน

เนื่องจากอาการที่เป็นอย่างเรื้อรัง ไม่ดูแลและรักษาอย่างจริงจัง จึงทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานได้รับผลกระทบตามมา เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หย่อน กลั้นไม่ได้ หรือลามไปถึงลำไส้ไม่แข็งแรงเพราะเนื้อเยื่อที่สัมพันธ์กันถูกดึงรั้งไปด้วย จึงทำให้ลำไส้ตรงปลายหย่อนลงมา และมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายหนัก

 

หากมดลูกต่ำหรือหย่อนลง สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างไร?

เคยได้ยินคุณหมอแนะนำให้ขมิบช่องคลอดวันละ 100 ครั้งไหมคะ? บางคนคิดว่าต้องผ่านการมีลูกมาก่อนหรือเปล่า แต่จริงๆ แล้วภาวะมดลูกต่ำหรือหย่อนลงนั้นสามารถเกิดได้กับผู้หญิงตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์ขึ้นไป เรามาดูกันว่า สามารถป้องกันและหากเป็นมากๆ จะรักษาได้อย่างไร

 

1. บริหารกล้ามเนื้อปากช่องคลอดและอุ้งเชิงกราน

ผู้หญิงเราต้องหัดขมิบช่องคลอดค่ะ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง เพื่อรับมดลูกไว้ ไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม อีกทั้งยังช่วยเหนี่ยวรั้ง ประคองอวัยวะอื่นๆ ไปด้วย เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ เพราะอวัยวะเหล่านี้มีกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่สัมพันธ์กัน ถ้าอุ้งเชิงกรานแข็ง อวัยวะเหล่านี้ก็แข็งแรงไปด้วย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  • ยืนหรือนั่งสบายๆ ให้กล้ามเนื้อท้อง ขา ก้น ผ่อนคลายก่อน
  • ค่อยๆ ขมิบช่องคลอด อุ้งเชิงกราน โดยหายใจเข้า เกร็งช่องคลอด (3-5 วินาที) หายใจออก ผ่อนคลายช่องคลอด ตรงนี้จะสัมพันธ์กับอุ้งเชิงกรานไปด้วย ซึ่งจะส่งไปถึง ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก
  • สาวๆ อาจจะทำวันละ 10 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น ส่วนผู้หญิงที่เคยผ่านการมีลูกมาแล้ว แนะนำให้ทำวันละ 100 ครั้ง จะทำตอนนั่ง ยืน หรือนอนก็ได้ค่ะ

 

2. พยุงอุ้งเชิงกราน

เมื่ออยู่ในอาการที่รุนแรงมากขึ้น แพทย์อาจจะต้องใส่อุปกรณ์พยุงอุ้งเชิงกราน จะมีลักษณะยืดหยุ่น ที่สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อพยุงมดลูก ซึ่งอุปกรณ์นี้ผู้ป่วยจะสามารถใส่เองได้ โดยได้รับคำแนะนำจากแพทย์ทั้งเรื่องการใส่ การทำความสะอาด ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการมดลูกหย่อน

 

3. การผ่าตัด

หากผู้ป่วยมีความรุนแรงมาก แพทย์อาจจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เสียหายและไม่แข็งแรง ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยถึงความรุนแรงของอาการด้วย

 

4. ยาเหน็บช่องคลอด

คุณแม่ที่เคยผ่านการคลอดลูกหลายท่านอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาเหน็บ หรือการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงมากขึ้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ อาจจะต้องใช้กับผู้ป่วยวัยทอง วัยหมดประจำเดือน

 

คุณผู้หญิงที่ตั้งใจอยากมีลูก อาจคลายกังวลใจเรื่องภาวะมดลูกต่ำไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษามดลูก อุ้งเชิงกราน อวัยวะสำคัญของผู้หญิงต่างๆ เป็นสิ่งที่ผู้หญิงควรปฏิบัติตั้งแต่ยังสาวๆ และควรทำให้เป็นนิสัย เช่น การบริหารอุ้งเชิงกราน การระมัดระวังเรื่องยกของหนัก การมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงความสะอาดทั้งเสื้อผ้าและโภชนาการด้านอาหาร ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องใส่ใจตนเองตลอดชีวิตค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ: 

7 วิธีฝึกขมิบช่องคลอดให้กระชับหลังคลอด

เชื้อราในช่องคลอด อันตรายกับลูกในท้องไหม ตกขาวมีแบบไหนบ้าง

ภาวะช่องคลอดแห้ง ก่อนวัยอันควร มีวิธีป้องกัน และรักษา ได้อย่างไร

ที่มา: ivfthaicenter , siphhospital , Pobpad

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan