ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน

อาหารญี่ปุ่นรวมทั้งซูชิเป็นอาหารยอดฮิตสำหรับคนไทย ทำให้ซูชิมีขายทั่วไปไม่ว่าจะในร้านอาหาร ตามห้าง ในโรงแรม หรือสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งซูชิที่ขายตามท้องถนน เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานว่าซูชิชิ้นละ 5-10 บาทที่ขายตามฟุตบาทมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนมากมาย รวมทั้งเชื้ออี.โคไล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระวัง! เชื้ออี.โคไลในซูชิข้างถนน

ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย ในโครงการ “พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก” สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการเลือกทานซูชิข้างทาง หลังจากที่ได้สุ่มเก็บตัวอย่างซูชิจำนวน 5 ตัวอย่างในกรุงเทพฯ และพบว่า 3 จาก 5 ตัวอย่างมีปริมาณการปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตราฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนดไว้

ซูชิตัวอย่างจากย่านพญาไท และย่านพระนครมีเชื้ออี.โคไลสูงมากจนน่าตกใจ ซึ่งเชื้ออี.โคไลนั้นเป็นแบคทีเรียที่อยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ เชื้อมักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ และมือของผู้ประกอบอาหาร เชื้อเหล่านี้อาจพบได้ในอุจจาระ

ผู้ที่ได้รับเชื้ออี.โคไลจะมีอาการท้องร่วงตั้งแต่เล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว อาจมีเลือดปน มีไข้ อาเจียน

บทความแนะนำ: รักษาอาการอาหารเป็นพิษ

ซูชิที่มีทั้งปลาดิบ และอาหารทะเลอื่น ๆ ที่ทั้งดิบและไม่ดิบ หากการปรุงไม่ได้มาตราฐานและไม่สะอาดจริง เลี่ยงมันดีกว่า โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ แล้ว อาการท้องร่วงอาจจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่มาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน

การกินอาหารของทารกในครรภ์

ลูกในท้องกินอาหารอย่างไร การกินอาหารของทารกในครรภ์ คนท้องกินอย่างไรให้ลูกแรกเกิด คลอดออกมาแล้วน้ำหนักตามเกณฑ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การกินอาหารของลูกในท้องช่วงไตรมาสแรก

ประมาณ 1 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ เซลล์มวลภายในสร้างเนื้อเยื่อ 2 ชนิด ที่เรียกว่า ไฮโปบลาส และเอพิบลาส

  • ไฮโปบลาส จะสร้างถุงไข่แดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งสารอาหารต่าง ๆ จากมารดาไปสู่ตัวอ่อนในระยะต้น
  • เซลล์จาก เอพิบาส จะสร้างเนื่อเยื่อที่เรียกว่า ถุงน้ำคร่ำ ซึ่งมีตัวอ่อนอยู่ข้างใน ซึ่งต่อมา คือทารกในครรภ์ เจริญเติบโตไปจนกระทั่งคลอด

ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การกินอาหารของลูกในท้องผ่านถุงไข่แดง

ถุงไข่แดง (Yolk Sac) เป็นถุงที่ติดอยู่กับตัวอ่อน ประกอบไปด้วยเส้นเลือดเล็ก ๆ มากมาย โดยเลือดจะถูกลำเลียงไปยังผนังของถุงไข่แดง และไหลเวียนกลับไปยังหัวใจของตัวอ่อน สารอาหารก็จะถูกดูดซึมจากถุงไข่แดงและลำเลียงไปยังตัวอ่อนในครรภ์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ก่อนที่รกจะถูกพัฒนาสมบูรณ์และมาทำหน้าที่ในการส่งอาหารไปยังตัวอ่อนแทนถุงไข่แดงในเวลาต่อมา ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ 5 เมื่อตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดสามารถพบถุงการตั้งครรภ์และถุงไข่แดงได้แล้ว

เมื่อตัวอ่อนมีการพัฒนาเพิ่มขนาดและอวัยวะขึ้น แต่ถุงไข่แดงยังคงขนาดเท่าเดิม อาหารจากถุงไข่แดงจึงไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาดูดซึมอาหารผ่านสายรกแทน และถุงนั้นก็จะสลายไป และในปลายสัปดาห์ที่ 12 รกของทารกได้มีการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้วและทำหน้าที่แทนถุงไข่แดง ในการนำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงทารก และยังเป็นที่แลกเปลี่ยนของเสียจากเลือดทารกไปยังมารดาอีกด้วย

ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน

การกินอาหารของทารกในครรภ์ผ่านรก

รกเป็นอวัยวะที่อยู่นอกร่างกายของลูก ภายหลังการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่จนมาถึงมดลูก และฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ จากนั้นเซลล์เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารก และรก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้มรก

ระวัง! อี.โคไลในซูชิข้างถนน

รกจะติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูก เชื่อมระหว่างมดลูกของมารดาและทารก โดยมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร ออกซิเจน จากแม่ท้องไปยังทารกในครรภ์ และขับถ่ายของเสียจากลูกออกมาให้แม่กำจัด

ที่มา: สสส.

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team